Pages

Friday, April 1, 2016

บางคนที่เลือกที่จะสอน แต่บางคนก็เล็งไปที่การเลื่อนขั้น


โรงเรียนก็เป็นอีกองค์กรหนึ่ง ซึ่งไม่แตกต่างอะไรไปจากองค์กรอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรเอกชนหรือองค์กรของรัฐบาล

ทุกคนที่ทำงานต้องการไต่เต้า เพื่อไปทำหน้าที่การงานที่สูงขึ้น ที่ออสเตรเลีย ค่าแรงของอาจารย์สอนประจำชั้นกับอาจารย์ผู้บริหารนั้นต่างกันลิบลับ อาจารย์ผู้บริหารจะได้เงินเดือนที่สูงมาก ดังนั้นอาจารย์หลายๆคนก็พยายามที่จะไต่เต้าขึ้นไปในตำแหน่งที่สูงขึ้น โดยเฉพาะอาจารย์ที่มีอาชีพการสอนเป็นอาชีพหลัก เพราะนั่นมันคือรายได้หลัก หรือ main income ของพวกเขา แต่สำหรับเรา ไม่ใช่ เราทำงานอย่างอื่นซึ่งเป็นธุรกิจของตัวเองอยู่แล้ว เราก็เลยไม่ได้ดิ้นรนกระเสือกกระสนเหมือนอาจารย์คนอื่นเขา 

ทุกครั้งที่มีตำแหน่งภายในเปิด ซึ่งก็เป็นแค่ตำแหน่งภายในโรงเรียนเองนะ แต่ก็รู้สึกว่าทุกคนยื่นใบสมัคร แก่งแย่งแข่งขันกันเหลือเกิน

ยิ่งทำงานตรงจุดนี้ๆนานๆไป มันก็ยิ่งเห็นความแตกต่างของอาจารย์แต่ละคน บางคนก็พร้อมที่จะละทิ้งหน้าที่การสอนทุกอย่างเพื่อไปทำงานในตำแหน่งที่สูงกว่า เปลี่ยนจากอาจารย์สอนประจำ ไปเป็นอาจารย์ผู้บริหาร เพราะตำแหน่งที่สูงกว่าเงินเดือนก็ดีกว่า ซึ่งเราก็เข้าใจนะ แต่เขาจะรู้บ้างใหมว่า ทันทีที่มีการผลัดเปลี่ยนตำแหน่ง จากอาจารย์สอนไปเป็นผู้บริหาร เด็กนักเรียนที่เขาสอนๆอยู่ก็จะเคว้งทันที เพราะนั่นคือมันจะต้องมีการเปลี่ยนตารางสอน หาอาจารย์ชั่วคราวมาสอนแทน ไม่เกิดการต่อเนื่องของการเรียนและการสอน คุณภาพการเรียนการสอนไม่ต่อเนื่อง ซึ่งจะมีผลกระทบแต่เด็กนักเรียนแน่นอน

เราเองก็เข้าใจนะว่าทุกคนก็ต้องการที่จะไต้เต้าหรือเลื่อนขั้นการทำงาน แต่เขาจะนึกถึงเด็กนักเรียนตาดำๆที่เขาทิ้งไว้ข้างหลังหรือเปล่านะ โดยเฉพาะเด็ก year 12 หรือ ม.6 ซึ่งจะเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อมาก เพราะถ้าหากนักเรียนไม่มีอาจารย์ประจำมาสอน อาจารย์ที่ได้มาก็ผลัดเปลี่ยนกันมาเรื่อยๆ คุณภาพของการเรียนการสอนมันก็จะหายไป ยกตัวอย่างเช่น เอาอาจารย์สอนวาดรูป มาสอนแทนวิชาภาษาอังกฤษเป็นต้น เราคิดว่าสุดท้ายผลเสียก็คงต้องเกิดขึ้นกับเด็กนักเรียน

แต่ก็อย่างว่าแหละนะ อาจารย์ทุกคนต้องการเอาตัวรอด ต้องการเลื่อนขั้น ส่วนมากก็พร้อมจะที่เอาอนาคตของเด็กนักเรียนเข้าแลกเสมอ

มุมมองของเราอาจจะแตกต่างจากมุมมองของอาจารย์คนอื่นเพราะเรามีธุรกิจหรืองานส่วนตัวของเราอยู่แล้ว รายได้จากการสอนไม่ใช่รายได้หลัก แต่สำหรับอาจารย์คนอื่น ถ้ารายได้จากการสอนเป็นรายได้หลัก มันก็ต้องเป็นเรื่องธรรมดาอยู่แล้ว ที่เขาก็คงต้องการที่จะมีรายได้เพิ่มขึ้นเยอะๆ และการเป็นอาจารย์สอนที่ออสเตรเลีย การก้าวกระโดดการขึ้นเงินเดือนที่เร็วที่สุดก็คือ การเปลี่ยนจากอาจารย์สอนไปเป็นผู้บริหาร

เราคิดว่าถ้าอาจารย์สอนได้ค่าแรงมากกว่านี้สะหน่อย อาจารย์หลายๆคนก็คงจะไม่ดิ้นรนที่อยากจะไปเป็นผู้บริหารกัน ถ้าทำอย่างนั้นได้จริงๆ ระบบการเรียนการสอนก็จะเป็นอะไรที่ต่อเนื่อง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรไปมาบ่อย

เราก็ไม่รู้นะ เราคิดว่าจุดยืนของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ทุกคนมีเหตุผลของตัวเอง ทุกคนมีทางเลือกที่แตกต่าง แต่บางทีเราเห็นการตัดสินใจของใครบางคนแล้วก็อดที่จะคิดถึงผลกระทบที่จะมีต่อเด็กนักเรียนไม่ได้

ก็แค่นั้นเอง...


Saturday, February 27, 2016

เด็กที่เก่งที่สุดในห้อง เขาอาจจะไม่ได้ชอบวิชาของเราเลยก็ได้


มีเด็กนักเรียนคนหนึ่ง เราได้สอนเขามาเป็นระยะเวลา 4 ปีแล้ว ได้สอนนักเรียนคนนี้ตั้งแต่ year 7 จนปัจจุบันนี้เขาอยู่ year 10 ตลอดระยะเวลา 4 ปี เขาจะได้ที่ 1 ได้ A จากวิชาของเราตลอดเลย 

นอกเหนือจากนั้นแล้ว เขายังได้ A ทุกตัวจากทุกวิชา สรุปคือเป็นนักเรียนที่ bright และเก่งมากๆ อธิบายอะไรไป เขาจะเข้าใจหมด และสามารถทำ project อะไรยากๆ ส่งได้ภายในไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วัน

เราก็ถือว่าโชคดีได้มีโอกาสสอนนักเรียนคนนี้ และเราก็พยายามเชียร์ให้เขาเลือกลงเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ไปจนจบ year 12 เพราะเราเห็นศักยภาพของนักเรียนคนนี้แล้วน่าทึ่งมาก

แตกต่างกับนักเรียนอีกหลายคน ถึงแม้ว่าจะเรียนอยู่ top class ห้องที่เต็มไปด้วยนักเรียนเรียนดีก็ตามเถอะ หลายๆคนต้องแลกมาด้วยความขยันหมั่นเพียร อ่านหนังสือและทบทวนบทเรียนต่อที่บ้าน แต่นักเรียนคนดังกล่าวแทบจะไม่ต้องทำอะไรเลย แค่เขานั่งฟังเฉยๆ เขาก็เข้าใจ และทำงานออกมาได้ดีที่สุด ดีกว่าคนอื่นๆตลอดเลย นี่ก็เป็นอะไรที่น่าทึ่งอีกแบบหนึ่ง

ถึงแม้เราจะพยายามเชียร์นักเรียนคนยังไงให้เลือกลงเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ต่อ หรือทุกครั้งที่มีการแข่งขันอะไรเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ นักเรียนคนนี้ก็ไม่ได้แบบว่ากระตือรือร้นอยากจะเข้าร่วมโครงการอะไรสักเท่าไหร่ เราเห็นเราก็เสียดาย เพราะดูๆแล้ว นักเรียนคนนี้เก่งรอบด้านจริงๆ เก่งทุกอย่าง แต่เขาไม่ได้ชอบหรือสนใจวิชาคอมพิวเตอร์อะไรสักเท่าไหร่เลย เขาชอบวิชาพละมากกว่า คือชอบออกกำลังกาย ชอบวิ่งเล่นแข่งขัน เป็นนักเรียนที่ active

ในช่วง 2 ปีนี้ ช่วงที่เขาเรียน year 9-10 เราก็พยายามป้อนข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับสาขาอาชีพ หรือคณะที่เขาสามารถเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ เราก็คิดว่าเราได้พยายามทุกวิถีทางแล้วหละ

สุดท้ายเราก็คงต้องยอมรับว่า ตัวเขาเองก็ไม่ได้สนใจอะไรทางด้านคอมพิวเตอร์เป็นพิเศษเลย เขาก็คงจะเลือกเรียนในสาขาที่เราชอบและสนใจแหละนะ

เด็กที่เก่งที่สุดในห้อง เด็กที่ได้คะแนน top ในห้องมาโดยตลอดเลย เราอาจจะเก่งด้วยพรสวรรค์และอะไรอีกหลายๆอย่าง แต่เขาอาจจะไม่ได้ชอบวิชาของเราอะไรเป็นพิเศษเลยก็เป็นได้...

Saturday, February 20, 2016

passion และความอยากทำ


การที่เราเป็นอาจารย์เนี๊ยะ นอกจากการสอนแล้ว บางทีมันก็มีหน้าที่การงานของทางโรงเรียนเข้ามาข้องเกี่ยวด้วย ส่วนมากก็จะเป็นงานโครงการทางการศึกษาต่างๆ ที่อาสาทำๆกันไป ไม่ได้เงินเดือนเพิ่มอะไร เพราะเงินเดือนก็มาจากการสอน 

การเข้าไปเป็นผู้เกี่ยวข้องกับโครงการนั้นโครงการนี้ มันก็หมายถึงความรับผิดชอบที่มันมากขึ้น กับการประชุมหลังเลิกเรียน และกับการทำงานช่วงพักเที่ยงอะไรประมาณนี้

เราเองปีนี้ก็เข้าไปทำโน่นทำนี่อยู่ประมาณ 4 โครงการ บางโครงการก็เป็นอะไรที่อยากทำ อยากจะขยับขยายหน้าที่และความรับผิดชอบ บางโครงการก็มีคนมาขอให้เข้าไปร่วมเพราะอาจารย์ท่านอื่นเห็นว่าเราคงช่วยเขาได้ อย่างเช่นการเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์เป็นต้น

จริงๆแล้วงานจากการสอนและโครงการต่างๆที่เราทำก็เยอะอยู่แล้ว แต่บางทีเราก็ปฏิเสธไม่ได้ เพราะการที่ใครบางคนเข้ามาหาเราและอยากให้เราช่วย เขาก็คงต้องการความช่วยเหลือจริงๆ อย่างเช่นการเขียนโปรแกรมเป็นต้น เพราะเราก็เป็นอาจารย์คนเดียวในโรงเรียนที่จริงๆแล้วก็จบมาทางด้านนี้โดยตรง

ปีที่แล้วเราก็แค่เข้าๆไปดู ไปนั่งประชุม ไปดูเด็กนักเรียนประกอยหุ่นยนต์ทุกวันพฤหัส เราก็ไม่ได้ทำอะไรมาก แค่ไปนั่งสังเกตุและดูแลความเรียบร้อยมากกว่า ซึ่งงานพวกนี้เด็กนักเรียนก็จะทำกันตอนพักเที่ยง ซึ่งนั่นก็หมายความว่า ช่วงพักเที่ยงเราก็ไม่ได้พักอะไรมาก ยังต้องมานั่งเฝ้านักเรียน

แต่พออยู่มาอยู่ไป ความสนิทสนมมันก็เพิ่มขึ้น เราเห็นนักเรียนมีความมุ่งมั่น เราก็เคยคิดว่าปีนี้เราก็จะลงไปเต็มที่กับโครงการนี้ project นี้ การเขียนโปรแกรมให้หุ่นยนต์เพราะมันต้องมีการแข่งขันทุกปี และก็ดูเหมือนว่านักเรียนเองก็คาดหวังกับเราไว้เยอะ

นอกเหนือจาก project นี้แล้ว เราก็ยังรับอาสาทำอะไร นั่น นี่ โน่น อีกหลาย project รวมๆแล้วก็ 4 projects ด้วยกันซึ่งก็ถือว่าเยอะมาก เราคิดว่าคงเป็น 1 ในจำนวนอาจารย์ไม่กี่คนในโรงเรียนที่ทำ project อะไรต่างๆเยอะขนาดนี้ 

มีอาจารย์ฝรั่งที่นี่เยอะแยะที่เขามาแค่ทำการสอน สอนไปวันๆ ไม่มีการทำ project หรือเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับหน่วยงานอะไร หรือบางคนก็ทำแค่ 1-2 projects ซึ่งก็ถือว่าเยอะแล้ว แต่เราก็ล่อเข้าไปสะ 4 projects ด้วยกันเลย

แต่นั่นมันก็เป็นความรับผิดชอบ มันเป็น passion ที่อยากทำ เพราะทุก project ที่เราเลือกเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง มันเป็นอะไรที่เราสนใจจริงๆ ก็มีหลายครั้งที่เรานั่งๆคิดแล้วก็อยากจะตัดๆงานพวกนี้ออกไป เพราะมันเป็นอะไรที่ take up times มันต้องมีการประชุม และอะไรอีกหลายๆอย่าง ซึ่งเวลาที่เรา spend ไปกับพวกนี้ มันก็เยอะเหมือนกัน มันก็ต้องมาเบียดเบียนเวลาพักผ่อนและเวลาส่วนตัวของเรา แต่เราก็เลือกที่จะทำเพราะนั่นมันก็เป็น passion อีกอย่างหนึ่ง เพราะมานั่งๆดูแล้ว เราก็ไม่อยากจะตัดโครงการอะไร อันใหนออกเลย เพราะความผูกพันธ์ และความความหวังจากคนรอบข้าง; อาจารย์และนักเรียน

คิดว่านี่คงเป็นหลักการทำงานของคนเอเชียมากกว่านะ เพราะดูๆแล้วพวกอาจารย์ฝรั่งเพื่อนๆร่วมงานทั้งหลาย ก็ไม่ได้เห็นเขากระตือรือร้นเหมือนกับเรา บางคนก็เฉื่อยๆชาๆ มาสอนแค่ทำตามหน้าที่ไปวันๆ เห็นแล้วก็เหนื่อยหน่ายใจเหมือนกัน...

คนประเภทนี้ ที่ใหนก็มี...

Sunday, February 14, 2016

ประกาศนียบัตรรับราชการนาน


ที่ NSW เรามีประกาศนียบัตรสำหรับคนที่รับราชการในกระทรวงศึกษานาน 30 ปีและ 50 ปี โดยส่วนตัวแล้วเราไม่เห็นด้วยกับประกาศนียบัตรพวกนี้ เพราะการที่เรารับราชการนาน ไม่ได้หมายความว่าเราทำงานดี หรือสร้างผลงานสะหน่อย การที่คนเรารับราชการนานมันไม่ได้เป็นการวัดอะไรเลย เพราะมีหลายคนที่ทำงานกันแบบ เช้าชามเย็นชาม day-in day-out ไม่ได้สร้างผลงาน ไม่ได้ทำอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมเลย เวลาสอนก็สอนไปงั้นๆแหละ อยู่ๆไปวันๆ พอครบ 30 ปี ก็ได้ประกาศนียบัตรขอบคุณที่รับราชการมานาน

ดูๆแล้วมันไม่ make sense เท่าไหร่นะ

แต่ก็อย่างว่าแหละ นี่เป็นการปฏิบัติที่มีมานานแล้ว จะเปลี่ยนแปลงอะไรก็คงยาก ก็ได้แต่หวังว่าการปฏิบัติอะไรที่มันมีมานานแล้วแต่ไม่ make sense ก็ควรจะมีการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุง

ทั้งนี้และทั้งนั้น นี่ก็เป็นแค่ความคิดเห็นส่วนตัว

Saturday, February 13, 2016

หน้าที่ ความรับผิดชอบ และความผูกพัน


ผ่านการสอนมาก็หลายปีแล้ว จากการที่แต่ก่อนเป็นแค่ casual teacher คืออาจารย์สอนพิเศษเวลาโรงเรียนโทรเรียก แล้วต่อมาก็เป็นอาจารย์ชั่วคราว temporary teacher ที่เซ็นสัญญาสอนปีต่อปี หรือเทอมต่อเทอม จนมาทุกวันนี้ได้เป็นอาจารย์สอนถาวร permanent fulltime

การที่เราได้เป็นอาจารย์สอนถาวร ได้สอนโรงเรียนเดียวมาเป็นระยะเวลาหลายปีติดต่อกัน ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านความรู้ของเด็กนักเรียน ได้เห็นวิวัฒธนาการอะไรต่างๆของนักเรียน มันก็ทำให้เราเกิดความผูกพัน ทั้งกับโรงเรียน เพื่อนครูอาจารย์ที่ทำงานด้วยกัน และก็สถาบันโรงเรียนอีกด้วย

มีหลายครั้งที่เราคิดอยากจะทำเรื่องเพื่อขอย้ายเข้าไปโรงเรียนที่มันใกล้บ้าน ลดการเดินทาง การขับรถ เพราะเวลาที่เสียไปกับการเดินทางเราก็สามารถเอาเวลาเหล่านั้นมาทำอะไรอย่างอื่นได้อีกมากมาย แต่เราก็อดที่จะคิดไม่ได้ว่า แล้วเด็กๆที่เราสอนมาหละ เราอบรมบ่มปั้นพวกเขามาตั้งแต่เด็กๆเลยนะ เราก็อยากจะอยู่ต่อเพื่อที่จะเห็นเด็กนักเรียนเหล่านั้นจบ year 12 จบ ม.6 

เราก็อยากจะรู้ว่าพวกเขาจะทำอะไรกันต่อกับชีวิตหลังจากจบ year 12

แต่ทุกวันนี้ก็ขับรถไกลแสนไกลนะ แต่เราก็ยังมีกำลังใจอยู่ได้ เพราะเด็กนักเรียนที่ตั้งใจเรียน เห็นคุณค่าของเรา มันเป็นอะไรที่คอยย้อมหัวใจให้ชุ่มฉ่ำ มีกำลังใจในการสอน

เราก็ได้แต่คิดในใจว่า ถ้าเด็กนักเรียนกลุ่มนี้เรียนจบไปแล้วหละ เราคงจะทำเรื่องย้ายได้แล้วสินะ แต่มันก็ทำให้ฉุกคิดไม่ได้ว่า แล้วเด็กนักเรียนรุ่นหลังๆหละ เพราะเด็กนักเรียนหลายคนก็มองเราเป็นแบบอย่าง เป็น hero ของพวกเขาเหมือนกัน เพราะไม่เป็นการง่ายเลยที่โรงเรียนจะหาอาจารย์มาสอนวิชาคอมพิวเตอร์ตามโรงเรียนชนบท ตามโรงเรียนรอบนอกแบบนี้

อาจารย์ส่วนใหญ่ก็เลือกที่จะสอนโรงเรียนในเมืองกัน มีความเจริญและสิ่งอำนวยความสะดวกกัน

เราก็ได้แต่คิดเงียบๆคนเดียวว่า สักวันหนึ่ง ถ้าวันนั้นมาถึง ก็ได้แต่หวังว่าเด็กๆนักเรียนทั้งหลายคงเข้าใจ เพราะที่เราทำอยู่ทุกวันนี้ อยากจะบอกว่า ทำไปเพื่อนักเรียนจริงๆ กับการที่ต้องขับรถ กับการที่ต้องอยู่เตรียมงานที่โรงเรียนจนมืดค่ำ ก็ได้แต่หวังว่าเด็กนักเรียนคงรู้ว่าอาจารย์ของพวกเขาทุ่มเทในการสอนแค่ใหนเพื่อให้เด็กนักเรียนได้ความรู้ สอบเข้าเรียนในมหาลัย หรือทำอะไรต่างๆ ตามที่เขาตั้งใจเอาไว้

Sunday, January 31, 2016

ครูอาจารย์ในชนบท ที่ขาดแคลน


เราคิดว่าไม่ว่าประเทศใหนๆ ตำแหน่งอาจารย์สอนที่อยู่ในชนบทก็เป็นตำแหน่งที่ยังขาดแคลน เพราะครูอาจารย์หลายๆคนก็เลือกที่สอน หรือทำงานกันในสังคมเมือง เพราะความสะดวกสบายและสิ่งเอื้ออำนวยความสะดวกอะไรต่างๆ 

ที่ประเทศออสเตรเลียเอง อาจารย์สอน หรือ classroom teacher จะชอบมากระจุกกันตามหัวเมืองใหญ่ๆ คนทำงานจะชอบอยู่ในตัวเมืองที่ติดกับทะเล เพราะฝรั่งที่นี่ชอบบรรยากาศและการใช้ชีวิตติดทะเล เพราะหลังเลิกโรงเรียนหรือเสาร์-อาทิตย์ พวกเขาก็จะได้มีเวลาพักผ่อน ไปเดินเล่นตามทะเล ดังนั้นเมืองที่ติดกับทะเลจะหาอาจารย์สอนหนังสือได้ง่ายกว่าเมืองตามแถบชนบท

เมืองที่เราอยู่ ก็อยู่ติดกับทะเล ดังนั้นจึงมีอาจารย์สอนเยอะแยะมากมายในเมืองนี้ โรงเรียนรัฐบาลต่างๆจะไม่ค่อยมีปัญหาการขาดแคลนบุคลากรกันเท่าไหร่ โรงเรียนจะไม่มีตำแหน่งว่างให้อาจารย์ลงสะมากกว่า เพราะคนที่ได้ตำแหน่งสอนในโรงเรียนที่อยู่รอบๆเมืองที่ติดกับทะเลก็จะไม่ยอมลาออกหรือย้ายกันง่ายๆ ส่วนมากก็จะอยู่สอนกันจดเกษียณไปเลย

เราก็เลยเลือกที่จะต้องขับรถทุกวัน เพื่ออกไปสอนตามโรงเรียนรอบนอก ซึ่งจะเป็นอะไรที่แตกต่างจากโรงเรียนที่ติดทะเล เพราะโรงเรียนรอบนอก เวลาที่เราขาดสอน หรือลาป่วย จะเป็นอะไรที่ยากมากที่โรงเรียนจะสามารถหาใครมาสอนแทนเราในวันนั้น เพราะอาจารย์พิเศษ หรือ casual teacher เป็นอะไรที่หายากมาก

หลายๆคนคิดว่า เมืองนอก ประเทศตะวันตก จะไม่มีปัญหาอะไรแบบนี้ 

มี ครับ มี ประเทศตะวันตก หรือฝรั่ง ทุกประเทศก็จะมีปัญหาของเขาเอง แตกต่างกันออกไป เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วไม่ใช่ว่าทุกอย่างจะสมบูรณ์แบบไปหมดสะทุกอย่าง โรงเรียนรอบนอกก็ยังเป็นอะไรที่เสียเปรียบในเรื่องของบุคลากร เมื่อเปรียบเทียบกัยโรงเรียนที่อยู่ในเมือง หรือโรงเรียนที่ติดกับทะเล.... เป็นต้น

Tuesday, January 12, 2016

เงินเดือนขึ้นทุกวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี


เป็นอาจารย์สอนนักเรียนประถมหรือมัธยมที่ NSW วันที่ 1 มกรคม ของทุกๆปี อาจารย์ทุกคนที่ NSW ก็จะมีการปรับอัตราการว่าจ้าง ขึ้นค่าแรงโดยอัตโนมัติ 2.5% ซึ่งก็เป็นอะไรที่ดี เป็นสวัสดิการและการดึงดูดไม่ให้อาจารย์ลาออกหรือเปลี่ยนไปทำอาชีพอย่างอื่น

ในขณะเดียวกันเราก็มองว่า มันอะไรที่ได้มาง่ายๆ เป็นอะไรที่ได้มาโดย automatic โดยอัตโนมัติ เพราะสำหรับอาจารย์บางกลุ่ม บางประเภทแล้ว เป็นพวก นั่งๆนอนๆ ไม่ค่อยทำอะไรเลย จู่ๆก็ได้ค่าแรงขึ้น และก็ขึ้นทุกๆปีด้วยสิ ดังนั้นคนที่ยิ่งสอนนาน ก็ยิ่งได้ค่าแรงเยอะไปตามอายุราชการ ซึ่งอัตราการว่าจ้างที่ NSW มันไม่เป็นไปตามความสามารถและผลงานเท่าไหร่

อาจารย์บางคนทำงานแทบตาย ทุ่มเททุกสิ่งอย่างเพื่อนักเรียน แต่มันก็จะมีพวกกิ้งก่า จิ้งเหลน ตุ๊กแก กาฝากสังคมที่แฝงอยู่ในคราบ professional คราบของคนที่มีความรู้ แต่จริงๆแล้วขี้เกียจมาก สอนอะไรเดิมๆ ซ้ำๆ ไม่มีการปรับเปลี่ยน ไม่มีการขวานขวายหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อจะนำเอาสิ่งที่ดีที่สุดมานำเสนอต่อนักเรียน 

อาจารย์ประเภทนี้เขาก็นั่งๆนอนๆไปวันๆ เขาก็ได้ค่าแรงขึ้น 2.5% เหมือนกัน ทุกๆวันที่ 1 มกราคม นึกๆแล้วมันก็หดหู่ใจนะ

เงินเดือนขึ้นก็ดีนะ เพราะทุกคนทำงานก็อยากได้ค่าแรงเยอะๆกันอยู่แล้ว แต่ถ้ารัฐบาลมีการปรับเปลี่ยนหรือเปลี่ยนแปลงนโยบายให้การขึ้นเงินเดือนเป็นการขึ้นแบบ performance-based คือต้องมีผลงานหรืออาจารย์ต้องมีการเรียนเพิ่มเติม มีการ update ตัวเองอยู่ตลอดเวลา เพราะการเรียนการสอนมันก็มีผลงานการวิจัยอะไรต่างๆออกมาอยู่เรื่อยๆ ดังนั้นอาจารย์เองก็ต้องขวานขวายหาความรู้และ update ตัวเองอยู่ตลอดเวลา อาจารย์จะต้องไม่ขี้เกียจที่จะอ่าน

นอกเหนือจากการขึ้นค่าแรงทุกๆวันที่ 1 มกราคมแล้ว อาจารย์ทุกคนที่ NSW ก็จะมีการขึ้นค่าแรงอีกรอบคือวันที่ครบรอบอายุราชการ และแต่ละคนก็จะมีอายุการรับราชการที่แตกต่างกันออกไป อย่างเช่นถ้าอาจารย์คนใหนเริ่มรับราชการวันที่ 1 มีนาคม ทุกๆวันที่ 1 มีนาคมของทุกปีก็จะมีปรับขึ้นเงินเดือนด้วย

ดังนั้นอาจารย์ที่  NSW ทุกๆคนจะมีการปรับเงินเดือน 2 ครั้งใน 1 ปี คือ:
  • วันที่ 1 มกราคม
  • วันครบรอบปีอายุราชการ
ซึ่งก็ถือว่าเป็นสวัสดิการที่ดี แต่ถ้าการปรับขึ้นเงินเดือนเหล่านี้ เป็นการปรับเดือนเงินที่ตั้งอยู่บนรากฐานของผลงานและการขวานขวายหาความรู้ของอาจารย์มันก็น่าจะดีกว่านี้นะ

เราไม่ได้ว่าการขึ้นเงินเดือนไม่ดีนะ ดีสิ เงินเดือนขึ้นมันต้องดี แต่มันต้องสามารถประเมินและวัดผลได้ว่า สาเหตุที่มาและที่ไปของการขึ้นเงินเดือนมันคืออะไร... ไม่ใช่นั่งๆ นอนๆไปทุกปี แล้วเงินเดือนก็ขึ้นตลอดเลย