Pages

Saturday, August 29, 2015

นักเรียนกระโปรงสั้น

ตามที่เคยเท้าความเอาไว้กับ blog post ก่อนๆว่าที่ออสเตรเลีย โรงเรียนและระบบการเรียนการสอนมี 3 ประเภทคือ

  • โรงเรียนรัฐบาล
  • โรงเรียน Catholic
  • โรงเรียนเอกชนอิสระ
ปกติแล้ว 99.99% โรงเรียน Catholic และโรงเรียนเอกชนจะเข้มงวดในเรื่องของเครื่องแบบของนักเรียนมาก เพราะโรงเรียนต้องการสร้างชื่อและรักษาชื่อเสียง และโรงเรียนเค๊าก็ไม่ได้ง้อนักเรียนด้วย เพราะคิวเด็กนักเรียนที่จะลงทะเบียนเรียนด้วยหนะมีเพียบเลย เด็กนักเรียนที่จะลงทะเบียนเรียนที่โรงเรียน Catholic และโรงเรียนเอกชนนั้นต้องเข้าคิวรอ ซึ่งแตกต่างจากโรงเรียนรัฐบาลมากที่เด็กคนใหนจะมาลงทะเบียนเรียน เราก็ต้องรับเอาไว้หมด ไม่มีคำว่าเต็ม เพราะมันเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องให้การศึกษาแก่เด็กทุกคน ไม่ว่าเค๊าจะจนหรือรวย เลวหรือดีขนาดใหนก็ต้องรับเอาไว้ก่อน จะไล่ออกหรือเปลี่ยนโรงเรียนค่อยว่ากันทีหลัง

เครื่องแบบนักเรียนของโรงเรียน Catholic และโรงเรียนเอกชนจะเนี๊ยบมาก เด็กผู้ชายต้องผูกเนคไท เด็กนักเรียนผู้หญิงกระโปรงก็ต้องยาวถึงตาตุ่ม ห้ามแต่งหน้า และถ้าคนใหนผมยาวก็ต้องมัดหรือรวบผมด้วย ถ้าเป็นฤดูหนาว ทั้งเด็กนักเรียนผู้ชายและผู้หญิง ก็ต้องใส่สูท ซึ่งจะคนละอารมณ์กับโรงเรียนรัฐบาลเลย

โรงเรียนรัฐบาล เราให้เด็กนักเรียนเรียนฟรีจนถึง ม.6 และเราก็ไม่ได้เข้มงวดเรื่องเครื่องแบบมากเหมือนโรงเรียน Catholic หรือโรงเรียนเอกชน เรื่องใส่สูทตอนฤดูหนาวเหรอ หมดสิทธิ์ครับ เด็กนักเรียนที่มาเรียนโรงเรียนรัฐบาลไม่ได้มีถานะดีเหมือนเด็กที่ไปโรงเรียน Catholic หรือโรงเรียนเอกชน เราก็จะมีแค่ jacket หรือเสื้อกันหนาวที่มีโลโก้ของโรงเรียนให้เด็กใส่เท่านั้น แค่นี้ก็ดูหรูแล้ว ส่วนพวกสูทอะไรที่เราเห็นกันตามข่าวต่างประเทศ หรือตามอินเตอร์เนทนั่นเหรอครับ จะเป็นสูทเอาไว้ให้เด็กยืมใส่เวลาออกงานสำคัญๆเท่านั้น สร้างฉากเฉยๆ

กระโปรงของเด็กนักเรียนผู้หญิงของโรงเรียนรัฐบาลก็จะเหนือเข่าบ้างเล็กน้อย แตกต่างจากโรงเรียน Catholic และโรงเรียนเอกชนที่กระโปรงของเด็กนักเรียนผู้หญิงจะต้องถึงตาตุ่ม คือแบบว่ามันต่างกันราวฟ้ากับดินเลยจริงๆ

ปัญหาที่เกิดตามมาก็คือ ปัญหาเด็กนักเรียนกระโปรงสั้น เนื่องด้วยเราเข้มงวดอะไรได้ไม่มากสำหรับโรงเรียนรัฐบาล เพราะกฏหมายความเท่าเทียมกันทางด้านการศึกษาได้บัญญัติเอาไว้ว่า ทุกคนจะต้องมีสิทธิ์เท่าเทียมกันทางด้านการศึกษา ไม่ว่าจะจนหรือรวย พิการหรือไม่พิการ กระโปรงสั้นหรือกระโปรงยาวเราไม่สน ขอให้เด็กมาเรียน มาได้รับความรู้จากการเรียนการสอน ซึ่งจริงมันก็ถูกของเค๊าแหละนะ แต่มันก็อดที่จะทำให้เสียบรรยากาศในโรงเรียนไม่ได้

ปัญหาเรื่องเด็กนักเรียนกระโปรงสั้น ไม่ได้มีแทบทุกคน คือถ้าทุกคนใส่กระโปรงแล้วเลยเข่าขึ้นมานิดหนึ่งตามที่โรงเรียนกำหนดนะ มันก็จะไม่มีปัญหาอะไรเพราะมันก็ไม่ได้น่าเกลียดอะไร แต่มันก็จะเริ่มมีปัญหาตรงที่ว่าเด็กมัธยมเริ่มที่จะเป็นวัยรุ่นกัน บางคนก็อยากจะตัว in trend กัน อยากทำตัวเท่ห์ เท่ห์แต่กินไม่ได้ คือพับหัวกระโปรงขึ้น คราวนี้หละ เดินกระโปรงกันสั้นจู๋เลยไปทั่วโรงเรียน

ส่วนไอ้เราจะไปบอกไปพูดอะไรมากก็ไม่ได้ เพราะอย่าลืมว่านี่คือเด็กนักเรียนฝรั่ง สังคมและวัฒนธรรมตะวันตก ถ้าเราไปบอกเด็กให้เค๊าพับหัวกระโปรงลงมาตามปกติเหรอ เด็กนักเรียนบางคนเค๊าไม่ได้สนใจอะไรเลย เดินยิ้ม ยืนหัวเราะแล้วก็เดินหนีเฉยไปก็มี คือเห็นแล้วก็เบื่อและเอือม

ยิ่งถ้าเป็นครูผู้ชายด้วยแล้วละก็ จะพูดจะจาอะไรไปก็ต้องยิ่งระมัดระวังเข้าไปใหญ่ เดี๋ยวเกิดการเข้าใจผิด โดนสอบวินัย พักการสอน นั่น นี่ โน่น อีก เรื่องเยอะครับ เรื่องเยอะ

สิ่งที่เราสามารถทำได้ก็คือ บอกอาจารย์ปกครองผู้หญิง ซึ่งทุกโรงเรียนจะมีอาจารย์ปกครองซึ่งจะดูแลเฉพาะเรื่องของเด็กผู้หญิงเท่านั้น ที่ออสเตรเลียเราเรียกว่า Girls Advisor เราก็จะบอกและก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของอาจารย์ที่เป็น Girls Advisor ไป

เด็กนักเรียนผู้หญิงบางคน พับหัวกระโปรงสั้นสะจน เวลาลมพัดก็ต้องรีบเอามือปิดกระโปรง เราก็คิดว่า เออ ถ้าพวกเค๊าไม่ใส่สะจนสั้นมากจนเกินไป เวลาลมพัดเค๊าก็คงไม่จำเป็นที่จะต้องเอามือมาปิดอะไร หรือบางทีเด็กนักเรียนกระโปรงสั้นพวกนี้ เวลาก้มลงหยิบอะไรเวลาเล่นกันนะ ไม่ได้ดูแลอะไรข้างล่างเลย เห็นแล้วก็เหนื่อยใจ

เราคงไม่มีรูปอะไรให้ดูนะครับ แต่ถ้าอยากรู้ว่าเด็กนักเรียนบางคนที่นี่เค๊าใส่กันสั้นขนาดใหน ก็ลองคิดถึงพวก "หมอลำซิ่ง" กันดูก็แล้วกันนะครับ คือสั้นกันอะไรประมาณนั้น

เราไม่ได้ลามกอะไรนะครับ เพียงแค่เล่าสู่กันฟัง เล่าถึงความแตกต่างระหว่างโรงเรียนและการเรียนการสอน ของที่ออสเตรเลียและที่เมืองไทย ก็แค่นั้นเอง...

Thursday, August 27, 2015

เด็กนักเรียนนิสัยเลว เรียกครูว่า bitch


อาทิตย์นี้มีเด็กนักเรียนชาย ม.2 เรียกอาจารย์รุ่นยาย รุ่นป้า ว่า bitch "แรด" เป็นเหตุการณ์ ที่แสดงออกถึงความเลว ไม่มีวัฒนธรรมและไม่เห็นหัวผู้หลักผู้ใหญ่ เพราะอาจารย์ผู้หญิงเอง อายุอานามแกก็ไม่ใช่อาจารย์เด็กๆรุ่นๆแล้ว คืออายุอาจารย์ท่านนี้ก็ประมาณว่ารุ่นยายแล้ว คิดว่าอาจารย์ท่านนี้อายุก็คง 60 กว่าๆแล้ว เพียงแต่แกยังไม่อยากเกษียณก็เท่านั้นเอง

เด็กนักเรียนฝรั่งที่นี่ เรื่องการเคารพผู้หลักผู้ใหญ่เหรอ มีน้อยมาก อย่าว่าแต่เรื่องเคารพครูเลย เคารพพ่อแม่เค๊าเองก็เถอะ 

เหตุการณ์ก็มีอยู่ว่า

เด็กนักเรียนชาย ม.2 ที่เรียนอยู่ห้องท้ายสุดคนหนึ่ง ซึ่งปกติก็จะเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าเด็กนักเรียนคนนี้ เป็นเด็กนักเรียนนิสัยเลวคนหนึ่ง เดินเข้ามาในห้องเรียน แล้วอาจารย์ผู้หญิงท่านนี้จะคุยด้วย เกี่ยวกับพฤติกรรมในห้องเรียนที่เกิดขึ้นเมื่อวันก่อน แล้วอาจารย์ก็จะให้บัตรเหลืองเพื่อจะคอยมอนิเตอร์ความประพฤติของการเรียนทุกคาบของเค๊า (บัตรเหลืองจะมีคะแนน 0-2, 0 คือความประพฤติแย่, 1 คือความประพฤติไม่ได้แย่มาก, 2 คือความประพฤติเป็นที่น่าพอใจสำหรับคาบนั้นๆ)

เด็กนักชายไม่ยอมรับบัตรเหลือง แล้วก็เดินออกไปจากห้อง ปิดประตูเสียงดังโครม ตามประสาเด็กนักเรียนนิสัยเลว สรุปคือไม่ได้ให้โอกาสครูในการพูดหรืออธิบายเลยว่าทำไมครูถึงจะให้บัตรเหลืองแก่เค๊า 

เด็กนักเรียนเดินหายไปเลย อาจารย์ผู้หญิงท่านนั้นมองหาเด็กนักเรียนไม่เจอ ไม่รู้ว่าเค๊าไปหลบอยู่ที่มุมตึกตรงใหน อาจารย์ก็ไม่ได้สนใจ เพราะอาจารย์ต้องกลับมาสอนเด็กนักเรียนที่ห้องต่อ

พอใกล้ๆเลิกคาบการเรียนก็มีเสียงดนตรีเสียงดังจากมือถือ ดังมาจากข้างนอกห้อง เด็กนักเรียนในห้องก็ตะโกนออกไปให้เด็กนักเรียนชายคนนั้นหลี่เสียงดนตรีลงหน่อย เด็กชายที่อยู่นอกห้องก็ตะโกนกลับมาว่า เค๊าเปิดดนตรีเสียงดังเพื่อที่จะกวนประสาทอาจารย์ผู้หญิงเท่านั้นเอง แล้วก็เรียกอาจารย์ผู้หญิงว่า "Fucking bitch she is"

สำหรับคนที่อยากเรียนภาษาอังกฤษด้วย คำที่เด็กนักเรียนชายคนนั้นพูดจริงๆก็คือ

"I only did it to piss her off. Fucking bitch she is"

ต้องขอโทษเรื่องความหยาบคายของภาษานะครับ เพราะเด็กนักเรียนนิสัยเลวจริงๆที่เรียกอาจารย์ผู้หญิงอย่างนี้ เหมือนไม่เคารพผู้หญิงซึ่งเป็นเพศแม่ ดังนั้นจึงไม่ขอเซ็นเซอร์ เพราะเวลาเกิดเหตุการณ์อะไรแบบนี้ที่โรงเรียน ครูจะทำการบันทึกทุกอย่าง คำต่อคำ ไม่มีการเซ็นเซอร์ เพราะ ผ.อ. และ รอง ผ.อ. เวลาอ่านเหตุการณ์ต่างๆในระบบคอมพิวเตอร์ ผอ และรอง ผอ จะได้เห็นภาพที่ชัดเจน จะได้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น และจะได้ติดตามเรียกเด็กมาคุย และลงโทษ ได้ถูกต้อง

ครู อาจารย์ที่เมืองไทย โชคดีนะครับ คงไม่ได้เจอเด็กนักเรียนนิสัยเลวอย่างนี้เด็กๆนักเรียนส่วนใหญ่จะให้ความเคารพ แตกต่างจากโรงเรียนที่นี่ เด็กนักเรียนฝรั่งจากห้องท้ายๆ พวกเด็ก bottom class เนี๊ยะ เจ้าปัญหาเลยแหละ เหมือนอย่างที่ได้อ่านๆกัน......

Wednesday, August 26, 2015

อัตราส่วนระหว่างครูกับนักเรียน


โรงเรียนมัธยมที่นี่ กฏหมายและสหภาพแรงงานครูกำหนดเอาไว้ว่า อัตราส่วนระหว่างครูกับนักเรียนต้องอยู่ที่ ครู 1 คน ห้ามมีเด็กนักเรียนเกิน 30 คนในห้อง ต่อให้โรงเรียนอยากจะลงทะเบียนเพิ่มเด็กเข้ามาแค่อีก 1 คนเป็น 31 คนต่อห้องนั้นก็ทำได้ยาก ยากเพราะที่เขียนไปแล้วคราวก่อนว่า สหภาพแรงงานครูที่นี่เข้มแข็งมาก ซึ่งบางทีก็เข้มแข็งมากจนเกินไป

ถ้าโรงเรียนจะลงทะเบียนเด็กเพิ่มมาอีกแค่ 1 คน ทางโรงเรียนก็จำเป็นที่จะต้องคุยกับสหภาพแรงงานครูก่อน ไม่งั้นก็จะเกิดเป็นเรื่องราวใหญ่โต เพราะทุกโรงเรียนจะมีครูประมาณ 90% เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานครู

จริงๆแล้วการมีอัตราส่วนระหว่างครูกับนักเรียนแบบนี้ก็ดีเหมือนกัน


1:30

นักเรียนไม่เยอะจนเกินไป ครูก็ได้จะสอนง่ายๆ สอนได้ทั่วถึง นี่ก็เป็นอีกสวัสดิการของครูที่นี่ที่สหภาพแรงงานได้ต่อสู้และเรียกร้องมา

เราจำได้ว่าตอนที่เราเรียนมัธยมอยู่ที่เมืองไทย ถ้าจำไม่ผิดนะ คิดว่ามีนักเรียนอยู่ประมาณ 50 คนต่อหนึ่งห้อง แต่เราก็เรียนกันมาได้ไม่มีปัญหาอะไร เพราะนักเรียนไทย คนไทย สังคมไทย เด็กๆนักเรียนจะเชื่อฟังครูอยู่แล้ว เรามีพื้นฐานเรื่องของการเคารพนับถือผู้ใหญ่ การเคารพครูเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว

ต่างจากเด็กนักเรียนฝรั่งที่นี่ เด็กนักเรียนที่นี่จะชอบพูด ชอบคุย ชอบแสดงความคิดเห็น ซึ่งจริงๆแล้วก็เป็นการดี เพราะนั่นเป็นการแสดงออกถึงความคิด ความเชื่อมั่นในตัวเองและอะไรอีกหลายๆอย่าง แต่บางทีเด็กนักเรียนฝรั่งเค๊าก็เป็นประเภทพวก เถียงคำไม่ตกฟากเหมือนกัน ซึ่งจะมีเยอะมาก และก็เป็นอะไรที่น่าเบื่อที่สุด เด็กนักเรียนห้อง top class เป็นเด็กเรียนเก่ง จะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องนี้ จะมีปัญหาก็เด็กนักเรียนที่อยู่ห้องท้ายๆนี่แหละ บางทีห้องท้ายๆเนี๊ยะ มีเด็กนักเรียน 30 คนก็ถือว่าเยอะเกินไปเสียด้วยซ้ำ เพราะถ้าเป็นเด็กดื้อนี่คือดื้อแบบสุดๆ

สำหรับเด็กนักเรียนห้องท้ายๆ ถ้าหากมีนักเรียน 30 คนต่อห้อง ปัญหามันเยอะมาก บางโรงเรียนก็จะแบ่งเด็กห้องท้ายๆ หรือ bottom class ออกเป็น 2 ห้อง คือมีเด็กนักเรียนอยู่แค่ 15 คนเอง เพราะถ้าเอาเด็กดื้อและเด็กเรียนไม่เก่งมารวมกัน 30 คนเนี๊ยะ ครูคงตายแน่ๆ

แต่โดยทั่วไปแล้วอัตราส่วนระหว่างครูกับนักเรียนที่นี่ก็จะเป็น 1:30 ซึ่งก็ยังไม่ถือว่าดีเท่าประเทศฟินแลนด์ เพราะที่ฟินแลนด์ อัตราส่วนระหว่างครูกับเด็กจะอยู่ที่ 1:15 และทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมาก

แต่ก็อย่างว่าแหละ การที่จะต้องจ้างครู 1 คนมาสอนเด็กนักเรียนแค่ 15 คนมันก็ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงเหมือนกัน

เป็นครูอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย ถ้าได้สอนห้อง senior class ม.5 - ม.6 ด้วยแล้ว ยิ่งสบาย เพราะเด็กนักเรียนที่อยู่เรียนต่อ ม.5 กับ ม.6 ส่วนมากจะเป็นเด็กดี เพราะถ้าเด็กไม่ดี ไม่ชอบการเรียน พอจบ ม.4 หรืออายุครบ 17 เค๊าก็เลิกเรียนกันแล้ว ดังนั้นเด็กนักเรียนที่อยู่เรียนต่อ ม.5 - ม.6 ก็จะเป็นเด็กที่อยากเรียนจริงๆ ซึ่งก็มีไม่มาก ยิ่งถ้าเป็นวิชาเลือกอย่างวิชาคอมพิวเตอร์ด้วยแล้ว ยิ่งมีนักเรียนเลือกน้อย เพราะเด็กนักเรียนบางคนกลัวว่าจะเรียนยากเกิน อย่างตอนนี้ที่สอน ม.5 - ม.6 ก็จะเด็กนักเรียนห้องละแค่ 7 คนเอง 

เด็กนักเรียนห้องละ 7 คน สอนสบายมาก ไม่เครียด เพราะเด็กนักเรียนก็จะโตๆกันแล้ว ไม่ใช่เด็กๆเหมือนพวกเด็ก ม.1 เป็นอะไรที่ชิวมากเลย มันทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ เพราะเราดูแลเด็กได้ทั่วถึง ตรวจงานเด็ก 7 คน แป๊บเดียวก็เสร็จแล้ว

เป็นอาจารย์สอนเด็กมาหลายปีแล้ว เห็นด้วยกับอัตราส่วนระหว่างครูกับนักเรียนที่นี่มากเลยครับ

Friday, August 21, 2015

สหภาพแรงงานครู


ที่ประเทศออสเตรเลีย แทบจะทุกสาขาอาชีพจะต้องมีสหภาพแรงงาน เพื่อที่จะดูแลสวัสดิการของพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชน หรือรัฐวิสาหกิจ พนักงานส่วนมากที่ออสเตรเลียก็จะเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานกัน ดังนั้นสหภาพแรงงานที่ประเทศออสเตรเลียจึงเข้มแข็งมาก บางทีก็เข้มเข็งจนเกินไป แต่เราก็คิดว่าประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนมากก็จะเป็นแบบนี้กันแทบทั้งหมด โดยเฉพาะประเทศในแถบตะวันตก

เนื่องด้วยสหภาพแรงงานที่เข้มแข็งดังนั้นประเทศในแถบตะวันตกจะไม่ค่อยมีการไล่พนักงานออกกันได้ง่ายๆ เราเคยสังเกตุใหมครับว่าพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของสายการบินที่เป็นของฝรั่ง จะมีแต่ใครแก่ๆ รุ่นป้าๆลูงๆ ทำงานกัน เพราะทางสายกินไม่สามารถโละพนักงานเหล่านั้นได้ง่ายๆ ในขณะที่สายการบินในแถบเอเชียเรา พนักงานบนเครื่องบิน จะมีแต่คนหนุ่มสาว หน้าตาจิ้มลิ้ม เพราะสหภาพแรงงานของประเทศในแถบเอเชียยังไม่เข้มแข็งพอ

แต่ด้วยความที่ว่าสหภาพแรงงานที่มันเข้มแข็ง บางทีมันก็เข้มแข็งเกิน อย่างเช่นครูเนี๊ยะ เราก็มีการกำหนดมาเลยว่าสอน fulltime ต้องสอนกี่ชั่วโมง กี่นาที ขนาดมีการเปลี่ยนแปลงเวลาที่ต้องดูแลเด็กตอนเที่ยง ปีที่แล้วที่โรงเรียนมีการทดลองเปลี่ยนแปลงเวลากันดู แล้วปรากฏว่าครูเวรต้องทำหน้าดูแลเด็กตอนเที่ยงเพิ่มขึ้นอีก 2 นาที

2 นาทีครับพ่อแม่พี่น้อง กะอีแค่ต้องทำงานเพิ่มขึ้นมาอีกแค่ 2 นาที ก็มีคนต่อต้าน ออกความคิดเห็นนั่น นี่ โน่น เราก็คิดว่า อะไรกันเนี๊ยะ กะอีแค่ทำงานเพิ่มขึ้นแค่ 2 นาทีเนี๊ยะ มันคงไม่ตายหรอกมั๊ง ไม่ใช่ว่าเราจะต้องเป็นครูเวรตอนเที่ยงสะทุกวันสะเมื่อไหร่ อาทิตย์หนึ่ง คงได้เป็นครูเวรแค่ประมาณ 2 ครั้งเองหละมั๊ง

ด้วยความที่ว่าสหภาพแรงงานที่มันเข้มแข็งเกิน บางทีมันก็ดูไร้สาระ พวกที่บ้าเรื่องสวัสดิการของตัวเอง บางทีก็ลืมนึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวม ผลประโยชน์ของนักเรียน

อยู่ที่ออสเตรเลีย แทบไม่มีการอบรมกันช่วงเสาร์-อาทิตย์เลย เพราะสหภาพแรงงานครูถือว่าเป็นวันหยุดพักผ่อน การอบรมอะไรส่วนมาก ก็มีกันแค่ จันทร์-ศุกร์ พวกเสาร์-อาทิตย์จะมีน้อยมาก ซึ่งก็แล้วแต่มุมมองนะครับ บางคนก็บอกว่าดี เพราะเค๊าจะได้อยู่กับครอบครัวช่วงเสาร์-อาทิตย์ แต่บางคนก็บอกว่าไม่เป็นไร เค๊าอยากมีการอบรมช่วงเสาร์-อาทิตย์บ้าง เพราะว่าจันทร์-ศุกร์ จะได้ไม่ขาดสอน การเรียนการสอนจะได้ต่อเนื่อง ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วเราก็ชอบแบบหลังมากกว่าคือ เราอยากจะอยู่สอนเด็กนักเรียนมากกว่า จันทร์-ศุกร์ เพราะถ้าเราไม่อยู่ ไปอบรมหรือว่าอะไร ครูมาสอนแทนส่วนมากก็สอนไปงั้นๆแหละ คิดว่าสู้เราสอนเองไม่ได้ เพราะมันเป็นวิชาของเราเด็กนักเรียนของเรา เราจะรู้ลักษณะการเรียนรู้ของเด็กในวิชาของเราได้ดีกว่า

เนื่องด้วยสหภาพแรงงานที่มันเข้มแข็ง บางทีเรื่องเล็กๆน้อยๆจุกๆจิกๆมันก็เลยกลายเป็นเรื่องไร้สาระ เราก็เลยตัดสินใจไม่เป็นสมาชิกของกลุ่มสหภาพแรงงานมาได้ 2 ปีแล้ว เพราะสมาชิกเองก็ต้องจ่ายเงินค่าสมาชิกทุกปี เสียเงินเปล่าๆ เพราะบางทีสหภาพแรงงานที่มันเข้มแข็งเกิน เข้มแข็งจนบางทีนายจ้าง (รัฐบาล กระทรวงการศึกษา) เองทำอะไรแทบจะไม่ได้ รัฐบาลจะแตะจะต้องอะไร สหภาพแรงงานก็จะมีประท้วง หยุดสอนอะไรประมาณนี้

สหภาพแรงงานที่เข้มแข็ง บางทีมันก็ทำให้เราลืมไปว่าสรุปแล้วหน้าที่จริงๆของเราคืออะไร มาสอนเด็กนักเรียน หรือว่ามาตักตวงเอาแต่ผลประโยชน์และสวัสดิการของตัวเอง จนลืมสวัสดิการของเด็กนักเรียน

เมื่อเราไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานครูแล้ว รู้สึกว่ามันโล่งๆโปร่งขึ้น เพราะเรารู้ดีว่า ณ ตอนนี้เราทำอะไรอยู่


Tuesday, August 18, 2015

เลือกได้ว่าจะสอนกี่วัน


การเป็นครูสอนที่ออสเตรเลีย นอกจากเราจะเลิกตรงเวลาแล้ว ถ้าเราเป็นข้าราชการประจำ ทำจะต้องทำงาน fulltime จันทร์-ศุกร์เฉพาะปีแรกเท่านั้น เพราะติดสัญญาว่าจ้างของราชการครู แต่หลังจากนั้นปีที่ 2 เราสามารถเลือกได้ว่าเราจะทำงานกี่วัน รายได้และเงินเดือนก็จะลดหลั่นกันลงไป ตามจำนวนวันที่เราทำงาน

ครูส่วนมากก็จะทำงานกันเต็มเวลาแหละ จันทร์-ศุกร์ เพราะเค๊าก็ถือว่าเป็นงานประจำ งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข 

แต่ก็มีครูหลายคนที่เค๊าอยากจะดูแลลูกซึ่งยังเล็กอยู่ก็มี บางคนก็เลือกที่จะสอน 3 หรือ 4 วันก็มี ก็แล้วแต่สถานการณ์ เราอยากสอน วันใหน ลาวันใหน เราก็สามารถเข้าไปกรอกข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ได้เลย ง่ายๆ

ก็มีครูคนหนึ่งเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ เค๊าก็เลือกที่จะสอนแค่ 3 วัน เพราะวันหนึ่งเค๊าต้องดูแลลูก สลับกับภรรยา อีกวันหนึ่ง เค๊าก็หยุดอยู่บ้าน เพื่อเขียนวนิยาย เพราะจริงๆแล้วเค๊าอยากเป็นนักเขียนด้วย

และก็มีครูคู่สามีภรรยาอยู่ด้วยคู่หนึ่ง คนหนึ่งสอนแค่ 3 วัน อีกคนหนึ่งสอน 4 วัน ซึ่งเค๊าก็สลับกันอยู่บ้านดูแลลูก เค๊าก็เลือกให้คนที่มีอายุราชการน้อย (สามี) สอนแค่ 3 คน เพราะข้าราชการใหม่ อายุราชการยังน้อย หยุดไปเงินเดือนก็ไม่ได้มีผลกระทบมากเท่ากับคนที่มีอายุราชการมากกว่า

ส่วนทางโรงเรียนเองก็ต้องมีการจัดตารางสอนที่ให้มีผลกระทบต่อเด็กนักเรียนน้อยที่สุด จริงๆแล้วถ้าเราบอกทางโรงเรียนแต่เนิ่นๆว่าแต่ละปีเราจะสอนกี่วัน ทางโรงเรียนก็จะมีการจัดตารางสอนกันใหม่ ตอนใกล้ๆสิ้นปีอยู่แล้วทุกปี ดังนั้นวิชาของเราจึงไม่มีผลกระทบต่อเด็กนักเรียนมาก

ส่วนเราเองปีนี้ก็เลือกที่สอนแค่ 4 วัน และก็คิดว่าจะสอนแค่ 4 วันไปเรื่อยๆ คงไม่กลับไปสอน 5 วันแล้ว เพราะสอน 5 วัน fulltime มาก็ 4 ปีแล้ว ก็เลยคิดว่าสอนแค่ 4 วันนี้แหละจะได้เอาเวลาไปทำอย่างอื่นด้วย เช่น

  • ทำงานบริษัทตัวเอง ส่วนตัว
  • จะได้พักผ่อนด้วย อยู่ที่ออเตรเลียทำงานมาก เงินเดือนมาก เราก็เสียภาษีมาก
  • ตอนนี้ถ้าว่างจากงานบริษัทส่วนตัว เราก็หาเวลาไปเขียนหนังสือ ebook อะไรของเราไปเรื่อยเปื่อย
  • นอกจาก ebook แล้วตอนนี้ก็กลับมาเริ่มเขียน blogs เป็นจริงจังๆกันอีกรอบ หลัวจากที่เขียนๆ เลิกๆ ไปหลายปี ไม่ค่อยสม่ำเสมอ ก็คิดว่าหลังจากนี้คงมีเวลาในการเขียน blogs ต่างๆมากขึ้น จะดูสิว่ารายได้ passive income เนี๊ยะ มันจะ work มั๊ย
อยากจะลอง อยากจะรู้ว่า lifestyle ที่เราเลือกเนี๊ยะ มันจะออกมายังไง หัวหรือก้อย แต่ที่แน่ๆคือ ไม่กลับไปสอน 5 วันแล้ว เราก็อยากเอาเวลาพวกนี้ไปทำอย่างอื่นมั่ง เพื่อจะได้ slow life กับเค๊ามั่ง

Sunday, August 16, 2015

ระฆังดังเหง่งหง่าง


ที่ออสเตรเลียโรงเรียนส่วนใหญ่จะเริ่มเข้าเรียนกันตอน 8 โมงครึ่ง; 8:30am และก็เลิกกันตอนบ่าย 3, 3:00pm.

โรงเรียนที่นี่ พอระฆังดังปุ๊บ ภายใน 5 นาที นักเรียนและครูก็จะหายกันไปเลยทันที แทบจะเป็นโรงเรียนร้าง จะเหลือก็แต่พวกภารโรงพนักงานทำความสะอาด

โรงเรียนที่นี่ น้อยนักที่เด็กนักเรียนจะอยู่ทำกิจกรรมหลังเลิกเรียนที่โรงเรียน พอโรงเรียนเลิกต่างคนก็ต่างไป ใครอยากไปเรียนอะไรเพิ่มเติมก็ไปเรียนเอาเองข้างนอก เช่น ว่ายน้ำ วาดรูป ร้องเพลง เล่นดนตรี ฯลฯ

ส่วนครูเอง น้อยคนนักที่อยู่ทำงานต่อหลังเลิกเรียน โรงเรียนเลิกปุ๊บ ลานจอดรถเนี๊ยะว่างเลยครับ แทบจะไม่เห็นครูเดินเพ่นพล่านอยู่ในโรงเรียนเหมือนโรงเรียนที่เมืองไทยเลย เราก็เห็นมันเป็นแบบนี้ตั้งแต่ตอนฝึกสอนแล้ว และทุกโรงเรียน 99.99% ที่เราได้ไปสัมผัสมา ก็จะเป็นแบบนี้หมดเลย นี่เป็นนิสัยการทำงานของคนออสเตรเลีย คือเลิกงานปุ๊บก็กลับบ้านไปอยู่กับครอบครัว ดังนั้นการเป็นอาจารย์สอนหนังสือที่นี่ถึงเป็นอะไรที่ family friendly มาก เราก็เลยชอบ แถมเราได้หยุดปิดเทอมตรงกันกับลูกๆด้วย

การเลิกงานตรงเวลาของคนที่นี่ก็เป็น lifestyle อีกส่วนหนึ่งของฝรั่ง ผิดกับชาวเอเชียเรา เราทำงานหนัก เลิกแล้วก็อยู่ทำต่อ OT อะไรประมาณนี้ แต่ที่นี่ไม่!!

นี่แหละถึงชอบชีวิตการสอนที่นี่ เพราะเลิกงานสอนปุ๊บ เราก็มีเวลาไปทำธุรกิจส่วนตัวอะไรของเราอีก

นี่ก็เป็นอีกแบบหนึ่งของ วัฒนธรรมการทำงานที่แตกต่าง


Friday, August 14, 2015

ครูเอเชียคนเดียวในโรงเรียน


โรงเรียนที่เราสอนเป็นเรื่องเป็นราวโรงเรียนแรก ก็เป็นโรงเรียนอยู่ในระแหวกชานเมืองที่ผู้คนส่วนใหญ่มีรายได้น้อย พ่อแม่ติดยา ค้าประเวณี เหมือนที่เคยได้กล่าวมาแล้ว

โรงเรียนนี้เราเป็นครูเอเชียคนเดียวในโรงเรียน หัวดำอยู่คนเดียว การที่เราอยู่รอดได้ในสถานการณ์แบบนี้ เราต้องเป็นคนมั่นใจ กล้าพูด กล้าคิด กล้าทำ ไม่งั้นเพื่อนร่วมงานหรือเด็กนักเรียนฝรั่งก็จะไม่เห็นหัวเรา

ทุกวันจันทร์ที่มีการเข้าแถวหน้าเสาธง เราก็จะเด่นมาก จะ standout มากกว่าคนอื่นเพราะว่าเป็นครูเอเชียอยู่คนเดียวในโรงเรียน

ส่วนเด็กนักเรียนเอเชียหนะมีเยอะอยู่แล้วหละ เพราะว่าโรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนสำหรับเด็กนักเรียนที่เพิ่งย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่ออสเตรเลียด้วย รวมไปถึงเด็กนักเรียนอพยพที่หนีสงครามมาด้วย พวก refugees ซึ่งส่วนมากก็มาจากทวีปแอฟริกา

หลายๆคนสงสัยและทึ่งว่าเราทำได้ไง เป็นคนไทย เป็นคนเอเชีย แต่ไปสอนเด็กนักเรียนฝรั่ง โดยเฉพาะแถวเมืองที่เราอยู่ด้วยแล้ว ไม่มีคนไทยคนใหนไปเป็นครูสอนเด็กมัธยมเลย คิดว่ามีเราคนเดียว คำตอบง่ายๆสั้นๆกับคำถามเหล่านั้นก็คือ ถ้าเราคิดว่าเราทำได้ เราก็ต้องทำได้สิ จะมามัวลังเลอะไรอยู่ มันก็คงทำอะไรไม่ได้สะที ชีวิตก็คงจะย่ำๆอยู่แต่ที่เดิมๆ 

แต่ช่วงแรกๆที่ไปเป็นอาจารย์ก็บอกได้เลยว่า ไม่ได้มีใจรักการสอนอะไร เพราะเราก็มีธุรกิจประจำของเราอยู่แล้ว ก็แค่คิดว่าสอนไปวันๆก็ได้ตังค์ก็แค่นั้นเอง ก็ถือว่าเป็นรายได้ที่เพิ่มมาอีกทางหนึ่งก็แค่นั้นเอง

แต่ที่ภูมิใจก็คือ เป็นงานอะไรที่คนไทยทำน้อยมาก

Wednesday, August 12, 2015

What's the fuck did I do?

วันนี้เรามีเวรต้องไปดูแลเด็กช่วงพักเที่ยงที่หอประชุม เพราะโรงเรียนที่นี่ ช่วงพักเที่ยงจะต้องมีครูมาคอยดูความเรียบร้อยด้วย เพราะไม่งั้น เด็กก็อาจจะตีกัน หรือทิ้งขยะเกลื่อนกลาด และกฏหมายที่นี่ก็บังคับเด็กทุกคนต้องอยู่ภายในสายตาและความดูแลของครูตลอด

ช่วงที่เราดูแลเด็กที่หอประชุม ก็มีกลุ่มเด็ก ม.3 ที่ดื้อนิดหน่อยพากันไปหมุนเล่นประตูโกลของ indoor soccor (ฟุตบอลในร่ม) เราก็บอกเด็กๆว่าให้เลิกเล่น เค๊าก็เลิกเล่นกัน พอเราเดินหนีไปประมาณ 10 นาที อ๊าว เอาอีกละ เด็กๆกลุ่มเดิมพากันหมุนเล่นประตูโกลอีกแล้ว พอเราบอกให้หยุดรอบที่ 2 เด็กๆก็หยุดกัน ยกเว้นเด็กนักเรียนผู้ชายคนหนึ่ง เราก็เลยเรียกเด็กออกมาคุยตรงประตูแล้วบอกเด็กว่า เธอหมดสิทธิ์เล่นในนี้หละ จะไปใหนก็ไป เด็กก็เหมือนว่าดื้อไม่อยากไป แล้วก็ทำมาเป็นขึ้นเสียงพูดคำหยาบว่า

What's the fuck did I do?

เราก็เลยบอกว่าเธอ ไม่จำเป็นต้องใช้ F-worded ก็ได้นะ
เด็กนักเรียนก็ยังยืนยันว่าเค๊าไม่ได้ทำอะไรผิดอีก เราก็เลยบอกว่า อ้าว ก็ครูบอกให้เธอเลิกเล่นประตูโกลไง เธอจะไปใหนก็ไปไกลๆเลยไป ไม่ต้องมาเล่นแถวนี้

เด็กก็เลยเดินกระฟัดกระเฟียดออกไปแบบไม่ค่อยจำยอมเท่าไหร่

เนื่องด้วยเด็กใช้คำหยาบกับครู เราก็ได้ทำการบันทึกลงคอมพิวเตอร์ แล้วส่งเรื่องต่อให้อาจารย์เวรหัวหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยของวันนี้ จริงๆเราก็กะจะโทรไปรายงานพ่อแม่เด็กที่บ้านด้วย แต่ก็ปล่อยให้อาจารย์เวรประจำวันนี้จัดการไป

นี่แหละครับ ชีวิตครูไทยในต่างแดน เด็กนักเรียนบางคนที่นี่ไม่ได้เห็นหัวเราเลย ต่างจากเมืองไทย ที่เมืองไทยเวลาครูเดินผ่านเรา เราก็ต้องหยุดแล้วโค้งไหว้ อยู่ที่นี่เหรอ เฮ้อ....หมดสิทธิ์!!

Sunday, August 9, 2015

ความเชื่อเรื่อง Sex ของนักเรียนที่ไร้เดียงสา


เด็กนักเรียนมัธยมเป็นวัยที่กำลังอยากรู้อยากเห็น โดยเฉพาะเรื่องของการมีเพศสัมพันธ์ หรือง่ายๆก็คือ sex นี่แหละ

เราคิดว่าเด็กนักเรียนมัธยมที่ใหนๆก็คงจะคล้ายๆกัน ไม่ว่าจะเป็นนักเรียนไทยหรือเด็กนักเรียนฝรั่งที่ออสเตรเลีย

เด็กนักเรียนหญิงที่นี่มีความคิดและไอเดียแปลกๆ ทั้งๆที่เรื่องเพศศึกษาก็ได้เรียนในวิชาสุขศึกษา แต่เด็กๆบางกลุ่ม บอกอะไรไปสอนอะไรไปหนะ ไม่เคยเชื่อไม่เคยฟังหรอก พวกนี้เป็นพวกอยากลองของ

จริงๆมันก็ไม่เกี่ยวอะไรกับครูสอนวิชาคอมพิวเตอร์อย่างเรานะ แต่ได้ยินได้ฟังได้เห็นมา คือมันออกอาการว่า พวกเธอเอาสมองส่วนใหนคิดเนี๊ยะ

อาทิเช่น

  • ท่าที่ผู้หญิงอยู่ข้างบน ถ้ามีอะไรกันแล้วจะไม่ท้อง
  • ท่าที่ยืนแล้วมีอะไรกัน ผู้หญิงจะไม่ท้อง
  • การใช้ปากทำ oral sex ให้เด็กผู้ชาย ไม่ใช่การร่วมเพศ ดังนั้น oral sex จะเป็นอะไรที่ฮิตมากเวลาเด็กนักเรียนมีปาร์ตี้ตามบ้านกัน เพราะเค๊าคิดกันไปเองว่าเน๊ยะ ไม่ใช่การร่วมเพศ เพราะว่าไม่มีการสอดใส่อะไรเข้าไปใหนอวัยวะเพศของฝ่ายหญิง

ครูจะเป็นลม!!! คิดมาได้ไงเนี๊ยะ

เออ คิดดูเอา เด็กนักเรียนสมัยนี้ ชักจะ creative กันไปในทางที่ผิดใหญ่แล้วหละ ที่น่าตกใจก็คือเด็กนักเรียนที่คิดแบบนี้กันจะเป็นเด็กนักเรียนหญิงช่วง ม.3-ม.4 ถ้าขึ้น ม.5 ไปแล้วก็จะเริ่มเป็นผู้ใหญ่แล้ว ไม่ค่อยคิดอะไรแปลกๆแผลงๆกันแล้ว

ทุกโรงเรียนมัธยมที่รัฐ NSW จะมีครูปรึกษาผู้หญิง ที่จะดูแลเรื่องของเด็กนักเรียนผู้หญิงทั้งโรงเรียน เราเห็นแล้วก็ปวดหัวแทน เพราะเราคิดว่าเด็กนักเรียนผู้หญิงดูแลยากกว่าเด็กนักเรียนผู้ชาย

เด็กนักเรียนผู้ชาย จะอะไรยังไงเสียเค๊าก็ไม่ท้อง เแต่นักเรียนผู้หญิงนี่สิ ต้องระวัง ครูเค๊าก็สอนนะเรื่อง safe sex, safe party แต่เด็กนักเรียนไม่ค่อยจะสนใจกันหรอก ถือว่าเป็นเรื่องสนุก ถือเป็นเรื่องตลกกันไปหมด พอท้องมาก็วุ่นวายอีก

ไม่ว่าจะท้องหรือไม่ท้อง เด็กนักเรียนที่ออสเตรเลียก็ยังสามารถเข้าเรียนอะไรที่โรงเรียนได้ตามปกติ เพราะกฏหมายที่นี่ห้ามมีการกีดกั้นทางการศึกษา ดังนั้นนักเรียนท้องโย้มาเรียนก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ

แต่เราก็คิดว่าของแบบนี้มันป้องกันได้ ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าเด็กๆมีความคิดความอ่านพิเลนๆพวกนี้มาจากใหนกัน

ใครมีลูกสาวก็ต้องระวัง ต้องหมั่นสั่งสอนตักเตือน จะมารอแต่ครูที่โรงเรียนสอนอยู่ฝ่ายเดียวมันก็ไม่ได้

มีลูกบอกลูก มีหลานบอกหลานนะครับ ท่าอะไรแปลกๆข้างบนหนะ ท้องได้หมดแหละ...


Friday, August 7, 2015

เธอตั้งชื่อลูกได้แปลกดีมาก


การที่ได้เป็นครูสอนที่ประเทศออสเตรเลียนั้น เราก็ได้เห็นอะไรแปลกๆใหม่ๆเยอะ และหนึ่งในนั้นก็คือ การตั้งชื่อลูกของฝรั่งที่นี่ครับ ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าพ่อแม่เค๊าคิดอะไรกันอยู่ ณ ตอนนั้น เพราะบางคนตั้งชื่อได้แปลกพิลึกโลกมาก ไม่ได้คิดเลยว่าลูกที่ต้องใช้ชื่อนี้ตลอดไปเนี๊ยะ เค๊าจะรู้สึกยังไง

เดี๋ยวมาเริ่มต้นกันที่โรงเรียนแรกที่เริ่มสอนจริงๆจังๆเลยนะครับ

เด็ก ม.3 คนหนึ่งชื่อ Summer
เด็ก ม.1 คนหนึ่งชื่อ Perfect

Summer ซึ่งก็แปลว่า ฤดูร้อน
Perfect ซึ่งก็แปลว่า เลิศเลอประเสริฐศรี ไม่มีอะไรขาดตกบกพร่อง

น้องหนูนักเรียนหญิง Perfect คนนี้ ชื่อ Perfect ก็จริงนะ แต่ว่าเรียนอยู่ห้องเด็กที่มีวิวัฒนาการช้า รู้สึกว่าจะตรงกันข้ามกับชื่อของเธอจริงๆ เราไม่เคยสอนหนู Perfect หรอกนะ แต่ทุกครั้งที่ได้ยินครูที่อยู่ในห้องพักครูพูดถึง Perfect ทีไร มันก็อดที่แอบจะคิดอยู่ในใจไม่ได้ว่า เออ พ่อแม่ เค๊าคิดอะไรของเค๊านะ มาตั้งชื่อลูกแบบนี้ ส่วนตัวลูกเอง เค๊าก็คงไม่ได้คิดอะไรมากมาย เพราะเกิดมาก็ได้ชื่อเลย เค๊าก็คงคิดว่าเป็นเรื่องปกติ

ส่วนอีกคนก็เป็นลูกศิษย์ตัวแสบของเราเอง เด็กนักเรียนหญิง ม.3 เรียนวิชาคณิตศาสตร์ 

Summer เป็นเด็กนักเรียนหน้าตาดี แต่สุดยอดของความขี้เกียจเลย มาเรียนในห้อง จดๆ เขียนๆ อะไรใส่เศษกระดาษไป ไม่เคยมีสมุดเป็นรูปเป็นเล่มเลย พอหมดคาบก็ทิ้งเศษกระดาษที่เธอจดโน๊ตไว้บนโต๊ะนั่นแหละ ถ้าคิดว่าเขาจะเอากลับไปอ่านทบทวนที่บ้านหละก็ หมดสิทธิ์ครับ ไม่มีทาง

คนอะไรชื่อ Summer ก็ไม่รู้ว่าพ่อแม่เค๊าอารมณ์สุนทรีย์อะไรยังไงไม่ทราบ เอาชื่อฤดูมาตั้งเป็นชื่อลูก

ส่วนเราเป็นครู เราก็ไม่มีสิทธิ์ไปวิเคราะห์วิจารณ์อะไรเป็นอันขาด เพราะอยู่ที่ออสเตรเลีย เราถือว่าเป็นสิทธ์ของแต่ละคนที่สามารถทำอะไรแล้วไม่ให้ใครเดือดร้อน 

แต่ก็นะ เอาแบบว่ามี common sense กันนิดหนึ่ง ไม่ต้องตั้งชื่อแหวกแนวให้ลูกมากเกินไป เดี๋ยวโดนเพื่อนล้ออีก...

Wednesday, August 5, 2015

อยากลองของ

โรงเรียนที่ได้ไปสอนเป็นเรื่องเป็นราวครั้งแรก เป็นโรงเรียนอยู่ในแหล่งชุมชนคนที่มีรายได้น้อย ผู้คนอาศัยอยู่ในหมู่บ้านการเคหะของรัฐบาล คนส่วนมากที่นี่จะติดยาเศษติด ไม่มีงานทำ (รัฐบาลเลี้ยงดู) และห่างไปอีก 5 นาทีก็จะเป็นเมืองที่มีชื่อในเรื่องของแหล่งขายบริการทางเพศ 

สรุปคือปัญหาอาชญากรรมอะไรต่างๆที่นี่ก็เยอะ

เราก็ได้สัญญาว่าจ้างการสอนอยู่ที่นี่ 2 เทอม (ปีหนึ่งมี 4 เทอม) และเราก็เป็นครูเอเชียคนเดียวในโรงเรียนด้วยสิ นักเรียนคนเอเชียที่นี่ก็เยอะ เพราะโรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนเดียวในระแวกนี้ที่เป็นศูนย์เรียนภาษาอังกฤษด้วย สำหรับเด็กนักเรียนที่มาอยู่ที่ออสเตรเลียใหม่ๆ เด็กนักเรียนไทยที่นี่ก็เยอะ ส่วนมากก็จะเป็นนักเรียนไทยที่ติดตามแม่มา เพราะแม่มาแต่งงานกับฝรั่ง เยอะแยะครับ มีทุกรูปแบบ เด็กนักเรียนไทยที่โรงเรียนนี้เรารู้จักพ่อแม่เด็กก็เยอะอยู่เหมือนกัน

เด็กไทยอยู่ที่โรงเรียนนี้จะไม่ค่อยเฮี้ยวเท่าไหร่ อาจเป็นเพราะเป็นช่วงแรกๆของการมาอยู่ต่างประเทศ ลวดลายอะไรต่างๆยังไม่ออกมาให้เห็นก็เป็นได้

เด็กที่เฮี้ยวที่นี่ก็จะเป็นเด็กฝรั่งสะเป็นส่วนใหญ่ ส่วนมากคนย่านแถวนี้จะมีเชื้อสายอิตาลี่ และมาซิโดเนียเยอะ (พ่อแม่หนีสงครามมาสมัยก่อน) แต่ละคนเนี๊ยะดื้อเอาการเลยทีเดียว

เราก็ได้ไปสอนวิชาคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ ได้สอน ม.1, ม.3, และ ม.5 ครั้งแรกที่ได้สอนที่โรงเรียนนี้ ห้องที่ดื้อที่สุดคือห้อง ม.3 ส่วนเด็ก ม.1 และ ม.5 ก็ไม่ค่อยดื้อเท่าไหร่

เนื่องด้วยว่าเราเป็นครูใหม่ เด็กๆก็อยากจะลองของเป็นเรื่องธรรมดา เราบอกอะไรไปเด็กก็จะไม่ค่อยจะฟังกันอะไรสักเท่าไหร่หรอก เราสอนอะไรไปเด็กเค๊าก็ไม่สนใจ คุยกันอยู่นั่นแหละ ก็ไม่รู้ว่าคุยอะไรกันนักกันหนา และที่น่าเจ็บใจที่สุดก็คือ ทันทีที่เราหันหน้าเข้ากระดานนะ เด็กๆที่เค๊าดื้อๆ ก็จะปากระดาษกันไปหน้าห้องมั่ง พับเป็นกระดาษจรวดโยนไปที่หน้าห้องมั่ง เราก็ไม่ได้สนใจอะไรมาก เพราะคิดว่ามาสอนแทนแค่ชั่วคราว 2 เทอม จริงๆแล้วเราไม่ควรคิดอย่างนั้นหรอกนะ แต่ตอนนั้นมันไม่มีวิญญาญของความเป็นครูเลย คือเราก็เคยเป็นแต่คอมพิวเตอร์โปรแกรมเมอร์ และเจ้าของธุรกิจ แล้วจู่ๆก็ได้มาเป็นครู คือแบบว่า มันคนละอารมณ์กันเลย

เราก็คิดเสียแต่ว่า เออหนะ มาสอนไปวันๆ เสร็จแล้วก็ได้ตังค์ ตอนนั้นยังไม่ได้ทุ่มเทอะไรกับการสอนเหมือนตอนนี้

มีอยู่วันหนึ่ง เด็กนักเรียน ม.3 คนหนึ่ง ออกจะนักเลงนิดๆ มาเรียนแต่ละคาบไม่เคยจดอะไรเลย เดี๋ยวก็บอกว่าไม่มีสมุดมั่งหละ เดี๋ยวก็บอกว่าไม่มีปากกามั่งหละ คือแบบว่าเป็นอะไรที่น่าเบื่อที่สุด และวันนั้นเด็กนักเรียนคนนี้ก็อารมณ์ใหนก็ไม่รู้ เดินมาหน้าห้อง ยืนอยู่ใกล้ๆถังขยะหน้าห้อง ซึ่งก็อยู่ใกล้ๆเราด้วย แล้วเด็กก็มายืนปอกเปลือกส้มแล้วก็กินต่อหน้าต่อตาแบบว่าไม่เกรงใจครูเลย เพราะปกติแล้วโรงเรียนที่ออสเตรเลีย ห้ามกินและดื่มในห้องเรียนอยู่แล้ว

แต่เด็กคนนี้คือแบบว่าท้าทายมาก และก็คงอยากจะโชว์ออฟ show off ให้เพื่อนๆในห้องด้วยมั๊ง พอเราบอกว่าห้ามกินอะไรในห้องนะ เค๊าก็แบบว่าหยิบส้มเข้าปากแล้วก็มองหน้าเราอย่างสะใจ ยิ้มกวนๆนิดๆ เพื่อนๆในห้องก็หัวเราะชอบใจกันใหญ่ สรุปคือเท่ห์มากว่างั้นเถอะ ส่วนเราเองตอนนั้นก็ได้แต่อดทน ด้วยความที่ว่าเราไม่มีประสบการณ์ในการสอน นี่เป็นเทอมแรกที่ได้สัญญาสอนยาวๆเป็นเทอมแบบนี้

เราก็บอกเด็กว่า นี่เธอหมดคาบละอย่าไปใหนนะ เดี๋ยวมีเรื่องจะคุย เกิดอะไรขึ้นครับพี่น้อง ก็ปรากฏว่าพอหมดคาบปุ๊บ เด็กก็เดินออกไปหน้าตาเฉยเลย ครูใหม่อย่างเราก็ได้แต่เอ๋อๆ อึ้งๆ

ถ้าย้อนเวลากลับไปได้นะ คิดว่าจะจัดการกับสถานการณ์ดังกล่าวได้ง่ายๆ แต่ตอนนั้นยังใหม่อยู่ ทำอะไรไม่ค่อยถูก เพราะอยู่ในช่วงลองผิดลองถูกและหาประสบการณ์อยู่

ให้การที่เราคิดว่าเดินเข้าห้องเรียนมา แล้วสอนเนื้อหาที่เราต้องสอนนั้น ในโลกของความเป็นจริงของเด็กที่นี่ เป็นไปได้น้อยมากครับ เด็กนักเรียนที่นี่ไม่เหมือนนักเรียนที่เมืองไทยเลย ตอนที่เราเรียนหนังสืออยู่ที่เมืองไทย เวลาครูเดินเข้าห้องเด็กก็เงียบกริบทันที แต่อยู่นี่ไม่นะครับ เด็กแต่ละคาบเนี๊ยะ ไม่รู้เค๊าเป็นอะไรกัน รู้สึกว่าจะมีเรื่องเมาท์เรื่องคุยตลอด คนละอารมณ์กับตอนที่เราเป็นเด็กนักเรียนอยู่ที่เมืองไทย สมัยตอนที่เราเรียน


ก็เอาเป็นว่าสอนช่วงแรกๆ เด็กๆอยากลองของกันเยอะ ครูใหม่ก็ยังปั้มๆเป๋อๆอยู่ ทำอะไรไม่ค่อยถูก เด็กก็เลยไม่เห็นหัว ณ ตอนนั้น!!

Saturday, August 1, 2015

การว่าจ้างของครูที่นี่

เนื่องด้วยที่ออสเตรเลียไม่มีการสอบบรรจุเหมือนที่เมืองไทย และที่แน่ๆคือไม่มีการใช้เส้นใช้สาย คนที่ได้งานที่นี่คือได้เพราะความสามารถจริงๆ เพราะเวลาไปสัมภาษณ์งาน ก็จะมีคนสัมภาษณ์ที่เป็นตัวแทนมาจากแผนกต่างๆ และแต่ละคนมีความคิดไม่เหมือนกัน ถ้าใครคิดจะใช้เส้นสายหรือระบบใต้โต๊ะแบบเมืองไทยหละก็ นั่นคือการฆ่าตัวตายตั้งแต่ยังไม่ได้ลงสนามรบ

การว่าจ้างของครูที่ประเทศออสเตรเลีย รัฐบาลกลางจะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลในแต่ละรัฐ รัฐบาลกลางจะไม่ยุ่งเกี่ยว

การว่าจ้างของครูที่ประเทศออสเตรเลียจะมีอยู่ 3 รูปแบบคือ

อาจารย์ประจำ (Permanent): เป็นตำแหน่งที่ผู้เขียนทำอยู่ทุกวันนี้คือเราสมัครเข้าไปตามตำแหน่งที่ทางโรงเรียนมีการประกาศ การประกาศก็จะประกาศที่ website ของกระทรวง ซึ่งจะมีการประกาศทุกๆวันพุธ ดังนั้นตำแหน่งสอน หรือตำแหน่งอะไรก็จะมีมาอยู่เรื่อยๆ เราก็คอยเช็ค email ของเราเอง

ถ้าเราส่งใบสมัครเข้าไปพร้อมด้วยวิชาที่เราสามารถสอนได้ ตามที่กระทรวงการศึกษาและกรมการศึกษากำหนด คือก่อนที่เราจะสมัครเราต้องมีหมายเลขประจำตัวครูผู้สอนก่อน เหมือนที่ได้เคยเขียนเอาไว้ที่ blog ก่อนหน้านี้

ถ้าเราสัมภาษณ์แล้วโดนใจกรรมการ เราก็จะได้บรรจุงานเป็นข้าราชการประจำ ข้าราชการประจำที่นี่มีข้อดีคือ ไม่มีเกษียณหมดอายุเหมือนที่เมืองไทย คือว่าเรามีแรง มีกำลังอยากจะสอนถึงอายุกี่ปีก็ได้ ดังนั้นการเป็นข้าราชการประจำที่ออสเตรเลียก็ถือว่าเป็นงานที่มั่นคงอีกงานหนึ่ง เมื่อไหร่ที่เราอยากจะเกษียณเราก็แจ้งไปทางที่กระทรวงก็แค่นั้นเอง

ข้าราชการประจำ รัฐบาลของแต่ละรัฐเป็นผู้ว่าจ้าง ไม่ใช่โรงเรียน

อาจารย์ชั่วคราว (Contract): จะเป็นอาจารย์ที่สอนเป็นเทอมๆไป ขึ้นอยู่กับสัญญาที่เซ็นเอาไว้กับทางโรงเรียน สัญญาการว่าจ้างส่วนมากก็จะเป็นเทอมๆไป หรือถ้าใครโชคดีก็จะได้สัญญา 1 ปี แต่ถ้าโรงเรียนชอบเรา โรงเรียนก็สามารถต่อสัญญาทุกๆปี หรือทุกๆเทอมได้

ข้าราชการไม่ประจำส่วนมากก็จะเป็นอาจารย์ที่จ้างมาสอนแทนอาจารย์ประจำที่เขาลาพักร้อนยาวๆ เพราะบางคนอาจจะลาคลอดและดูแลลูกซึ่งปกติแล้วก็จะมีการลาเป็นเทอมๆหรือบางคนก็ลาไปเลย 1 ปีก็มี

ข้าราชการไม่ประจำ โรงเรียนจะเป็นฝ่ายจัดหาว่าจ้างเอง ไม่ใช่รัฐบาลของแต่ละรัฐนั้นๆ ซึ่งจะตรงกันข้ามกับข้าราชการประจำ!!


อาจารย์รายวัน (Casual): คือทางโรงเรียนจะโทรเรียกเป็นรายวัน ซึ่งปกติแล้วทางโรงเรียนก็จะโทรเรียกตั้งแต่เช้าๆเลย ถามว่าเราจะมาสอนได้มั๊ย อาจารย์รายวันก็เหมือนกับเป็นอาจารย์ฉุกเฉิน แต่ละวันเราจะสอนอะไรเราไม่รู้ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะต้องเข้าไปสอนแทนใครวันนี้

ดังนั้นอาจารย์รายวันหรืออาจารย์ฉุกเฉิน ถ้าอยากได้งานก็ต้องเปิดมือถือ หรือคอยรับโทรศัพท์อยู่ตลอด

เนื่องด้วยว่าอาจารย์ที่ออสเตรเลีย ถ้าใครลาป่วยฉุกเฉิน หรือมาสอนไม่ได้ในวันนั้นๆ ครูที่สอนประจำอยู่แล้วจะไม่มีการไปสอนแทน เพราะเรามีห้องสอนของเราอยู่แล้ว และสหภาพแรงงานครูและกฏหมายแรงงานที่นี่จะบ่งบอกชัดเจนเลยว่า เราสอนกี่คาบ กี่ชั่งโมง โรงเรียนไม่มีสิทธิ์มาบอกให้เราไปสอนแทนห้องอื่นเพราะชั่วโมงสอนเราจะเกิน คือประมาณว่าสวัสดิการแรงงานครูว่างั้นเถอะ

หรือบางทีครูประจำต้องพาเด็กนักเรียนไปทำกิจกรรมอะไรนอกสถานที่ ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขัน นั่น นี่ โน่น หรือแม้แต่พาเด็กนักเรียนไปทัศนศึกษา ทางโรงเรียนก็ต้องโทรเรียกหรือหาอาจารย์ฉุกเฉินมาสอนแทน เราไม่ค่อยใช้อาจารย์ประจำที่โรงเรียน เพราะทุกคนก็สอนเหนื่อยอยู่แล้ว

ดังนั้นอาจารย์ประจำถ้าเรารู้ว่า เราต้องไปโน่น มานี่ หรือมาสอนไม่ได้ เราก็ต้องเตรียมงานหรือ worksheet ไวให้อาจารย์ฉุกเฉิน อยู่ๆจะหายไปไม่มาสอนไม่ได้

หรือถ้าเราป่วย ไม่ได้เตรียมงานเอาไว้ให้ เราก็ต้อง text หรือ email มาบอกหัวหน้าภาควิชาว่าเราสอนเด็กถึงเรื่องอะไรแล้ว แล้วหัวหน้าภาคก็จะเป็นหา worksheet อะไรให้อาจารย์ฉุกเฉินเอง สรุปคืออาจารย์ฉุกเฉิน ไม่มีการเตรียมการเรียนการสอนอะไรทั้งสิ้น มาถึงปุ๊บตอนเช้า ก็ดูว่า อาจารย์ประจำเขาทิ้ง worksheet อะไรไว้ให้มั่ง 

อาจารย์ฉุกเฉิน ในแต่ละวัน จะสอนไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับว่าวันนั้น เรามาสอนแทนใคร

ชีวิตของการเป็นครูที่นี่ ส่วนมากจะเริ่มต้นจากการเป็น casual teacher แล้วค่อยเป็น contract แล้วถึงจะได้เป็น permanent คือประมาณว่าค่อยๆไต่เต้าขึ้นไปเรื่อยๆ จาก อาจารย์รายวัน เป็นอาจารย์ชั่วคราว แล้วถึงจะเป็นอาจารย์ถาวร

blog วันนี้ก็เอาแค่พอหอมปากหอมคอนะครับ เดี๋ยววันต่อไปจะมีเรื่องเล่าอีก