Pages

Thursday, December 31, 2015

โรงเรียนเอกชน vs โรงเรียนรัฐบาล


แต่ละรัฐและเขตการปกครองพิเศษจะดูแลเรื่องการศึกษาของตัวเอง รัฐบาลกลางไม่ได้ดูแลในเรื่องของการจัดการการศึกษา รัฐบาลกลางจะมีหน้าที่แค่จัดสรรงบประมาณการศึกษาให้แต่ละรัฐเท่านั้น

ดังนั้นในแต่ละรัฐและเขตการปกครองพิเศษจึงมีการจัดการในเรื่องของการจบ year 12 หรือ ม.6 ที่แตกต่างกัน ที่รัฐ NSW เด็กนักเรียน year 12 จะมีการสอบ HSC (High School Certificate) เพื่อเป็นการจบ year 12

ทุกๆปีที่ NSW ผลการสอบ HSC ก็จะมีการลงหนังสือพิมพ์และการเขียนคอลัมน์เกี่ยวกับ HSC กันทุกปี เพราะหนังสือพิมพ์ที่ออสเตรเลียจะมีหมวดการศึกษา ที่มีการตีพิมพ์ทุกๆอาทิตย์ จากการสังเกตุผล HSC ของเด็กนักเรียนที่ NSW จะสังเกตุเห็นว่า เด็กนักเรียนที่ได้คะแนนสูงๆในแต่ละวิชาไม่ได้มาจากโรงเรียนเอกชนอะไรเลย ดูๆแล้วก็จะคละเคล้ากันไป แต่จะมีแนวโน้มว่าเด็กนักเรียนที่มาจากโรงเรียนรัฐบาลได้ผลการเรียน และคะแนนสอบ HSC ออกมาดีกว่านักเรียนที่มาจากโรงเรียนเอกชนเสียด้วยซ้ำ มันก็ทำให้เราเกิดคำถามว่า ก็ในเมื่อการไปเรียนที่โรงเรียนเอกชนไม่ได้ช่วยทำให้ผลการเรียนหรือผลการสอบ HSC ออกมาดี แล้วทำไมคนถึงยังชอบที่จะส่งลูกๆหลานๆไปเรียนที่โรงเรียนเอกชนกันจังเลย เสียเงินเสียทองกันมากมาย ในขณะที่โรงเรียนรัฐบาลนั้น เด็กนักเรียนเรียนฟรีไปจนถึง year 12

โรงเรียนเอกชนที่ออสเตรเลีย เด็กนักเรียนทุกคนต้องแต่งตัวถูกระเบียบเป๊ะๆๆ นักเรียนชายก็ต้องใส่สูทและผูกเนคไทมาเรียน นักเรียนหญิงต้องใส่กระโปรงยาวเลยเข่าและใส่สูทไปเรียนเหมือนกัน

หลายๆคนยอมเสียตังค์เป็นหลายๆพันเหรียญเพื่อที่จะส่งลูกไปเข้าเรียนตามโรงเรียนเอกชนเพราะ
  • เหตุผลทางด้านศาสนา เพราะโรงเรียนเอกชนสามารถเลือกที่จะสอนวิชาศาสนาตามความเชื่อของคนกลุ่มนั้นๆได้ ที่ออสเตรเลียเราก็จะมีโรงเรียนเอกชนที่เป็น Catholic, Christian และก็ Muslim ในขณะที่โรงเรียนของรัฐบาลจะไม่มีการสอนวิชาที่เกี่ยวกับศาสนาและความเชื่อ เราจะปล่อยเรื่องนี้ให้เป็นหน้าที่ของพ่อแม่หรือผู้ปกครอง
  • นักเรียนทุกคนดูสะอาดเรียบร้อย เพราะเป็นเด็กนักเรียนที่มาจากครอบครัวที่ฐานะทางการเงินใช้ได้ หรือไม่ก็แบบว่า "รวย" ไปเลย เพราะถ้าไม่อย่างนั้นก็คงไม่มีตังค์จ่ายค่าเทอมส่งลูกมาเรียนโรงเรียนเอกชน
  • ต้องการให้ลูกๆหลานๆได้รู้จักและคบกับเพื่อนที่มาจากครอบครัวที่มีฐานะเท่าเทียวกัน เพื่อเป็นการเบิกทางในการติดต่อหรือทำธุรกิจอะไรก็ตามแต่ในอนาคต คนมีฐานะทำอะไรกับคนมีฐานะ อะไรต่อมิอะไรมันก็ดูง่ายไปหมด ไม่แตกต่างจากเมืองไทย คนมีตังค์กระทบไหล่คนมีตังค์ คิดว่าประเทศใหนๆก็ไม่แตกต่างกัน
ส่วนตัวเราแล้ว เราก็คิดว่านั่นคือเหตุผลหลักๆของครอบครัวหลายๆครอบครัวที่ส่งเสียลูกหลานให้ไปเรียนที่โรงเรียนเอกชน เพราะถ้าจะเปรียบเทียบกันในเชิงวิชาการแล้ว เราก็มั่นใจว่าเด็กนักเรียนจากโรงเรียนรัฐบาลเรียนได้ดีไม่แพ้โรงเรียนเอกชน หรือดีกว่าด้วยซ้ำ...

Monday, December 28, 2015

จรรยาบรรณ ความรับผิดชอบ และหน้าที่


ชีวิตของการเป็นครูเป็นอาจารย์เนี๊ยะ บางทีหลายๆสิ่งหลายๆอย่างเราก็ทำไปโดยที่ถ้าถามกันว่าคุ้มมั๊ยกับค่าแรงกับค่าตอบแทนที่ได้รับ บอกได้เลยว่าค่าแรงของอาจารย์และข้าราชการที่ออสเตรเลียเยอะกว่าค่าแรงของอาจารย์และข้าราชการที่เมืองไทยอย่างแน่นอน แต่สำหรับคนที่ทำธุรกิจส่วนตัวอย่างเราแล้ว บอกได้เลยว่าธุรกิจส่วนตัวเราทำเงินได้ดีกว่าเป็นหลายเท่า สำหรับอาจารย์คนอื่นๆค่าแรงที่เขาได้รับมันก็คงคุ้มแหละนะ แต่สำหรับเราแล้ว เวลาในการสอน เวลาในการเตรียมการสอน ถ้าเราเอาเวลาพวกนี้มาทำธุรกิจส่วนตัวที่เราทำอยู่ รับรองว่าเราได้ตังค์เยอะกว่าค่าแรงที่ได้จากการสอนแน่นอน

แต่ที่ยังทำหน้าที่การสอนอยู่ทุกวันนี้ เพราะรู้ดีว่าเราสามารถเปลี่ยนชีวิตเด็กนักเรียนได้หลายชีวิต เปลี่ยนชีวิตได้หลายครอบครัวเพราะโรงเรียนที่เราสอนอยู่เป็นโรงเรียนในแถบเมืองรอบนอก ต่างจากโรงเรียนในเมืองเยอะ เพราะเรารู้ดีว่าถ้าเราลาออกแล้วก็คงยากที่โรงเรียนจะหาคนมาสอนวิชาที่เราสอนได้ เพราะอาจารย์ที่สอนวิชาคอมพิวเตอร์อย่างเรา เขาก็อยากสอนอยู่ในเมืองกัน

จรรยาบรรณ ความรับผิดชอบ และหน้าที่ มันเป็นอะไรที่หนักอยู่บนบ่านะ จะมีสักกี่คนกันที่รู้

ถ้าหากเราได้สอนโรงเรียนที่แย่ๆ นักเรียนแย่ๆ มันก็คงไม่มีปัญหาในการลาออกมาทำธุรกิจส่วนตัว เราคงไม่ใช้เวลาในการคิดนานนัก

OK, โรงเรียนที่เราสอนอยู่มันอาจจะไม่สมบูรณ์แบบ perfect เหมือนพวก selective school ที่นักเรียนต้องสอบเข้าไปเรียน โรงเรียนที่นี่มันก็มีเด็กพวก bottom class นิสัยเลวๆอยู่บ้าง แต่ 2-3 ปีที่ผ่านมา นักเรียนที่เลือกมาลงวิชาเราจะเป็นเด็กนักเรียนพวก Gifted and Talented (GAT) กันเป็นส่วนมาก บรรยากาศการเรียนการสอนของห้องอื่น วิชาอื่นอาจจะแตกต่างกันไป แต่ที่แน่ๆวิชาคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นวิชาเลือก วิชาที่เราสอน ส่วนมากจะมีแต่เด็กนักเรียนหัวกะทิที่เลือกมาลงเรียนกัน ดังนั้นจรรยาบรรณ ความรับผิดชอบ และหน้าที่จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ก็ได้แต่คิดในใจว่าวันหนึ่ง วันที่เราไม่อยู่แล้วใครจะสอนเด็กนักเรียนพวกนี้นะ

เราเองก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ วันๆนั้นจะมาถึง แต่เราก็คิดว่าคงจะไม่เป็นอาจารย์สอนมัธยมไปอีกนาน เพราะเราเองก็ต้องดำเนินชีวิตไปตามทางของเราด้วย เราก็ได้คิดว่าช่วงระยะเวลาที่เราอยู่เราก็คงทำหน้าที่ให้ดีที่สุด เพราะคำว่า "จรรยาบรรณ ความรับผิดชอบ และหน้าที่" เป็นอะไรที่แลกซื้อหามาด้วยเงินทองไม่ได้จริงๆ

สรุป.... เราตกหลุมรักโรงเรียนนี้ กับอาชีพนี้ไปแล้วเหรอเนี๊ยะ



Saturday, December 26, 2015

Broken home


เนื่องด้วยเราได้ทำการสอนอยู่ที่โรงเรียนเดิมๆมาหลายปีแล้ว เราเองก็เริ่มรู้จักและสนิทกับนักเรียนหลายๆคนมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากการสอนวิชาคอมพิวเตอร์แล้วเราก็เริ่มทำพวกกิจกรรมอย่างอื่นกับเด็กนักเรียนมากยิ่งขึ้น อย่างเช่นสอนการเขียนโปรแกรมให้กับหุ่นยนต์ (Vex Robotics) และการทำกิจกรรมเสริมพวกนี้ เราก็ทำกันช่วงพักเที่ยงหรือหลังเลิกเรียน ซึ่งก็ทำให้เราให้คลุกคลีกับเด็กนักเรียนมากยิ่งขึ้น

ส่วนเด็กนักเรียน senior เอง เราก็สอนเขามาตั้งแต่ตอนที่เขาเรียนชั้น junior กัน ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เราจะสนิทสนมกับเด็กนักเรียนบางกลุ่ม หรือรู้จักในเรื่องส่วนตัวของเด็กนักเรียนมากยิ่งขึ้น เพราะการเป็นครูหรืออาจารย์นั้นสำคัญที่เราต้องรู้จักเด็กนักเรียน เพราะนี่เป็นการเรียนการสอนของโรงเรียนมัธยม ไม่ใช่มหาวิทยาลัย เราก็เลยได้มีการถามสารทุกข์สุขดิบและความเป็นอยู่ของแต่ละครอบครัวของเด็กนักเรียนบ้าง

หลายๆสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากการพูดคุยกับเด็กนักเรียนมันก็ทำให้เราอึ้งได้เหมือนกัน เพราะครอบครัวฝรั่งที่นี่ไม่ได้สมบูรณ์แบบอย่างที่หลายๆคนที่เมืองไทยคิดกันนะครับ เราอยู่ที่นี่มานานเราก็พอรู้แหละ แต่คนที่เมืองไทยอาจจะไม่รู้ถึงจุดนี้ แล้วยิ่งเรามาทำงานสอนด้วยแล้วหละก็ได้พบเจอเรื่องราวของครอบครัว ร้อยแปดพันเก้า เลยจริงๆ

เรามีเด็กนักเรียน year 7 คนหนึ่ง เรียนวิชาคณิตศาสตร์กับเราและก็อยู่ในกลุ่มนักเรียนที่ทำ robotics ด้วย หลังจากที่สอนเขามา 1 ปีเต็มๆปกติเราก็ไม่ได้ถามไถ่เรื่องของครอบครัวนักเรียนเท่าไหร่ โดยเฉพาะนักเรียนที่เรียน junior year เพราะโดยปกติแล้วเราชอบสอนเด็กนักเรียน senior year มากกว่าเพราะโตๆกันแล้ว เด็ก seniour year จะสอนง่ายกว่า พูดจารู้เรื่อง 

หลังจากที่ได้มีโอกาสพูดคุยกับเด็กนักเรียน year 7 คนนี้ เราถามเด็กนักเรียนว่าพ่อแม่ทำงานอะไร เด็กนักเรียนก็บอกว่าพ่อเป็นยามเฝ้าศูนย์การค้า และแต่ก็อยู่ต่างรัฐ เขาไม่รู้ว่าแม่ทำอะไร เพราะไม่ได้ติดต่อกันเลย เราได้ยินก็ได้อึ้งและก็พูดไม่ออก แต่ก็แอบประทับในความเป็นพ่อของเด็กนักเรียนคนนี้ เพราะการเป็นยามเฝ้าศูนย์การค้า แล้วต้องส่งเสียลูกเรียนหนังสืออีก ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ และการไปแข่งขันการเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์ที่ผ่านมา บอกได้เลยว่า ไม่ใช่ถูกๆนะครับ เพราะนักเรียนแต่ละคนต้องแชร์ค่าที่พักกันและค่าเช่ารถบัส และมีค่าอะไรอื่นๆอีก เพราะทางโรงเรียนเองก็ไม่สามารถออกค่าใช้จ่ายให้กับเด็กนักเรียนได้หมด เพราะงบของโรงเรียนเองก็มีจำกัด สรุปการไปแข่งขัน robotics ที่ Melbourne ที่ผ่านมา นักเรียนต้องจ่ายคนละ $300 (ประมาณ 8,000 บาทไทย) ซึ่งเราเองก็คิดว่าแพงมากสำหรับเด็กๆ เราก็ได้แต่แอบคิดว่า "เฮ้อ ทำไมนะ ครอบครัวฝรั่งที่นี่มันชั่งไม่สมบูรณ์เอาสะเลย"

นอกจากครอบครัวของเด็กนักเรียน year 7 คนนี้แล้ว ช่วงก่อนปิดเทอมเราได้รู้เรื่องราวของเด็กนักเรียน senior year อีกคนหนึ่ง เขาเป็นเด็กนักเรียน year 11 และช่วงปลายปีก็ต้องการขาดเรียนช่วงบ่ายบ่อยๆเพราะต้องไปขึ้นศาล เราเองก็สงสัยและเป็นห่วงเพราะเห็นเด็กขาดเรียนบ่อยเกินไป และเนื้อหาวิชาของ senior year ก็เรียนยากด้วย หลังจากสอบถามและพูดคุยก็ถึงรู้ว่า เด็กนักเรียนต้องไปขึ้นศาลเพราะว่ามีการทะเลาะกันกับพ่อเลี้ยงและตอนนี้ก็ขึ้นศาลเพื่อขอคำสั่งศาลห้ามพ่อเลี้ยงเข้าใกล้เขาและแม่ภายในระยะกี่เมตรอะไรก็ว่าไป

นักเรียน year 11 คนนี้ ตอนนี้เขากับแม่ก็ต้องย้ายออกจากบ้านแล้วมาเช่าบ้านอยู่กัน เพราะว่าแม่กับพ่อเลี้ยงมีการทำร้ายร่างกายกัน เราได้ฟังแล้วก็รู้สึกหดหู่เพราะฟังๆดูแล้ว นี่ก็คงจะเป็นหย่าร้างครั้งที่ 2 ของแม่เขา ฟังๆดูแล้วมันดูซับซ้อนกันจริงๆเลย หย่าแล้วแต่ง แต่งแล้วหย่าเนี๊ยะ

นอกเหนือจากนี้แล้วเรายังมีเด็กนักเรียนหลายคนที่เราได้มีโอกาสสอนประเภทแบบว่า เป็นพี่น้องกัน แต่คนละพ่อคนละแม่ คนละนามสกุล ฟังๆแล้วทีแรกเราก็สับสนเหมือนกัน เพราะเด็กนักเรียนบอกเราว่า คนนั้นคนนี้เป็นพี่หรือน้องเขานะ แต่เราก็ดูนามสกุล เอ๊ะ ทำไมไม่เหมือนกัน พอสอบถามไปมา ก็ถึงกับร้องอ๋อ เพราะว่า พ่อก็มีลูกติดมาจากการแต่งงานคราวก่อน แม่ก็มีลูกติดมาจากการแต่งงานคราวก่อน ทั้งพ่อและแม่มาแต่งงานกัน ดังนั้นลูกจากทั้ง 2 ฝ่ายก็เลยถือว่าเป็นพี่เป็นน้องกัน แต่คนละพ่อ คนละแม่ คนละนามสกุล อาจารย์เองได้ฟังแล้วก็งง และปวดหัว หลังจากได้  digest ข้อมูลสักพัก เราถึงได้ร้องอ๋อ มันเป็นแบบนี้นี่เอง และก็มีนักเรียนเราอยู่หลายคู่มากที่เป็นแบบนี้

เราเองก็ได้แต่คิดในใจว่า เออ ชีวิตเด็กนักเรียนพวกนี้ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบนะ มีนักเรียนอีกหลายคนที่ต้องนอน 2 บ้านเพราะว่าพ่อกับแม่แยกทางกัน จันทร์-ศุกร์อยู่กับแม่ เสาร์-อาทิตย์อยู่กับพ่อ ฝรั่งที่นี่เห็นเป็นเรื่องปกติ แต่เรากลับมองว่ามันเป็นอะไรที่ dysfunction ไม่อบอุ่น แต่ก็นั่นแหละ มันคือชีวิต ชีวิตที่ไม่ได้สวยหรูไปหมดสะทุกอย่าง ชีวิตที่ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ชีวิตของเด็ก broken home

Sunday, December 20, 2015

ลักษณะนิสับการกินของนักเรียนฝรั่ง ที่น่าเป็นห่วง


เมื่อ 2-3 อาทิตย์ที่ผ่านมา เราได้มีโอกาสเดินทางกับเด็กนักเรียน 8 คน เพื่อไปแข่งขันการเขียนโปรแกรมของหุ่นยนต์ เนื่องจากว่าโรงเราอยู่ที่รัฐ NSW แล้วต้องไปแข่งขันที่ Melbourne, รัฐ VIC เราก็ต้องเดินทางไปกับเด็กๆนักเรียน โดยการเช่ารถบัสและมีรอง ผ.อ. เป็นคนขับ และมีอาจารย์หัวหน้าภาควิชาวิทยาศาสตร์ไปด้วยคนหนึ่ง สรุปก็คือมีอาจารย์ไป 3 คน เด็กนักเรียน 8 คน การเดินทางก็ประมาณ 10 ชั่วโมง และเราก็ไปพักที่ Caravan Park กัน 2 คืน ซึ่งก็ไม่แพงมาก

เดินทางกันวันศุกร์เช้า กลับวันอาทิตย์เช้า และช่วงของการเดินทาง เราก็ต้องมีการพัก break ให้เด็กๆนักเรียนได้ยืดเส้นยืดสาย เข้าห้องน้ำและหาอะไรกินกัน

การเดินทางของโรงเรียนที่ออสเตรเลีย ไม่ว่าจะเป็นการไปทัศนศึกษาหรืออะไรก็ตามแต่ เด็กนักเรียนต้องเตรียมเงินไปซื้ออาหารกินกันเอง หรือไม่ผู้ปกครองก็ต้องเตรียมอาหารให้กับเด็กๆ เพราะโรงเรียนมัธยม เด็กนักเรียนโตๆกันแล้ว เราจะให้เด็กๆหาซื้ออาหารกินกันเอง

จากการเดินทางในครั้งนี้ ทุกครั้งที่มีการพัก break เราก็จะเห็นนิสัยการกินของเด็กนักเรียนฝรั่งที่นี่ คือแต่ละคนจะวิ่งเข้าหาอาหารที่เป็น fastfood กันทั้งนั้น อาหารทอด อาหารที่มีแต่ cheese มีแต่เนย และเครื่องดื่มก็จะเป็นพวกเครื่องดื่มน้ำอัดลมที่มีแต่น้ำตาล ไม่เห็นว่าจะมีอะไรที่เป็นประโยชน์สักอย่าง ดังนั้นไม่แปลกใจเลยว่าทำไมเด็กนักเรียนฝรั่งถึงอ้วนกันมาก

ทุกครั้งที่จอดรถเพื่อให้เด็กนักเรียนได้พักผ่อนและหาอะไรกิน แทบจะ 99.99% ปั๊มน้ำมันส่วนมากก็จะมีแต่พวกอาหาร fastfood, McDondal, KFC และอะไรต่อมิอะไรอีกมากมาย แทบจะหาอะไรที่มัน healthy กินไม่ได้เลย นั่นคือสิ่งที่เราสังเกตุจากการเดินทาง ทีแรกเราก็คิดว่าอาจจะเป็นเพราะในระหว่างการเดินทาง ของกินมีให้เลือกน้อย นักเรียนก็เลยต้องเลือกกินเท่าที่เค๊ามีขายกัน

แต่พอเราไปถึง Melbourne หลังจากการแข่งขันการเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์อะไรเสร็จ เราก็พานักเรียนไปทานข้าวที่ร้านอาหาร ที่นักเรียนสามารถสั่งอะไรก็ได้ มีทั้งที่ healthy และก็ไม่ healthy

อาหารอะไรก็ไม่ได้แพงมาก นักเรียนเตรียมเงินกันมาพออยู่แล้ว เพราะเราบอกผู้ปกครองเอาไว้แล้วว่าหลังจากการแข่งขัน เราจะไปทานอาหารที่ร้านอาหารกัน 

สรุปเรื่องของราคาไม่ได้เป็นอุปสรรคอะไรกับนักเรียนเลย แต่ว่าเด็กนักเรียนชอบที่กินอาหารแบบพวก fastfood มากกว่า นี่แหละอิทธิพลของการโฆษณาอาหารพวก fastfood เด็กๆนักเรียนจะชอบกินอาหาร fastfood กันมากกว่า เพราะเป็นอะไรที่คุ้นเคย เป็นอะไรที่เห็นโฆษณาอยู่ในทีวีทุกวัน

จากการได้สัมผัสการใช้ชีวิต การกินของเด็กนักเรียน บอกได้เลยว่าน่าเป็นห่วงมาก เพราะเด็กนักเรียนบางคนสั่งน้ำอัดลมปั่นมาแล้วแก้วใหญ่ แล้วยังจะสั่งแก้วที่ 2 อีก แต่เราก็ห้ามไม่ให้นักเรียนสั่งกัน เพราะเราเป็นอาจารย์เองเรายังไม่สั่งเลยไอ้พวกน้ำอัดลมพวกนั้น และสังเกตุเห็นได้ว่า นักเรียนคนที่อยากจะสั่งน้ำอัดลมปั่นแก้วใหญ่แก้วที่ 2 จะเป็นพวกร่างใหญ่ๆทั้งนั้นเลย

เห็นแล้วก็อดที่จะเป็นห่วงไม่ได้ แต่อาจารย์ที่ประเทศออสเตรเลียจะพูดอะไรต้องระวัง เพราะอาจารย์ที่นี่ไม่มีสิทธิ์วิพากวิจารย์เรื่องรูปร่างของนักเรียน คือเรามีหน้าที่สอนวิชาอะไรเราก็สอนวิชานั้นๆไป ซึ่งเราคิดว่าผิดนะ เราคิดว่าอาจารย์ควรจะมีสิทธิ์พูดและแนะนำในเรื่องเหล่านี้ เพราะเราคิดว่าเราเป็นอาจารย์ เรามีทักษะและหลักจิตวิยาในการพูดกับนักเรียน

Saturday, November 14, 2015

ครูผู้บริหารต้องหนักแน่น


โรงเรียนที่ออสเตรเลีย ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนรัฐบาลหรือโรงเรียนเอกชน การบริหารปลีกย่อยจะอยู่ที่โรงเรียนสะมากกว่า เพราะหน่วยงานรัฐบาลกลางเองก็คงเข้ามาดูแลไปไม่ทั่วถึง นี่ก็เป็นที่มาของนโยบาย local school, local decision ที่ออกมาได้ไม่กี่ปีมานี่เอง

local school, local decision ก็คือการบริหารและการตัดสินใจอะไรหลายๆอย่างจะขึ้นอยู่กับผู้บริหารของโรงเรียน ซึ่งก็คือ ผ.อ. และก็ รอง ผ.อ. ซึ่งเรื่องงบประมาณอะไรพวกนี้ ทางผู้บริหารก็ต้องจัดการและดูแล ในขณะเดียวกันทางผู้บริหารเองก็ต้องดูแลสวัสดิการของครูอาจารย์และคนที่ทำงานในองค์กรนั้นๆด้วย โดยเฉพาะการลงโทษเด็กที่ทำความผิดในโรงเรียน ซึ่งรอง ผ.อ. ก็จะเป็นครูปกครองที่คอยลงโทษเด็กที่ทำความผิด

เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว เด็กนักเรียนชาย year 11 (ม.5) ได้แสดงท่าทางที่ไม่เหมาะสมทางเพศกับอาจารย์ผู้หญิง และอาจารย์ผู้หญิงคนนี้ก็เป็นอาจารย์ใหม่ คือประมาณว่าอายุก็ไม่ห่างจากเด็กนักเรียนเท่าไหร่ จริงๆแล้วสังคมฝรั่ง อายุห่างกันหรือไม่ห่างกันนั้นไม่ค่อยเกี่ยวกันเท่าไหร่ ใครจะทำอะไรกันขึ้นมา จะมี sex จะมีการร่วมเพศกันหนะเหรอ อายุมันไม่ได้เกี่ยวเลย ดังนั้นอาจารย์สาวกับเด็กนักเรียนหนุ่มๆนี่ก็ยิ่งต้องระวังเข้าไปกันใหญ่ เพราะเด็กฝรั่งโตเร็ว เด็กนักเรียน year 11 (ม.5) นี่ก็เป็นหนุ่มกันแล้ว...

การแสดงท่าทางที่บ่งบอกถึงการร่วมเพศหรือมีเพศสัมพันธ์นั้น ทางองค์กรทุกองค์กรที่ออสเตรเลีย ไม่เฉพาะที่โรงเรียน ถือว่าเป็นการหมิ่นประมาททางเพศ หรือ sexual harrasment ดังนั้นอีกฝ่ายที่ทำการหมิ่นประมาทจะต้องถูกลงโทษ ถ้าเป็นที่สถานที่ทำงาน อาจมีสิทธิ์โดนไล่ออกได้ เพราะทุกคนที่มาทำงานไม่ว่าจะเป็นองค์กรใหน หน่วยงานใหน อย่าว่าแต่โรงเรียนเลย ทุกคนที่มาทำงานจะต้องรู้สึกปลอดภัย รู้สึก safe 

ถ้าเรารู้สึกไม่ปลอดภัยแล้ว เราก็จะทำงานด้วยความหวาดผวา

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อาจารย์สาวได้ร้องเรียนไปที่รอง ผ.อ. ที่มีหน้าที่เป็นอาจารย์ฝ่ายปกครองของโรงเรียน ปรากฏว่าเด็กนักเรียนถูกหยุดพักการเรียนไปแค่ 2 วันเอง เพราะรอง ผ.อ. บอกว่าเด็กนักเรียน year 11 ไม่อยากให้หยุดพักการเรียนนาน เดี๋ยวกลัวจะเสียการเรียน แต่พวกครูก็มองว่า ถ้าเด็กนักเรียนเค๊าเป็นเด็กดี เป็นเด็กเรียนเค๊าจะไม่ทำท่าทางอะไรทุเรศแบบนี้กับอาจารย์ผู้หญิงหรอก อาจารย์หลายๆคนคิดว่าเด็กนักเรียนคนนั้นน่าจะถูกหยุดพักการเรียน 20 วัน ไม่ใช่ 2 วัน 

ครูหลายๆคนรู้สึกผิดหวังกับการบริหารและผู้ที่ทำงานอยู่เบื้องสูง ครูหลายๆคนรู้สึกว่าผู้บริหารไม่หนักแน่นกับเรื่องแบบนี้ แต่เราก็แก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว เพราะรอง ผ.อ. ได้ตัดสินใจไปแล้ว จะเปลี่ยนการตัดสินใจไม่ค่อยได้ แต่เราก็ได้แต่พูดกันเอาไว้ว่าถ้าเกิดเหตุการณ์อะไรที่มีการหมิ่นประมาททางเพศแบบนี้จากนักเรียนอีก ทางอาจารย์เองก็คงจะแจ้งตำรวจเลยโดยตรง คงไม่ผ่านกระบวนการบริหารของโรงเรียน เพราะครูหลายๆคนมีความรู้สึกว่ามันป่วยการที่จะผ่านระบบการบริหารของโรงเรียน เพราะระบบการลงโทษไม่หนักแน่นพอ

เรามีความรู้สึกว่าการที่ใครจะเป็นครูผู้บริหารนั้นต้องหนักแน่น ต้องมีการดูแลสวัสดิการของครูและอาจารย์ที่โรงเรียนด้วย คนทุกคนที่มาทำงาน ไม่ว่าอาจารย์ผู้ชายหรืออาจารย์ผู้หญิง จะต้องรู้สึกปลอดภัยและ safe ทุกครั้ง ทุกวันที่เรามาโรงเรียน มาทำงาน มาสอน เพราะถ้าไม่อย่างนั้นแล้วพวกเราก็คงลาป่วยลาอะไรกัน เพราะที่ออสเตรเลีย เราสามารถลาป่วยเพราะความเครียดได้ เราเรียกกันว่า stress leave 

เป็นไงหละ เจ๋งมั๊ย คือโรงเรียนที่ออสเตรเลียจะดูแลพนักงานและเจ้าหน้าที่ในเรื่องของสุขภาพจิตใจด้วย (mental health) ไม่ใช่ดูแลแค่สุขภาพทางกาย ดังนั้นเราสามารถลาแบบ stress leave ได้

หากครูผู้บริหารไม่หนักแน่นในการทำงาน ไม่หนักแน่นในการลงโทษเด็กนักเรียนที่มีความผิด ผลเสียก็จะเกิดกับโรงเรียนก็คือ อาจารย์ต่างๆจะเกิดความเครียดจากการทำงาน ลาป่วยบ่อย ซึ่งก็จะมีผลเสียต่อการเรียนการสอนที่ไม่ต่อเนื่อง สุดท้ายแล้วคนที่ได้รับผลกระทบก็คือนักเรียนเอง แต่มันก็จะกระทบต่อเด็กนักเรียนที่ตั้งใจเรียนนั่นแหละ เพราะพวกที่มาโรงเรียนไปวันๆไม่ได้ตั้งใจเรียนอะไรหระเหรอ เค๊าไม่ได้รู้สึกหรือรู้ถึงผลกระทบอะไรหรอก

การลงโทษที่ไม่หนักแน่นพอก็จะเป็นผลเสียต่อบรรยากาศการเรียนการสอนของคนส่วนใหญ่ ซึ่งก็เหมือนกับการที่เราตัดเอาเนื้อร้ายออกไปจากร่างกายเพื่อรักษาเนื้อเยื่อและเซลที่ดี ดังนั้นการครูผู้บริหารจะรักษาเนื้อเยื่อที่ดีซึ่งก็คือเด็กนักเรียนที่ตั้งใจเรียน และก็รวมไปถึงครูอาจารย์ที่ตั้งใจสอนด้วย ครูผู้บริหารก็ต้องยอมทำใจและตัดเนื้อร้ายพวกนั้นออกไป ครูผู้บริหารจะสามารถตัดสินใจตัดเนื้อร้ายออกไปได้ก็ต่อเมื่อครูผู้บริหารเองเป็นคนหนักแหน่น กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดใจ กล้าลงโทษเด็กไปตามความรุนแรงของการกระทำ ไม่อย่างนั้นแล้วเค๊าก็จะบริหารโรงเรียนไม่ได้ โรงเรียนขาดเสถียรภาพ การเรียนการสอนไม่ต่อเนื่อง ครูอาจารย์หมดอารมณ์และความอยากที่จะมาสอน มาทำงาน...

เราคิดว่าหลัการบริหารหน่วยงานใหนๆก็เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนหรือที่บริษัท 

แล้วองค์กรของคุณหละ ผู้บริหารหนักแน่นมั๊ย...

Sunday, November 8, 2015

ครู นักเรียน และ social media


วันนี้เลือกที่จะเขียน blog เรื่อง "ครู นักเรียน และ Social Media" เพราะว่าเราเห็นเพื่อนที่เป็นอาจารย์ที่ประเทศสิงคโปร์สอนเด็กประถมและมัธยมและมีเด็กๆนักเรียนที่เป็นลูกศิษย์เต็ม social media ของเธอไปหมดเลย เราก็ได้แอบคิดในใจว่าเพื่อนเราคิดถูกหรือคิดผิดเนี๊ยะที่ให้ลูกศิษย์เข้ามาวุ่นวายเรื่องส่วนตัว เรื่องชีวิตประจำวัน เรื่องครอบครัวของเราคนที่เป็นอาจารย์ เพราะเค๊า post อะไรลงไปใน social media เด็กๆนักเรียนก็เห็นกันหมด ความเป็นส่วนตัวหายไปใหน!! แล้วกฎหมายหรือกฎระเบียบการศึกษาที่สิงคโปร์มันเป็นยังไงเหรอ เราไม่เข้าใจ 

Note: เราเคยทำงานที่สิงคโปร์มาก่อน เป็น programmer อยู่ที่นั่น 4 ปี ก็เลยมีเพื่อนๆที่สิงคโปร์เยอะ

เราเข้าใจว่าแต่ละประเทศ กฎหมายและกฎระเบียบการศึกษาไม่เหมือนกัน ที่ออสเตรเลีย อาจารย์ทุกคนจะถูกห้ามที่จะมีเด็กๆนักเรียนลูกศิษย์มาเป็นเพื่อนใน facebook หรือโลกสังคม online, social media ของคนครู สาเหตุก็เพราะคนที่เป็นอาจารย์เราต้องแยกสังคมส่วนตัวและการงานให้ออก จะเอามาปะปนกันไม่ได้

เป็นเรื่องปกติของนักเรียนส่วนมาก โดยเฉพาะเด็กนักเรียนมัธยมที่กำลังเป็นนวัยรุ่น กำลังเริ่มสนุก กำลังเริ่มใช้ social media ใหม่ๆ อาจจะไม่ค่อยเข้าใจหลักที่ควรหรือไม่ควรว่าจะใช้ social media ให้เกิดประโยชน์อะไร ยังไงบ้าง อย่าว่าแต่เด็กนักเรียนเลย ผู้ใหญ่เราเองก็เถอะ หลายๆคนควรเรียนรู้หลักการบฏิบัติในการใช้ social media, หรือภาษาทางวิชาการเราเรียกว่า netiquette เอาไว้บ้างก็ดี อันใหนควร อันใหนไม่ควร

เด็กนักเรียนมัธยมส่วนใหญ่จะส่ง request มาขอเป็นเพื่อน หรือ add เข้ามาใน social media, คนที่เป็นอาจารย์ที่ออสเตรเลียจะต้องไม่รับเด็กนักเรียนเข้ามาใน social media ส่วนตัวของตัวเอง 

ยกเว้น Facebook page หรือ Twitter account ที่เป็น social media ทางการของทางโรงเรียน มีเอาไว้เพื่อประชาสัมพันธ์งานต่างๆให้กับนักเรียนและสังคมส่วนรวม อันนี้ถือว่า OK เพราะไม่ใช้ social media ส่วนตัว

สาเหตุที่กระทรวงการศึกษาของรัฐ NSW มีการห้ามอาจารย์ติดต่อกับเด็กนักเรียนผ่าน social media ส่วนตัว ก็เพราะว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ก็มีข่าวออกมาเรื่อยๆที่อาจารย์มีลูกศิษย์อยู่ใน social media ส่วนตัวของตัวเองแล้วถูกพักการสอน สาเหตุก็เนื่องด้วยมีอยู่วันหนึ่งอาจารย์ตรวจข้อสอบวิชาเคมี แล้วเด็กนักเรียนได้คะแนนน้อยกันมาก อารจารย์ก็เผลอไป update status ใน social media ส่วนตัวว่า เด็กนักเรียนพวกนี้ "โง่" จัง อะไรประมาณนี้ และเด็กนักเรียนก็ได้ทำการร้องเรียนไปที่ ผ.อ.

สรุปอาจารย์ที่สอนเคมีคนนั้นก็ถูกหยุดพักการสอน และก็เป็นข่าวออกหนังสือพิมพ์กันใหญ่โต อาจารย์คนนี้สอนอยู่ที่ Melbourne, อีกรัฐหนึ่งนะครับ

ปกติที่ออสเตรเลีย เราเป็นอาจารย์ เราจะพูดอะไร เราก็ต้องระวังปาก เราจะไม่เอาแต่จะพูด เราจะต้องคิดก่อนพูดเสมอ แล้วคำบางคำเราก็พูดไม่ได้ อย่างเช่นคำว่า "โง่" เป็นต้น แล้วถ้าไป update status ตัวเองใน social media แล้วมีนักเรียนอยู่ในนั้นอ่านเจอ รับรองได้เลยว่ากลายเป็นเรื่องใหญ่แน่นอน

หลายๆคนอาจจะอยากรู้ทำไมอาจารย์ที่ออสเตรเลียเรียกเด็กนักเรียนว่า "โง่" ไม่ได้ เราเรียกเด็กนักเรียนว่า "โง่" ไม่ได้ครับ เราต้องบอกว่าเด็กนักเรียนคนนั้น "ด้อยความสามารถ" คือประมาณว่านักเรียนได้พยายามแล้ว แต่เค๊าทำได้แค่นี้จริงๆ

นอกจากการที่เราจะต้องระวังในเรื่องของ social media แล้ว เราก็คิดว่ามันเป็นการไม่เหมาะสมที่นักเรียนต้องมารู้เห็นเรื่องส่วนตัวของเรา โดยเฉพาะสังคมที่ออสเตรเลีย เราจะให้ความสำคัญเรื่องของ privacy หรือความเป็นส่วนตัวกันมาก

แต่หลายคนอาจคิดว่า ไม่เป็นไร เพราะอาจจะสนิทกับเด็กนักเรียนบางคนเป็นพิเศษ 

ความสนิทกับเด็กนักเรียนนี่แหละยิ่งต้องระวังกันใหญ่เลย ยังไงเสียความสนิทมันก็ต้องมีขอบเขต เราบอกกับเด็กนักเรียนในห้องเสมอ โดยเฉพาะเด็ก senior class ที่เค๊าคิดว่าเค๊าโตเป็นผู้ใหญ่แล้วสามารถเป็นเพื่อนเราได้ เราย้ำกับเด็กเสมอว่า เราเป็นอาจารย์ก็ต้องเป็นอาจารย์ สนิทกับเด็กนักเรียนได้ เพราะเด็กนักเรียน senior class ส่วนมากก็โตๆกันหมดแล้ว นิสัยดี ตั้งใจเรียน ไม่ได้ไร้สาระอะไรมากมาย แต่เราก็ย้ำกับเด็กนักเรียนว่า สนิทได้แต่เป็นเพื่อนไม่ได้

เราไม่รู้นะว่าหลักการปฏิบัติของแต่ละประเทศเป็นยังไง แต่คนที่เป็นอาจารย์หรือครูก็ต้องมี common sense เพราะมันไม่ใช่เรื่อง ที่เด็กนักเรียนจะพูดจาเล่นหัวหรือแซวอะไรเราใน social media เพราะเราไม่ใช่เพื่อนเล่นเค๊า

ทุกอย่างต้องมีขอบเขต มี boundary...

Sunday, November 1, 2015

เมื่อเด็กนักเรียนแปลงเพศ


ที่ออสเตรเลียมีกฎหมายว่าด้วยเรื่องของการเปลี่ยนแปลงเพศ ถ้าคนที่จะเปลี่ยนเพศ ผ่าตัดเปลี่ยนแปลงนั่น นี่ โน่น กี่เปอร์เซ็นต์ก็ว่าไป เค๊าก็จะสามารถเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อตัวเองได้ อาจจะเปลี่ยนจาก "นาย" เป็น "นางสาว" หรือจาก "นางสาว" เป็น "นาย" ก็แล้วแต่ ที่ออสเตรเลียเรามีกฎหมายรองรับในเรื่องของแบบนี้ ในขณะเดียวกัน ในฐานะที่เราเป็นอาจารย์ ถ้าเด็กนักเรียนที่โรงเรียนเรามีการเปลี่ยนแปลงเพศกันขึ้นมา เราเป็นอาจารย์เราก็ต้องมีการตั้งรับกับสถานการณ์ต่างๆ เพราะนี่คือโรงเรียนมัธยม ไม่ใช่มหาวิทยาลัย

โรงเรียนมัธยม เรายังคงต้องดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด ไม่เหมือนมหาวิทยาลัย ที่เรียนแบบตัวใครตัวมัน

โรงเรียนมัธยม เด็กๆนักเรียนยังถือว่าเด็กอยู่นัก อายุเริ่มจาก 12 - 18 ปี ดังนั้นถ้าเรื่องการเปลี่ยนแปลงเพศของเด็กนักเรียนไม่ได้รับการวางแผนว่าพวกเราอาจารย์จะรับมือกับสถานการณ์นี้อย่างไร เหตุการณ์อะไรต่างๆที่แย่ๆก็อาจจะเกิดขึ้นได้ เพราะเด็กๆอาจมีการล้อเลียนกัน พูดจาอะไรเสียดสีเพื่อทำร้ายจิตใจอีกฝ่ายหนึ่งก็อาจจะเป็นได้ 

โรงเรียนที่ออสเตรเลียเราจะสนับสนุนเด็กนักเรียนในทุกๆเรื่อง ไม่ว่าเด็กนักเรียนต้องการทำอะไร อยากเป็นอะไร ขอให้พ่อแม่ที่บ้านเค๊าเห็นด้วย หน้าที่เราของคนที่เป็นอาจารย์ก็คือ เราต้องสนับสนุนและคอยดูแลอย่างใกล้ชิดว่าจะไม่เกิดการล้อเลียนอะไรกันขึ้นภายในโรงเรียน เพราะเด็กนักเรียนฝรั่ง อะไรนิดอะไรหน่อย ก็จะทำร้ายตัวเอง กรีดแขนตัวเอง นั่น นี่ โน่น สารพัดอย่างที่ครูและอาจารย์ต้องเจอ

ที่โรงเรียนเราก็มีเด็กนักเรียนผู้ชาย ซึ่งตอนนี้ก็อยู่ในระหว่างการกินโฮโมนต์เพื่อเปลี่ยนเพศเป็นผู้หญิง นักเรียนได้รับการสนับสนุน ความยินยอมและเห็นด้วยจากผู้ที่เป็นแม่ แต่คนที่พ่อก็รับไม่ค่อยได้เท่าไหร่นัก ในฝ่ายของโรงเรียนเอง เราก็มานั่งคิดพิจารณาว่าสรุปแล้วเด็กนักเรียนคนนี้ต้องเริ่มแต่งเครื่องแบบแบบใหนมาโรงเรียน เราจะอะลุ่มอล่วยกับเค๊าได้มากน้อยแค่ใหน 

ทุกอย่างที่โรงเรียนดำเนินไปได้ด้วยดี เนื่องด้วยนักเรียนคนนี้อยู่ชั้น senior year แล้ว; ม.5-ม.6 เด็กนักเรียน ม.5-ม.6 เริ่มโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว การล้อกันอะไรจะไม่ค่อยมีเหมือนเด็กนักเรียนที่อยู่ junior year ม.1-ม.4 สักเท่าไหร่นัก ปัญหาอะไรก็เลยไม่ค่อยมี ดูๆแล้ว เพื่อนๆร่วม year ของเค๊าก็คอยดูแลเด็กนักเรียนคนนี้เป็นอย่างดี เหมือนเป็นกำลังใจให้กัน อะไรประมาณนี้ 

เราก็ไม่รู้ว่า อนาคตเด็กนักเรียนคนนี้จะเป็นอย่างไร เมื่อเค๊าจบ ม.6 ออกไปเผชิญโลกกว้าง เพราะโลกข้างนอก โลกของความเป็นจริง เค๊าอาจจะไม่ได้รับการ support เหมือนที่โรงเรียนก็เป็นได้ เพราะที่โรงเรียนเค๊ายังเป็นเด็กนักเรียน มีอาจารย์และเจ้าหน้าที่เยอะแยะที่คอย support เค๊า แต่ถ้าจบออกไปแล้ว มันก็เหมือนตัวใครตัวมันแล้วหละ เค๊าต้องเผอิญโลกภายนอกด้วยตัวของเค๊าเอง

เราก็ไม่แน่ใจว่าที่เมืองไทยมีระบบหรือระเบียบอะไรเพื่อรองรับเด็กนักเรียนแปลงเพศแบบนี้มั๊ย เพราะสมัยที่เราเรียนอยู่ที่เมืองไทยมันก็นานมามากแล้ว แต่ที่รู้ๆก็คือ กฎหมายอะไรต่างๆที่เมืองไทย ยังแตกต่างจากประเทศในแถบตะวันตกเยอะ

ในฐานะของคนที่เป็นอาจารย์เราก็แค่ทำหน้าที่ของเรา คือสนับสนุนเด็กนักเรียน ไม่ว่าเค๊าอยากจะทำอะไร อยากเป็นอะไร ขอให้สิ่งที่เค๊าอยากเป็นหรือสิ่งที่เค๊าอยากทำไม่ได้ก่อปัญหาหรือเป็นภาระของใคร เราคนเป็นอาจารย์ก็ต้องสนับสนุน

Friday, October 30, 2015

Inner circle ความสนิทสนมของผู้บริหาร หรือเพื่อนร่วมงาน


โรงเรียนมัธยมที่ออสเตรเลียส่วนใหญ่ ตำแหน่งผู้บริหารสูงๆ ไม่ว่าจะเป็น ผ.อ. หรือรองผ.อ. คนที่ทำงานตำแหน่งสูงๆ เราจะสังเกตุได้ว่าพวกเค๊าเหล่านั้นจะมีความสนิทสนมกันในระดับหนึ่ง ซึ่งเราก็เข้าใจเพราะผู้บริหารเหล่านั้นเค๊าต้องทำงานด้วยกัน ประสานงานกันตลอดเวลาอยู่แล้ว แต่บางทีมันก็มีผลประโยชน์ทางหน้าที่การงานเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน แต่ก็บอกได้เลยว่า ระบบข้าราชการที่นี่แทบจะไม่มีใต้โต๊ะเหมือนเมืองไทย หรือมีก็มีน้อย 0.001% ทุกคนไม่กล้าทำอะไรกันใต้โต๊ะเพราะต่างก็กลัวว่าจะถูกร้องเรียนกัน เกิดอะไรขึ้นมา ได้ไม่คุ้มเสีย

แต่ความสนิทสนมเนี๊ยะมันก็อาจมีการเอื้ออำนายในตำแหน่งงานบ้างเล็กน้อย โดยเฉพาะตำแหน่งงานภายใน หรือที่เราเรียกกันว่า internal position 

โดยปกติแล้วที่รัฐ NSW โรงเรียนทุกโรงเรียนถ้าต้องการโฆษณาตำแหน่งงานอะไรต่างๆ โรงเรียนจะต้องแจ้งไปที่กระทรวงการศึกษาแล้วทางกระทรวงจะลงโฆษณาทุกวันพุธที่ website ของรัฐบาล แต่ละตำแหน่งก็จะทำการโฆษณาอยู่แค่ 2 อาทิตย์เท่านั้น นี่คือกฏระเบียบของกระทรวงการศึกษาที่รัฐ NSW โดยเฉพาะตำแหน่งงานประจำ-ถาวร full-time permanent เพื่อความเป็นธรรมกับทุกคนที่จะสมัคร ทางโรงเรียนจะโฆษณาอะไรเองไม่ได้ ทุกอย่างต้องการผ่านกระทรวงกลางหมดเลย

แต่ตำแหน่งงานชั่วคราวหรือตำแหน่งงานภายใน (internal position) ส่วนมากแล้วทางโรงเรียนจะไม่มีการประกาศลงโฆษณากับ website ของกระทรวงการศึกษา ถ้าหากมีตำแหน่งงานภายใน ทางผู้บริหารก็จะประกาศในที่ประชุมหรือไม่ก็ email แล้วบอกทุกคนว่าถ้าใครอยากสมัครก็ให้ติดต่อผู้บริหาร ถ้าหากมีคนสนใจตำแหน่งงานมากกาว่า 1 คน ทางโรงเรียนและผู้บริหารก็จะทำการสัมภาษณ์ แต่ถ้ามีคนสมัครแค่คนเดียว คนๆนั้นก็ได้ตำแหน่งไปเลย ปกติตำแหน่งชั่วคราวก็จะมีระยะการทำงานตั้งแต่ 1 อาทิตย์ ไปจนถึง 1 เทอม การที่ทางโรงเรียนจัดการและจัดสรรกันเองตำแหน่งงานและงบประมาณแบบนี้ ที่รัฐ NSW เราเรียกว่า local school local decision ซึ่งแต่ละรัฐจะมีระเบียบการไม่เหมือนกัน local school local decision ซึ่งก็คือประมาณว่าแล้วแต่ผู้บริหารจะจัดสรร ดังนั้นถ้าบางทีทางโรงเรียนมีตำแหน่งงานชั่วคราวอะไรที่มันว่างขึ้นมา ต่อให้ว่างแค่ 1 หรือ 2 อาทิตย์ บางทีรายได้ก็จะต่างกันลิบลับ เพราะว่าตำแหน่งงานและก็ความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน

อย่างเช่นตำแหน่งงานหัวหน้าภาควิชา ถ้าได้ไปทำงานในตำแหน่งรอง ผ.อ. แค่ 1-2 อาทิตย์ เค๊าก็จะได้เงินขึ้นมากขึ้นอีกหลายเท่าตัวเลยทีเดียว

บางคนอาจจะสงสัยว่าทำไมคนจะได้มาทำงานตำแหน่งชั่วคราวแค่ 1-2 อาทิตย์ ทำได้ครับเพราะถ้าบางทีคนที่ทำหน้าที่หรือตำแหน่งนั้นๆลา หรือไปอบรมอะไรบางอย่างสั้นแค่ 1-2 อาทิตย์ หรือแค่ 1-2 วันเองก็เถอะ

อยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย ไม่มีการทำงานฟรีๆ ต่อให้เราทำงานในตำแหน่งที่สูงกว่าตำแหน่งปัจจุบันแค่วันเดียว วันนั้นที่เรารับหน้าที่ในตำแหน่งที่สูงกว่า ถึงแม้ว่าจะชั่วคราว ถึงแม้ว่าจะแค่วันเดียว เราก็จะได้รับค่าแรงในตำแหน่งที่สูงกว่า ในวันนั้น ต่อให้ทำแค่วันเดียวก็เถอะ 

ระบบราชการที่นี่ก็ดีตรงเรื่องจ่ายตังค์นี่แหละ งบประมาณของรัฐบาลที่ออสเตรเลียจะสูงกว่าที่ไทยก็ตรงนี้แหละ ดังนั้นก็ไม่เป็นการแปลกที่ผู้บริหารเองจะหาเหตุผลอะไรมาสนับสนุนคนที่เค๊าอยากให้รับตำแหน่ง คนที่เค๊าสนิท ถึงแม้ว่ามันจะเป็นตำแหน่งแค่ชั่วคราว แต่ถ้าใครได้ทำงานพวกตำแหน่งชั่วคราวพวกนี้บ่อบๆ มันก็เป็นการปลูทางเพื่อไต่เต้าไปทำงานในตำแหน่งที่สูงขึ้นไป เพราะเค๊าก็สามารถเขียนในใบประวัติการทำงานว่าเออเนี๊ยะ เค๊าเคยทำงานในตำแหน่งนี้บ่อยๆนะ ในระหว่างที่ผู้บริหารคนนั้นไม่อยู่ อะไรประมาณนี้

ดังนั้นไม่เป็นการแปลกครับ ว่าเรื่องของความสนิทสนมจะมีการเอื้ออำนวยผลประโยชน์ในตำแหน่งงาน ไม่ว่าองกรนั้นจะเป็นองกรของรัฐหรือเอกชน ไม่ว่าจะอยู่ที่ประเทศใหนๆ แทบจะไม่แตกต่างกันเลย ถ้าเราสังเกตุว่าผู้บริหารคนใหน เดินไปใหนมาใหนด้วยกันบ่อยๆ เราก็พอจะเอาได้ว่า ตำแหน่งงานอะไรจะตกไปอยู่ที่ใคร...

สังเกตุมาแล้วหลายโรงเรียน

Friday, October 23, 2015

ครู ขาด ลา หยุด กันบ่อยเหลือเกิน


เนื่องด้วยสหภาพแรงงานของครูที่ประเทศออสเตรเลียที่เข้มแข็งที่เราได้เคยเขียนเอาไว้คราวก่อน การที่ครูที่ออสเตรเลียจะขาด จะลา จะหยุดก็ถือเป็นเรื่องปกติ ปวดหัวนิดหน่อย ติดธุระนั่น นี่ โน่น ก็ลาสะละ ที่โรงเรียนรัฐบาลก็จะมีครูลาครูขาดกันแทบทุกวัน ผลัดกันลา ผลัดกันขาดอยู่นั่นแหละ หรือไม่ก็มีงานอบรบ นั่น นี่ โน่น ที่ครูต้องไป เพราะครูที่ออสเตรเลียจะไม่ชอบอบรมอะไรเสาร์-อาทิตย์กัน น้อยนักที่จะมีวันใหนที่มีครูมาสอนที่โรงเรียนครบทุกคน แล้วเวลาที่ครูขาดหรือหายไปแบบนี้ ทางโรงเรียนก็ต้องเรียกครูชั่วคราว (casual teacher) เข้ามาสอนแทน ซึ่งครูชั่วคราวเหล่านี้ก็ไม่ได้สอนอะไรมากมาย เพราะเราเองก็เคยเป็นครูสอนชั่วคราวแบบสอนรายวันมาก่อน ครูที่มาสอนแทนก็จะแบบว่าเข้ามาดูแลเด็กก็แค่นั้นเอง เนื้อหาอะไรก็ไม่ค่อยได้สอนกันเท่าไหร่ เพราะปกติแล้วครูที่สอนชั่วคราวแบบรายวันก็จะแค่แจกๆ sheet ที่ครูประจำชั้นทำเตรียมเอาไว้ให้ ก็แค่นั้นเอง

การที่ครูขาด หรือหายไปแบบนี้ เราคิดว่ามันมีผลต่อการเรียนของเด็กนักเรียน เพราะการเรียนการสอนจะไม่ต่อเนื่อง เพราะครูที่มาสอนแทนก็ไม่ได้สอนอะไรมากมาย มานั่งคุมๆเด็กและก็รอโรงเรียนเลิก ก็แค่นั้นเอง เป็นการสูญเปล่าของเวลา

ครูฝรั่งที่นี่ เอ๊ะอะอะไร สวัสดิการของเค๊าต้องมาก่อน จนบางทีก็ลืมนึกถึงไปว่า สรุปแล้วหน้าที่จริงๆของเค๊าคืออะไร

คนเราจะขาด จะลา จะป่วย เป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะเรื่องเจ็บไข้ได้ป่วยเนี๊ยะ มันห้ามกันไม่ได้จริงๆ แต่ไอ้พวกที่ป่วยการเมืองนี่สิ ช่างเป็นเสนียดจัญไรของสังคมเลยจริงๆนะ มีครูหลายคนชอบสบาย มาชิวๆ สอนเช้าชามเย็นชาม รอแต่จะลา นั่น นี่ โน่น ใช้สวัสดิการของตัวเองให้ถึงที่สุด และคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือนักเรียน

เรานะกว่าจะขาด กว่าจะลา เราต้องคิดแล้วคิดอีก คิดว่าห้องใหนชั้นใหนมั่งที่จะต้องขาดเราไปในวันนั้นๆ คาบเรียนนั้นๆ เราไม่ได้ยกยอปอปั้นว่าตัวเองเก่งเลิศอะไร แต่ก็คิดว่าหัวใจ หน้าที่และความรับผิดชอบของความเป็นครูยังคงพอมี ถึงแม้ว่าเราจะเป็นครูมือใหม่ และก็ไม่ได้ตั้งใจที่จะมาเป็นครูอะไรมากมายก็ตามเถอะ เราคิดว่าเราคิดถึงสวัสดิการและการเรียนรู้ของเด็กนักเรียนมากกว่าครูหรืออาจารย์หลายๆคนที่ทำงานมานานมากกว่าเรา

เราก็เข้าใจนะว่าครูเองก็ต้องมีสวัสดิการของครูด้วย เพราะคนเราก็ไม่ใช่หุ่นยนต์หรือเครื่องจักรเครื่องกลอะไร จะขาด จะลา อะไรมันก็ทำกันได้ แต่ทุกอย่างก็ควรมีขอบเขต ดำเนินไปด้วยความพอดี เดินทางสายกลาง ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป ถ้าทำได้อย่างนั้นเราก็คิดว่า การเรียนการสอนที่โรงเรียนก็จะไม่มีผลกระทบมาก เป็นอะไรที่ win-win ด้วยกันทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นเด็กนักเรียน ครู และก็โรงเรียนเองด้วยก็เถอะ

เรารู้และก็เชื่อมั่นว่าครูดีๆมีเยอะอยู่ถมไป แต่ครูจัญไรที่คอยเอาเปรียบสังคมก็มีเช่นกัน ออสเตรเลียเองก็เถอะ เมืองนอกก็เถอะ ฝรั่งก็เถอะ ไม่ได้เลิศหรูอะไรไปกว่าเมืองไทยเราหรอก

นิสัยมนุษย์เนี๊ยะ มันช่างไม่แบ่งชนชาติเลยจริงๆนะ...

Sunday, October 11, 2015

ไม่อ้วนเอาเท่าไหร่


ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาประเทศสหรัฐอเมริกากับประเทศออสเตรเลียผลัดกันขึ้นครองอันหนึ่งของประเทศที่มีประชากรอ้วนมากที่สุดในโลก รู้สึกว่าปีที่แล้วออสเตรเลียมีประชากรเกือบ 50% ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานและรัฐบาลเองก็มีการออกมารณรงค์ให้ประชากรที่ออสเตรเลียให้มีการ active กันมากกว่านี้ ไม่ใช่วันๆมัวแต่นั่งดูทีวี ร่างกายไม่มี movement อะไรเลย

คนเราจะอ้วนหรือไม่อ้วนนะ มันเริ่มมาจากครอบครัว การเลี้ยงดูและก็การศึกษา เราเป็นอาจารย์ที่โรงเรียน แต่ห้ามพูดคำว่า "Fat" หรือบอกเด็กนักเรียนว่า "You are fat" เพราะว่าจะทำให้เด็กขาดความมั่นใจ และระบบการศึกษาที่ออสเตรเลียก็คือ... You จะเป็นใครก็ตาม ทุกคนมีสิทธิทางการศึกษาเท่าเทียมกัน ไม่ว่า you จะอ้วน จะผอม จะรวย จะจน จะเป็นเกย์ เป็นเลสเบี้ยน หรือแต่งตัวได้แปลกประหลาดมหัศจรรย์ได้มากน้อยแค่ใหน ทุกคนก็มีสิทธิทางการศึกษาเท่าเทียมกัน ซึ่งจริงๆเราก็คิดว่าดีในส่วนนี้ เพราะถือว่าเป็นหลักสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นที่ต้องเข้าถึงการศึกษา

สรุปคือ.... ครูหรืออาจารย์ไม่มีสิทธิ์ไปวิจารณ์รูปลักษณ์อะไรต่างๆของเด็กนักเรียน คือประมาณว่าเด็กนักเรียนอยากทำอะไร อยากเป็นอะไร ใฝ่ฝันเรื่องใหนเราต้องสนับสนุนเค๊า ช่วยคอยชี้แนะแนวทาง แต่ไม่บังคับ

แต่ในขณะเดียวกัน การที่ครูหรืออาจารย์ไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์เด็กอะไรมาก นอกจากเนื้อหาที่เรียนในห้องเรียน มันก็เลยกลายเป็นว่าเด็กนักเรียนบางคนก็จะอยู่ใน dreamland ที่คิดว่าตัวเองถูกต้องเสมอ ทำอะไรไม่ค่อยสนใจใคร จะอ้วนจะผอมฉันไม่เกี่ยว ก็ฉันจะเป็นแบบนี้ ฉันจะกินแบบนี้ อะไรประมาณนี้

อะ... กลับเข้ามาเรื่องอ้วนๆของเราต่อดีกว่า 

เด็กนักเรียนที่นี่ บอกได้เลยว่าอ้วนมากกว่าเด็กนักเรียนที่เมืองไทยเยอะเลย เนื่องด้วยที่อาจารย์ไม่มีสิทธิ์ที่จะพูดอะไรมากในเรื่องของน้ำหนัก เราก็จะปล่อยเรื่องนี้ให้เป็นหน้าที่ของอาจารย์ที่สอนวิชาพละ พอไม่มีคนที่โรงเรียนพูดเรื่องน้ำหนัก เด็กนักเรียนก็จะไม่ค่อยรู้ตัว ว่าตัวเองอ้วน คือเราเห็นแล้วก็อึดอัดแทนเพราะเรารู้ว่าถ้าเป็นที่เมืองไทยนะ ครูหรืออาจารย์มีสิทธิ์ที่จะบอกเรื่องแบบนี้กับเด็กนักเรียนได้ ซึ่งเด็กนักเรียนก็คงเข้าใจอยู่แล้วว่าครูหวังดี ไม่ได้พูดจาล้อเล่นสนุกๆในเรื่องรูปร่างหรือน้ำหนักของเด็กนักเรียน

พอเด็กนักเรียนที่อ้วนมากๆ ปัญหาที่ตามมาก็คือไม่มีชุดนักเรียนที่สามารถใส่ได้เพราะต้องสั่ง size พิเศษ สุดท้ายก็แต่งตัวซกม๊กมาโรงเรียนกัน อีกแหละ เห็นแล้วก็ยิ่งขวางหูขวางตาเข้าไปกันใหญ่ รู้สึกว่าอะไรต่อมิอะไรมันจะเป็น domino effect กันไปหมด มีการเชื่อมโยงกันไปหมด

ปัญหาเด็กนักเรียนอ้วน สามารถแก้ไขได้ถ้ารัฐบาลไม่ปิดกั้น และปิดปากครูหรืออาจารย์ที่โรงเรียนมากจนเกินไป เราเชื่อว่าอาจารย์มีจรรญญาบรรณพอและก็มีทักษะในการพูดกับเด็กนักเรียน เรารู้ว่าจะต้องพูดอะไรยังไงกับเด็กนักเรียน เรารู้วิธิการเอาน้ำเย็นเข้าลูบ เรารู้วิธีการพูดแบบบัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น

แต่.... ทุกวันนี้ครูอาจารย์ไม่กล้าพูด เพราะเราถูกห้ามไม่ให้ในพูดเรื่องแบบนี้ ก็ได้แต่หวังว่านโยบายทางการศึกษาของออสเตรเลียจะมีการเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย... เพราะเห็นลักษณะการกินของเด็กนักเรียนแล้ว ไม่แปลกใจเลยที่เด็กๆนักเรียนที่นี่อ้วนกันเยอะ แค่เราได้ยินเด็กนักเรียนพูดกันเรื่องอาหารในห้อง อาหารแต่ละอย่างที่เค๊าพูดถึงจะเป็นพวก fast food, พวก junk food และก็จะเป็นพวกของทอดกันทั้งนั้นเลย ไม่ค่อยจะมีอะไรที่ healthy สักเท่าไหร่ จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมเด็กนักเรียนที่ออสเตรเลียถึงได้อ้วนกันมากนัก

Sunday, October 4, 2015

office politic เหรอ เรื่องปกติที่โรงเรียน


องค์กรแทบทุกองค์กรจะมีความขัดแย้งกันในกลุ่มของเพื่อนร่วมงาน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน เราสามารถพูดได้เพราะเราเคยทำงานมาแล้วทั้งภาครัฐและเอกชน โรงเรียนที่ออสเตรเลียก็เช่นเดียวกัน ยิ่งถ้าเป็นโรงเรียนมัธยมด้วยแล้วหละก็ ไม่ต้องพูดถึงเลยครับ เพราะโรงเรียนมัธยมส่วนมาก 99.99% แต่ละภาควิชาจะมี office หรือห้องพักอาจารย์ของแต่ละภาควิชาซึ่งจะแตกต่างไปจากโรงเรียนประถมที่จะเป็นห้องรวม ดังนั้นอาจารย์ที่สอนที่โรงเรียนมัธยมก็จะมีโอกาสน้อยที่จะได้เจอหรือพูดคุยกับเพื่อนอาจารย์จากภาควิชาอื่น 

ก็อาจจะมีบ้างที่อาจารย์ที่อยู่ต่างภาควิชาจะเห็นหน้าตาหรือรู้จักอาจารย์จากภาควิชาอื่นๆ แต่ส่วนมากก็จะรู้จักกันแค่ผิวเผิน อาจจะไม่ได้สนิทอะไรมากมาย พอคนเรามันไม่สนิทกัน บางทีทำงานด้วยกัน ความคิดเห็นอะไรก็อาจจะขัดๆกันบ้างเป็นบางอารมณ์ ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติของแทบทุกองค์กรอยู่แล้ว

แต่อยากขอบอกได้เลยว่า อาจารย์บางคนที่นี่ คำพูดคำจาเนี๊ยะปากคอเราะร้ายมาก เวลาเราพูดจากับเด็กเราก็ต้อง นะ แบบว่า ไม่มีคำหยาบ แต่ถ้าเราได้ยินอาจารย์พูดกับอาจารย์ด้วยกันเองหละก็... 

รู้แล้วจะหนาว!!!

อาจารย์บางคนที่ไม่ชอบขี้หน้าอาจารย์อีกคนหละก็ ถ้าเค๊าเดินหันหลังให้หน่อยเถอะ 

He is such a dickhead.
She is fucking bitch.
**ไม่ขอเซ็นเซอร์นะครับ

เนี๊ยะ ได้ยินกันบ่อยๆ และจะสังเกตุได้ว่าคำพวกนี้จะได้ยินจากอาจารย์ที่สอนมานานแล้ว คืออาจารย์เก่าแก่ ประมาณว่า สอนมานานแล้ว เก๋ามาก ว่างั้นเถอะ ส่วนมากครูรุ่นใหม่เราจะไม่ค่อยใช้คำพูดแบบนี้กัน คือเราเด็กใหม่ก็ต้องเจียมเนื้อเจียมตัวกัน

เรื่องของอาจารย์เกลียดขี้หน้ากัน เรื่องของ office politic จะมีอยู่แทบทุกโรงเรียน ส่วนมากแล้วครูที่เป็นอาจารย์สอนประจำชั้นหรือ classroom teacher เราจะไม่ค่อยวุ่นวายเรื่องของ office politic กันเท่าไหร่ เพราะหน้าที่เราก็มีแค่สอนหนังสือ แต่พวกอาจารย์หัวหน้าประจำภาคที่เค๊าต้องทำงานบริหารด้วย อาจารย์พวกนี้จะต้องมีการประสานงานกันกับแทบทุกภาควิชา ถ้าอาจารย์หัวหน้าภาคท่านใหนชอบพอกัน สนิทกัน งานก็ออกมาราบรื่น แต่ถ้าหัวหน้าภาคคนใหนไม่ชอบขี้หน้ากันละก็ back stabbing หรือไม่ก็เลื่อยขาเก้าอี้กันอยู่นั่นแหละ

เราจำได้ว่า ปีแรกของการสอน ที่ได้สอนเป็น contract ยาวๆอยู่ 2 เทอม หัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์เป็นอาจารย์ผู้หญิงที่ปากตรงกับใจมาก ถ้าชอบก็บอกว่าชอบ ถ้าไม่ชอบก็จะแบบว่าโดนเต็มๆเลย แต่จะโดนลับหลังนะ

เนื่องด้วยอาจารย์หัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์ เป็นที่รู้กันว่าเค๊าไม่ค่อยจะลงรอยกับรอง ผ.อ. ที่เป็นผู้หญิงด้วยกัน (โรงเรียนนั้นมีรอง ผ.อ. 2 คน) และหัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์เค๊าเป็นคงที่ตรงไปตรงมา เวลาเค๊าพูดกับอาจารย์คนใหนนะ ถ้าเค๊าได้เอ่ยถึง รอง ผ.อ. ที่เป็นผู้หญิงคนนั้นหละก็ แทบจะทุกครั้งเลยว่า เค๊าจะต้องเรียกรอง ผ.อ. คนนั้นว่า She is fucking bitch. ไม่ประโยคแรกก็ประโยคสุดท้าย

มันแทบจะกลายเป็นประโยค trademark ของหัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์ ทุกครั้งที่เค๊าเอ่ยถึงรอง ผ.อ. ผู้หญิงคนนั้น

คนเราก็แปลกนะ ถ้ามันไม่ได้ชอบขี้หน้ากันแล้วละก็ ต่อให้ทำยังไงมันก็แก้ไม่ได้ แต่ก็นั่นแหละ office politic ที่โรงเรียนมันก็ทำให้ชีวิตการสอนเรามีสีสันขึ้นมานิดหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าอาจารย์ที่ประเทศออสเตรเลียต้องเป็นแบบนั้นกันทุกคนเสมอไปนะครับ นี่ก็เป็นแค่ประสบการณ์ที่เราได้เจอมา ก็แค่นั้นเอง ก็แค่ไม่อยากให้ทุกคนแบบว่า มองอะไรก็ "โลกสวย" ไปหมดสะทุกอย่าง

ก็ลองเอาไปเปรียบเทียบกันดูนะครับว่า office politic ที่ออสเตรเลียจะเหมือนกับที่เมืองไทยหรือเปล่า...

Saturday, September 26, 2015

เมื่อถูกเรียกว่า fucking Asian


จำได้ว่าปีแรกแห่งการสอน หลังจากที่เป็นอาจารย์สอนแบบ contract อยู่ 2 เทอม เทอมต่อมาเราก็เป็นอาจารย์มือปืนรับจ้าง หรือ casual teacher ที่เมื่อไหร่ก็ตามที่ทางโรงเรียนต้องการอาจารย์มาช่วยสอน ซึ่งก็อาจจะเนื่องด้วยมีอาจารย์ป่วย อาจารย์ลา เราก็ต้องไปสอนแทน ทางโรงเรียนจะโทรติดต่อมา ถ้าเราว่างหรืออยากไปสอนเราก็ไป ถ้าไม่อยากไปเราก็บอกปฏิเสธได้ นี่แหละข้อดีของอาจารย์มือปืนรับจ้าง หรือ casual teacher

เป็น casual teacher ไม่ได้หมายความว่า เวลาที่ทางโรงเรียนโทรมาเรียกเราไปทำงาน เราต้องรับปากไปทำงานเสมอไป ถ้าเราไม่อยากไป อาจจะเนื่องด้วยไม่ชอบโรงเรียนนั้น ไม่ชอบเด็กนักเรียนที่นั่น ไม่ชอบอาจารย์เพื่อนร่วมงานที่นั่น หรือเราติดธุระ เราก็ไม่ต้องไป เพราะโรงเรียนในระแวกนี้ก็มีอยู่หลายโรงเรียนอยู่แล้ว ปกติเรามีจะมีงานสอนอยู่แล้วแทบทุกอาทิตย์ อาจจะ 3-4 วันต่ออาทิตย์ก็ว่าไป แล้วแต่อาทิตย์ ซึ่งรายได้ของ casual teacher ก็ดีอยู่ในระดับหนึ่งอยู่แล้วเพราะเป็นอาจารย์ฉุกเฉิน ดังนั้นค่าแรงก็ต้องแพงในระดับหนึ่ง ดังนั้นอาทิตย์หนึ่งสอน 3-4 วัน รายได้ที่ได้มาก็อยู่ได้สบายๆ ไม่ต้อง worries

อาทิตย์นั้นเราได้กลับไปสอนโรงเรียนเดิม จำได้ว่าสอนเด็ก year 11 ม.5 วิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้อย่างที่เคยเล่าให้ฟัง เป็นโรงเรียนอยู่ในถิ่นที่มีปัญหา ปัญหาครอบครัวติดยา, ว่างงาน, รายได้ต่ำ และเยอะแยะอีกมากมาย เล่ากันไม่จบ

เนื่องด้วยวันนั้นเรากลับไปสอนในฐานะอาจารย์ casual teacher ไม่ได้เป็นอาจารย์ที่สอนทุกวัน เหมือน 2 เทอมที่ผ่านมา เด็กก็จะไม่ค่อยเชื่อฟังเราเท่าไหร่ เพราะรู้ว่า casual teacher ไม่ได้ให้คะแนนอะไรเค๊า ในขณะที่เรากำลังสอน ก็มีเด็กนักเรียนที่เป็นชนพื้นเมือง เผ่า Aborigin คนหนึ่งคุยโทรศัพท์มือถือกับเพื่อนเฉยเลย จำได้ว่าสอนการคำนวญคิดดอกเบี้ยเงินฝาก คิดในใจว่าถ้าเด็กนักเรียนเค๊าตั้งใจเรียนนะ ก็จะได้มีความรู้เรื่องการเงิน จะได้เอาตัวรอดในสังคมยุคสมัยนี้ มันต้องเรียนรู้เรื่องการทำงบประมาณประจำตัว หรือ budgeting และอะไรต่อมิอะไรเรื่องการเงินด้วย อย่างการคำนวญดอกเบี้ยเงินฝากเป็นต้น

เราก็เลยต้องทำหน้าที่อาจารย์สะหน่อย เดินไปบอกนักเรียนให้เลิกคุยโทรศัพท์มือถือ

he ทำหน้าตาเฉย แล้วพูดกับเพื่อนปลายสายว่า 
he: เนี๊ยะ กำลังถูกสอนโดย fucking Asian อยู่หละ (แปลให้แล้ว)

แค่นั้นแหละครับ เราก็ให้เด็กนักเรียนอีกคนไปเรียกอาจารย์หัวหน้าประจำภาคมาจัดการกับเด็ก ปกติแล้วถ้าเด็กนักเรียนพูดจาหยาบคาย โดยเฉพาะใช้คำว่า fuck ด้วยแล้วหละก็ แถวยังใช้คำว่า Asian อีกต่างหาก คือ:

1. fuck: พูดจาหยาบคายกับอาจารย์ 
2. Asian: พูดจา racist แบ่งแยกเหยียดสีผิว แบ่งแยกเชื้อชาติ จริงๆแล้วมีความผิดตามกฎหมาย

เด็กจะต้องถูกหยุดพักการเรียน โดยให้รอง ผ.อ. หรืออาจารย์ปกครองจัดการลงโทษขั้นเด็ดขาด แต่......วันนั้น...... อาจารย์หัวหน้าภาคบอกว่า "จะแค่ว่ากล่าวตักเตือนเด็ก" อาจารย์หัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์ซึ่งก็รู้จักกับเราดี เพราะเราสอนอยู่ภาควิชานี้มาก่อนหน้านี้ตั้ง 2 เทอมแหนะ she บอกเราว่าถ้าส่งเรื่องต่อไปให้ ผ.อ. หรืออาจารย์ปกครองจัดการลงโทษ เค๊าก็ไม่ทำอะไรกันมากหรอก 

จริงๆแล้วคือ อาจารย์หัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์ไม่ค่อยถูกขี้หน้ากันกับ ผ.อ. หรืออาจารย์ปกครองจัดการลงโทษที่โรงเรียนสะเท่าไหร่ เราสอนที่นี่มา 2 เทอม เรารู้ดีเรื่องใครเกลียดขี้หน้าใครในโรงเรียน เฮ้อ.... ที่ทำงานที่ใหนๆก็มีเรื่อง office politic น่าเบื่อมาก

สรุปวันนั้นเด็กนักเรียน Aborigin คนนั้นไม่ได้ถูกทำโทษอะไรเลย ก็โดนแค่ว่ากล่าวตักเตือนแค่นั้นเอง โถ่..... แล้วแบบนี้เด็กนักเรียนมันจะกลัวครู ให้ความเคารพครูได้ยังไง ทำความผิดก็ยังลอยนวล

วันนั้นเรารู้สึกว่า system มัน broken ยังไงบอกไม่ถูก นักเรียนทำผิดแล้วยังลอยนวล แล้วอาจารย์ casual teacher ที่ใหนเค๊าอยากจะมาสอนที่โรงเรียนนี้

หลังจากวันนั้นเป็นต้นมา เราไม่ก็กลับไปสอนโรงเรียนนั้นอีกเลย ถึงแม้ว่าจะใกล้บ้าน ขับรถแค่ 15-20 นาทีก็เถอะ.....

อาทิตย์ต่อมาเราก็ได้ contract ไปสอนวิชาคอมพิวเตอร์ที่โรงเรียนนักเรียนชายล้วนจนถึงสิ้นปี

Sunday, September 20, 2015

การเลือกใช้คำพูดที่ต้องระมัดระวัง


การที่เราเป็นครูเป็นอาจารย์อยู่ที่ออสเตรเลีย จะพูดจะจาอะไรก็ต้องระมัดระวังในการเลือกใช้คำพูด เพราะอยู่ที่ออสเตรเลียอาจารย์ต้องให้ความเท่าเทียมกันกับเด็กนักเรียนทุกคน อาจารย์ต้องไม่วิพากวิจารณ์ความคิดและอิสระในการคิดและทางเลือกของเด็กนักเรียน ไม่ว่าเราจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ตาม และคำพูดบางคำพูด ในฐานะที่เป็นอาจารย์เราก็ไม่มีสิทธิ์พูด เพราะจะเป็นการไปลดความมั่นใจหรือ self-esteem ของเด็ก แต่ขอบอกว่า เด็กนักเรียนที่ออสเตรเลียบางทีก็มั่นใจเกิน บางทีก็อิสระเกิน เกินไป เกินขอบเขต จนบางทีเราก็คิดว่าเด็กนักเรียนพวกนี้จะกลายเป็นพวก ไข่ในหิน หรือดักแด้ที่ห่อหุ้มไปด้วยรังไหม เผชิญชีวิตจริงกับโลกที่โหดร้ายไม่ได้ เพราะที่ผ่านมาได้ถูกปกป้องมากจนเกินไป เนื่องด้วยระบบการเรียนการสอนของที่นี่

เอาละ ใหนเรามาดูกันสิว่า มีคำคำใหนที่เราไม่มีสิทธิ์พูดมั่ง ส่วนมากก็จะเป็นพวกคำพูด negative ที่มันติดลบ คำพูดแบบนั้นห้ามพูด ยกตัวอย่างเช่น

อ้วน: ครูหรืออาจารย์ที่นี่ไม่มีสิทธิ์ไปวิพากวิจารณ์รูปร่างลักษณะของเด็กว่าเด็กนักเรียนผอมหรืออ้วน เราจะไม่วิจารณ์รูปลักษณ์ของนักเรียน เราจะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้ปกครองสะมากกว่า ต่อให้เราเห็นเด็กนักเรียนแล้วอยากจะบอกเหลือเกินว่า ลักษณะการกินของเธอไม่ดีต่อสุขภาพนะ ไม่ healthy นะ เพระเด็กหลายคนยอมรับความจริงไม่ได้กัน เพราะไม่เคยถูกใครพูดจาด้วยคำพูดแบบนี้มาก่อน

โกนหนวดโกนเครา: อีกเช่นเดียวกัน อาจารย์ที่นี่ไม่มีสิทธิ์ไปวิพากวิจารณ์รูปลักษณ์ของนักเรียน ทั้งๆที่เราเองก็คิดว่า เออ ถ้าหนวดเครารุงรังขนาดนี้จะไปสมัครงานที่ใหนก็คงไม่มีใครเค๊าเอา นอกจากหนวดเครารุงรังแล้ว เด็กนักเรียนชายบางคนโดยเฉพาะเด็กพวก senior ที่เรียน ม.5 ม.6 เพราะเริ่มโตเป็นหนุ่มแล้ว บางคนก็อยากทำตัวเซอๆเป็นศิลปิน ไว้ผมเผ้ายาวรุงรัง ไม่หวีผม ไม่รวบผม คือครูเห็นแล้วครูจะเป็นลม

โง่: โอ้ คำๆนี้ขอบอกได้เลยว่า เราอยากจะพูดมากเลย เพราะเด็กบางคนที่อยู่ที่ bottom class (ถึงแม้ว่าปีนี้เราไม่ได้สอนห้อง bottom class แล้ว) คือแบบว่าโง่มาก โง่แล้วยังอวดฉลาดอีก มีเยอะแยะ 

นักเรียนที่เรียนไม่เก่งแล้วเจียมเนื้อเจียมตัว พยายามขวักไขว่ที่จะเรียน นักเรียนประเภทนี้น่ายกย่อง ครูอาจารย์อยากช่วยเหลือ อยากจะสอน แต่พวกที่เรียนไม่เก่ง แล้วยังอวดฉลาดเนี๊ยะสิ เราเรียกว่า "โง่" แต่เราก็ใช้คำประเภทนี้ไม่ได้ เพราะจะทำให้ self-esteem ของเด็กต่ำ บางทีเราก็คิดในใจว่า เออ จะให้ self-esteem ของมันต่ำ ก็ให้มันต่ำไปสิ จะอะไรกันนักกันหนา โง่ก็น่าจะเรียกว่าโง่สิ เด็กนักเรียนจะได้รู้ตัวหรือพ่อแม่จะได้รู้ว่าลูกตัวเองหนะ โง่ และไม่เอาถ่านขนาดใหน จะมามัวเอาตัวเป็นไข่ในหินอยู่แบบนี้ สุดท้ายก็กลายเป็นพวก พ่อแม่รังแกฉัน ถึงตอนนั้นก็อาจจะสายเกินไปแล้ว

เกย์ เลสเบี้ยน: ที่เมืองไทย อาจารย์ยังสามารถพูดล้อเล่นขำๆกับเด็กนักเรียนได้ว่า นักเรียนชายเป็นสาว หรือนักเรียนหญิงเสียงหล่อ อะไรประมาณนี้ แต่ถ้าเป็นที่ออสเตรเลียนะ ถ้าอาจารย์พูดอะไรแบบนี้ รับรองได้เลย ได้ออกจากการเป็นอาจารย์แน่ เพราะที่ออสเตรเลีย นั้นถือว่าเป็นการเลือกที่จะเป็นของเด็กนักเรียน ซึ่งที่เมืองไทยเราก็ให้สิทธิ์ในการเลือกที่จะเป็นอยู่แล้ว เช่นเดียวกัน แต่ที่เมืองไทยเรายังสามารถพูดจาแซวกันได้ ไม่ค่อยซีเรียสอะไรกัน ถือว่าเป็นเรื่องขำๆ แต่ที่ออสเตรเลีย อาจารย์จะไม่มีสิทธิ์แซวเด็กนักเรียนในเรื่องแบบนี้เป็นอันขาด ถ้าแซวเรื่องแบบนี้นะ นอกจากอาจต้องโดนไล่ออกจากราชการแล้ว อาจจะต้องดังเป็นข่าวหน้าหนึ่งแน่นอน เพราะที่ออสเตรเลียถือว่าเป็นความผิดอะไรที่ร้ายแรงมาก ที่ไปตราหน้าหรือแซวเด็กนักเรียนในเรื่องของการเลือกที่จะเป็น เกย์ หรือ เลสเบี้ยน ที่ออสเตรเลียเราจะเปิดกว้างให้สิทธิ์เท่าเทียมกันกับ sextuallity มาก นอกจากห้ามแซวแล้ว อาจารย์ยังต้องที่จะ support และดูแลเด็กนักเรียนให้เป็นอย่างดีอีกต่างหาก คือถ้าชอบแบบใหน อยากเป็นอะไร เราก็ต้องสนับสนุน อะไรประมาณนั้น

คำพูดเหล่านี้คนที่เป็นอาจารย์ที่ออสเตรเลียต้องระมัดระวัง ต้องไม่พูด อย่างคำว่า โง่ หรือ stupid เนี๊ยะ เราก็ต้องเลือกใช้คำว่า low ability แทน ซึ่งก็แปลว่า ความสามารถน้อย หรือไม่เก่ง นั่นเอง สรุปคือ ไม่เก่งนะ ไม่ใช่โง่

และก็เรื่องการวิพากวิจารณ์การแต่งตัวบางอย่างเนี๊ยะยิ่งหมดสิทธิ์เลย ใครจะเจาะหู เจาะจมูก เจาะคิ้ว หรือเจาะริมฝีปากอะไรยังไง ครูหรือาจารย์ก็ไม่มีสิทธิ์ไปวิพากวิจารณ์สิทธิของเด็กนักเรียนเป็นอันขาด

นี่ก็เป็นแค่ส่วนปลีกย่อยนะครับ ถ้าจะให้ list ออกมาเป็นรายการ บอกได้เลยว่า วันเดียวคงไม่หมด

จะเห็นได้ว่ากฎเกณฑ์อะไรต่างๆที่ออสเตรเลียจะมีเยอะแยะมากมายไปหมดที่อาจารย์จะต้องรู้ ทั้งนี้ก็เพื่อปกป้องสิทธิอะไรต่างๆของเด็กนักเรียน ก็ลองนำไปเปรียบเทียบกับโรงเรียนที่เมืองไทยกันดูนะครับ ว่ามีความเหมือนหรือความแตกต่างกันมากน้อยแค่ใหน

Friday, September 18, 2015

เด็กนักเรียนที่ขาดความเคารพ


โรงเรียนที่ออสเตรเลีย เด็กนักเรียนจะต้องเรียกอาจารย์หรือครูว่า Mr, Miss หรือ Mrs แล้วตามด้วยนามสกุล อย่างเราเด็กนักเรียนก็จะเรียกว่า Mr.Paopeng แต่ถ้าเด็กนักเรียนไม่อยากเรียกชื่อตามนามสกุล เด็กนักเรียนก็สามารถเรียกอาจารย์ได้สั้นๆได้ว่า Sir ถ้าเป็นอาจารย์ผู้หญิง เด็กนักเรียนก็จะเรียกว่า Miss (เด็กจะไม่เรียกว่า Mrs กัน เพราะถ้าเป็น Mrs ก็จะต้องเรียกตามนามสกุล) อาจารย์ผู้หญิงไม่ว่าจะแต่งงานหรือไม่แต่งงานเด็กนักเรียนก็จะเรียกว่า Miss

แต่ก็มีเด็กหลายๆคนชอบเล่นหัวกับอาจารย์ เรียกเฉพาะนามสกุล ว่า "Paopeng" ไม่มีคำว่า Mr. นำหน้า ซึ่งก็เป็นการบ่งบอกถึงการขาดความเคารพ

เมื่อวานตอนเช้า เราเดินจะไปห้องเพื่อทำการเช็คชื่อเด็กนักเรียนตอนเช้า มีเด็กนักเรียนหญิง ม.1 ซึ่งอยู่ในห้องเราเรียกเราว่า "Paopeng" เฉยๆ โดยไม่มีคำว่า Mr นำหน้า

นักเรียนหญิง ม.1: Good morning Paopeng (สวัสดี เผ่าเพ็ง)
เราหยุดและหันไปจ้องเด็ก ตีสีหน้าเข้มแล้วพูดว่า
Mr.Paopeng: Mr......Paopeng (เน้นเสียงตรงคำว่า Mr แล้วก็ลากเสียงยาวๆ)
เด็กรีบขอโทษ
นักเรียนหญิง ม.1: Sorry Mr.Paopeng. Good morning Mr.Paopeng.
เสร็จแล้วเราก็เดินออกไป แต่ทันใดนั้น ก็ได้ยินเสียงดังมาจากด้านหลังว่า
นักเรียนหญิง ม.1 อีกคน: Bye Paopeng.
เราหยุดกึ๊ก แล้วหันไปมอง อ๊า....เพื่อนของเด็กนักเรียนหญิงที่เดินมาด้วยกันนี่เอง เราก็ไม่รู้จักชื่อเสียด้วยสิ ก็เลยตวาดไปว่า
Mr.Paopeng: You ไปรออยู่ที่ห้องฉันเลยไป

เด็กนักเรียนเริ่มรู้ตัวแล้วว่าทำอะไรผิดไป เดินตัวลีบเข้ามาที่ห้องเรา เด็กๆในห้องเราก็ถามเด็กนักเรียนคนนั้นว่า เธอมาทำอะไรในห้องนี้ แต่เธอก็ฉวยโอกาสเดินออกไปจากห้องเราตอนที่เรายุ่งๆ ตอนที่เราเผลอเดินออกไปเอา laptop เพื่อที่จะมาเช็คชื่อ

พอเราเช็คชื่อเด็กห้องเราเสร็จ เราก็ถามเด็กนักเรียนที่อยู่ในห้องเรา ว่าเด็กนักเรียนคนเมื่อกี้ชื่ออะไร เสร็จแล้วเราก็เช็คในระบบคอมพิวเตอร์ของโรงเรียนว่าอยู่ห้องใหน ต้องยอมรับว่าระบบคอมพิวเตอร์ของโรงเรียนที่ออสเตรเลียนั้นมันดีจริงๆ

พอเราทราบห้องเด็ก เราก็เดินไปตามหาเด็กเลย ขออนุญาตครูประจำห้องนั้น เด็กนักเรียนคนนั้นเห็นเรา เค๊าก็ไปยืนแอบอยู่หลังเพื่อน และก็ทำตัวลีบๆ แต่เราก็มองเห็น แล้วเราบอกเค๊าให้ลงไปที่ห้องเราข้างล่าง เด็กเริ่มรู้แล้วว่า "ต้องโดนแน่" หน้าเริ่มเสีย น้ำตาเริ่มคลอเบ้า ยิ่งเด็กหน้าเสีย เราก็ต้องยิ่งหน้าเข้มเข้าไว้ เราไม่โกรธนะ แค่ต้องการสั่งสอนเฉยๆ ก็แค่นั้นเอง

เราก็เข้าไปทำธุระอะไรของเราในห้องต่อ บอกให้เด็กนักเรียนยืนรออยู่ข้างนอก ปกติเราจะให้เด็กยืนอยู่นอกห้อง ปล่อยเวลาให้เค๊าคิด ว่าได้ทำผิดอะไรลงไปมั่ง เสร็จแล้วเราก็ออกมาสอบถามเด็ก อ้าว ปรากฏว่าเป็นเด็กอยู่ห้อง 2nd top class หรือถ้าเป็นที่เมืองไทยก็เป็นห้องเด็กเก่งอันดับที่ 2

Mr.Paopeng: (ทำเสียงเข้ม) นี่เธอ เป็นเด็กอยู่ห้อง 2nd top แล้วทำไมทำตัวแย่แบบนี้ ฉันพึ่งบอกเพื่อนเธอไปเองนะ ว่าเวลาเรียกครูต้องเรียกว่า Mr.Paopeng ไม่ใช่เรียกว่า Paopeng เฉยๆ
นักเรียนหญิง ม.1 อีกคน: (หน้าเจื่อนๆ น้ำตาคลอเบ้า) Yes sir. Sorry sir.
Mr.Paopeng: ฉันมาเป็นครูสอนนะ ไม่ใช่เป็นเพื่อนเล่นเธอ ได้ยินมั๊ย..... I'm here to teach, not to be your friend. Do you hear me? (พูดช้าๆ เน้นไปทีละคำ ออกสีหน้าด้วย)
นักเรียนหญิง ม.1 อีกคน: (หน้าเจื่อนๆ น้ำตาคลอเบ้า) Yes sir. Sorry sir.
Mr.Paopeng: กลับไปที่ห้องเธอได้ละ
นักเรียนหญิง ม.1 อีกคน: Yes sir (น้ำตาคลอเบ้า รีบวิ่งก้มหน้ากลับไปที่ห้องอย่างรวดเร็ว)

เป็นไงละ มาเล่นหัวกับครูอย่างเรา ไม่ได้ครับไม่ได้ ถ้าเรียกชื่อเฉยๆไม่มีคำว่า Mr หรือ Miss/Mrs นำหน้าเนี๊ยะ มันก็เหมือนเป็นการเล่นหัว เป็นการเรียกแบบเพื่อนกันมากกว่า ซึ่งมันก็เป็นการขาดความเคารพ ระหว่างนักเรียนกับครู

แต่อย่างว่าแหละ เด็ก ม.1 พึ่งจะมาใหม่ ยังไม่ค่อยรู้จักเรา พวกอยากจะลองของ ก็เลยได้เจอของดีเลยเมื่อวาน

Mess with the best, die like the rest.....นะจ๊ะ

Thursday, September 10, 2015

จะแต่งหน้าไปให้ใครดู


เด็กนักเรียนที่เรียนโรงเรียนรัฐบาล นอกจากการที่ต้องใส่เครื่องแบบของแต่ละโรงเรียนแล้ว ก็จะไม่มีกฏอะไรมากมายในเรื่องของการแต่งกาย แต่งตัว แต่งหน้า และการใส่เครื่องประดับ ดังนั้นเรื่องการแต่งกายและใส่เครื่องประดับอะไรแปลกๆ จะเห็นกันอยู่เกลื่อนกลาดตามโรงเรียนรัฐบาลทั่วๆไป

โดยเฉพาะเด็กนักเรียนผู้หญิง พอขึ้น year 8 หรือ ม.2 เด็กๆก็เริ่มแต่งหน้ากันแล้ว เด็กนักเรียนหลายๆคนแต่งหน้าแต่พองาม แต่งบางๆ มันก็ไม่ได้ดูน่าเกลียดอะไรมาก เพราะยังไงเสียโรงเรียนก็ยังเป็นสถานที่การศึกษา ไม่ใช่สถานที่ที่ต้องมาแต่งหน้าแข่งขันกัน เหมือนเดินแฟชั่นโชว์ อะไรประมาณนี้ ดูๆแล้วมันผิดสถานที่อะไรยังไงไม่รู้ บอกไม่ถูก

เด็กนักเรียนหญิงหลายๆคน พอขึ้น ม.2 ก็เริ่มออกอาการ ส่อแววอะไรหลายๆอย่าง เด็กนักเรียน ม.2 หลายๆคน ตอนอยู่ ม.1 ก็ยังเป็นเด็กใสๆ หน้าตาบ๊องแบ๊วไร้เดียงสา แต่อยู่ต่อมาขึ้น ม.2 เริ่มแต่งหน้าแต่งตาสะละ บางคนก็แต่งสะเข้มจนหน้าเปลี่ยนไปเลย ขอบตา ขอบคิ้วเนี๊ยะดำปึ๊ดเลย ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า เด็กๆนักเรียนพวกนี้เค๊าจะแต่งหน้าไปให้ใครดูอะไรกันมากมาย วันๆก็อยู่แต่ในห้องเรียน จะมีสักกี่คนที่เห็นเค๊ากันเชียว ไม่ได้ออกไปทำงาน เจอะเจอคนเยอะแยะมากมายอะไรสะหน่อย

โดยเฉพาะเด็กนักเรียนที่เริ่มจาก ม.2 ขึ้นไปนี่แหละ เริ่มออกอาการอยากจะโตเป็นสาวกันสะละ ซึ่งจริงๆแล้วเราก็คิดว่ามันยังไม่ถึงวัยอันควรเท่าไหร่ จะแต่งหน้าไปให้ใครดูก็ยังไม่รู้เลย เพราะจริงๆแล้วโรงเรียนมัธยมอยู่ที่ออสเตรเลีย ถ้าขนาดกลางๆก็ประมาณ 700 คน ซึ่งไม่ได้เยอะแยะอะไรมากมายเลย ถ้าเปรียบเทียบกับโรงเรียนที่เมืองไทย

และเด็ก ม.2 ก็ยังถือว่าเด็กเกิน ถ้าเด็กพวก senior class อย่าง ม.5 หรือ ม.6 เนี๊ยะ ยังพอรับได้อยู่ในระดับหนึ่ง แต่ยังไงเสียเด็กนักเรียนมัธยมก็ยังถือว่าเป็นเด็กอยู่ ถ้าโตแล้วเข้ามหาวิทยาลัย นั่นก็อีกเรื่องหนึ่ง

จะสังเกตุได้ว่า พอเด็กนักเรียนเริ่มแต่งหน้า นิสัยและพฤติกรรมอะไรหลายๆอย่างก็เริ่มเปลี่ยนไป ซึ่งก็จะเห็นได้ชัดมาก จะแตกต่างจากเด็กนักเรียนทั่วๆไปที่ไม่แต่งหน้า หรือนักเรียนที่แต่งหน้าแค่บางๆ เด็กนักเรียนพวกนี้จะเป็นเด็กเรียบๆธรรมดา ไม่หวือหวา ทำตัวเป็นเด็กนักเรียนทั่วๆไป คือ "มาเรียนหนังสือ" ไม่ได้ตั้งใจมาทำอะไรอย่างอื่น

และก็เนื่องด้วยสังคมและวัฒรธรรมฝรั่งด้วย สังคมฝรั่งจะให้อิสระแก่เด็กในการคิดและการกระทำ ดังนั้นเรื่องของการแต่งหน้ามาโรงเรียนก็เหมือนกัน ทางโรงเรียนก็ถือว่าให้อิสระแก่เด็กนักเรียน เพราะถือว่าไม่ได้ทำอะไรเสียหาย แต่เราเป็นครูคนเอเชีย บอกตามตรงเลยว่า บางทีทางโรงเรียนก็ให้อิสระกับนักเรียนมากจนเกินไป บางทีมันก็เกินขอบเขตของการเป็นนักเรียนไปนิดหนึ่ง เราก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า พ่อแม่เค๊าไม่ได้บอก ไม่สอนลูกในเรื่องของการแต่งกายหรือเปล่าไม่ทราบ เพราะอย่างที่บอกแหละ ก็ไม่รู้ว่าเด็กนักเรียนจะแต่งหน้าไปให้ใครดู หรือว่าเด็กๆนักเรียนกำลังค้นหาตัวเองหรือเปล่าก็ไม่รู้นะ แต่บอกตามตรงว่า ทุกอย่างน่าจะอยู่ในความพอดี เพราะเด็กนักเรียนบางคนบอกได้เลยว่า แต่งหน้าได้ "เกินขอบเขต" ของการเป็นนักเรียน..... มากเกินไป


Sunday, September 6, 2015

kiss kiss จูจุ๊บ


เป็นธรรมดาตามธรรมเนียมของฝรั่งอยู่แล้ว ที่เวลาเจอกันหรือแยกย้ายกันกลับบ้าน ถ้าเป็นเพื่อนผู้ชายเราอาจจะกอดหรือจับมือ shake hands กันตามธรรมดา แต่ถ้าเป็นเพื่อนผู้หญิงเราจะ kiss กันตรงแก้ม ซึ่งที่ออสเตรเลียก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว เราทำกันจนชิน ไม่มีเขินอาย

ที่โรงเรียนก็เหมือนกัน เด็กๆนักเรียน เพื่อนๆที่สนิทกัน ไม่ว่าเพศเดียวกันหรือต่างเพศ เรื่องกอดกันแบบ "เพื่อนๆ" หรือว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะบางทีเพื่อนก็กอดกันให้กำลังใจกัน หรือทักทายกันตามมารยาทและวัฒนธรรมของฝรั่ง ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร

แต่เด็กๆนักเรียนที่เป็นแฟนกันนี่สิ ลักษณะการกอดการเคล้าเคลียกันจะแตกต่างไปจากความเป็นเพื่อนทั่วๆไป โดยเฉพาะช่วงพัก break และช่วงพักเที่ยง เราเป็นครูเป็นอาจารย์หูตาก็ต้องว่องไว เพราะถ้าเห็นเด็กคู่ใหนที่เคล้าเคลียกันเกินความเป็นเพื่อนเราก็ต้องเดินไปแยกเด็กออก ปกติเราก็จะบอกให้เด็กห่างกันประมาณ 30 ซ.ม. ซึ่งฟังดูมันก็ขำๆดีนะ แต่ปกติแล้วเด็กนักเรียนจะรู้ว่าเค๊าจะกอดกันเคล้าเคลียกันเกินความเป็นเพื่อนไม่ได้อยู่แล้ว เราก็คอยบอกเด็กๆนักเรียนเสมอว่าถ้าตราบใดที่ยังอยู่ในเครื่องแบบนักเรียนก็จะเคล้าเคลียนัวเนียกันไม่ได้ แต่ถ้าอยู่ข้างนอกโรงเรียนและไม่อยู่ในเครื่องแบบนักเรียน อยากจะทำอะไรก็ทำได้เลย เพราะสังคมที่นี่อิสระกันอยู่แล้ว เรื่องกอดๆจูบๆเหรอ เรื่องปกติมากเลย แต่ถ้าทำอะไรกันอยู่ในโรงเรียน อยู่ในเครื่องแบบมันก็น่าเกลียด ครูอาจารย์ก็ต้องคอยสอดส่องดูแล

เด็กๆนักเรียนจะรู้กันอยู่แล้วว่า การจูบแก้มกันถือเป็นเรื่องปกติของวัฒนธรรมและธรรมเนียมฝรั่ง แต่จูบกันแบบคู่รัก แบบ lip to lip ไม่ได้ 

แต่ก็อย่างว่าแหละ เด็กๆนักเรียนที่เป็นแฟนกัน ก็มีแอบทำกันบ้าง เราเป็นครู ถ้าเราเห็นเราก็คอยห้ามปลามกันอยู่ตลอด แต่เด็กๆก็จะประมาณว่าตื่นเต้นได้แอบฝ่าฝืนกฏอะไรประมาณนี้ เพราะเด็กๆนักเรียนมัธยมอยู่ในช่วงที่อยากรู้อยากเห็น เด็กๆนักเรียนอยากลองนั่นลองนี่ไปหมด และการคบกันกับใครสักคนเป็นแฟนก็ถือว่าเป็นการ experiment อะไรอีกอย่างเช่นเดียวกัน

ช่วงนี้เราก็เห็นเด็กๆนักเรียนเริ่มโตเป็นหนุ่มสาวกัน นักเรียนบางคนเราก็เห็นตั้งแต่เป็นเด็กๆตัวกระจิ๋วตอน ม.2 ตอนนี้อยู่ ม.4 อ้าว มีความรักกันสะละ เราคงแก่แล้วสินะถ้างั้นก็...

ช่วงนี้เป็นอะไรไม่รู้ อาจจะเป็นฤดูใบไม้ผลิหรือเปล่าเนี๊ยะ ฤดูดอกไม้บาน เด็กๆมีความรักกันไปหมด ครูเผลอเมื่อไหร่นะก็พากัน kiss kiss จูจุ๊บ กันไปหมด คือเด็กๆนักเรียนจะชอบ"ลักไก่"กันว่างั้นเถอะ ทำกันตอนครูเผลอ มันคงจะตื่นเต้นหละนะ

อะ... ไม่ว่ากัน เอาแค่พอดีพองาม อย่าให้มากเลยเถิด

ที่โรงเรียนก็จะมีเด็กๆนักเรียนอยู่หลายคู่ที่พยายามลักไก่แบบนี้ แต่เด็กๆนักเรียนจะรู้ดีอยู่แล้วว่าเค๊าไม่ควรทำอะไรแบบนี้ kiss kiss จูจุ๊บ กันที่โรงเรียน ส่วนมากเวลาเราบอกเด็กๆนักเรียน เด็กๆนักเรียนก็จะชอบว่า "อาจารย์ค่ะ อย่าพูดต่อหน้าเพื่อนๆหนูสิ เดี๋ยวเพื่อนๆล้อแน่เลย" ไอ้เราก็ขำกลิ้ง นึกในใจว่าอะไรของพวกเธอเนี๊ยะ kiss kiss จูจุ๊บ ต่อหน้าเพื่อนๆหนะไม่อายหลอกนะ แต่พอครูเข้าไปบอก ทำเป็นอาย กลัวเพื่อนล้อ มีแปบนี้ด้วย

จะยังไงเสียเราก็คิดว่าครูที่เมืองไทยคงได้เจออะไรแบบนี้น้อย แบบ kiss kiss จูจุ๊บ กัน อะไรปรมาณนี้ เพราะคิดว่าจะยังไงเสียเด็กนักเรียนไทยที่เมืองไทย ถ้าคิดจะ kiss kiss จูจุ๊บ กันจริงๆก็คงจะแอบทำ หรือทำกันนอกโรงเรียน ไม่ได้ใจกล้าแบบเด็กนักเรียนฝรั่งที่นี่...

ในความรู้สึกส่วนตัวแล้วการที่เด็กๆนักเรียน kiss kiss จูจุ๊บ กันแบบ lip to lip ก็ไม่ได้ดูน่าเกลียดอะไร เพราะไม่ได้เป็นการจูบกันแบบ ลิ้นแลกลิ้น จูบกันแบบดูดดื่ม ถ้าจูบแบบนั้นมันแบบว่าจูบเพื่อที่จะมีอะไรกันแล้วหละ แบบนั้นหนะ รับไม่ได้แน่นอน เท่าที่ผ่านมาก็ยังไม่มีเหตุการณ์แบบนี้ และก็ขอให้เป็นแบบนั้นตลอดไปนะครับ

Note: รูปภาพทุกรูปที่ใช้ใน blog นี้ เป็น free images ไม่มี copyright นะครับ จาก Freeimages.com

Saturday, August 29, 2015

นักเรียนกระโปรงสั้น

ตามที่เคยเท้าความเอาไว้กับ blog post ก่อนๆว่าที่ออสเตรเลีย โรงเรียนและระบบการเรียนการสอนมี 3 ประเภทคือ

  • โรงเรียนรัฐบาล
  • โรงเรียน Catholic
  • โรงเรียนเอกชนอิสระ
ปกติแล้ว 99.99% โรงเรียน Catholic และโรงเรียนเอกชนจะเข้มงวดในเรื่องของเครื่องแบบของนักเรียนมาก เพราะโรงเรียนต้องการสร้างชื่อและรักษาชื่อเสียง และโรงเรียนเค๊าก็ไม่ได้ง้อนักเรียนด้วย เพราะคิวเด็กนักเรียนที่จะลงทะเบียนเรียนด้วยหนะมีเพียบเลย เด็กนักเรียนที่จะลงทะเบียนเรียนที่โรงเรียน Catholic และโรงเรียนเอกชนนั้นต้องเข้าคิวรอ ซึ่งแตกต่างจากโรงเรียนรัฐบาลมากที่เด็กคนใหนจะมาลงทะเบียนเรียน เราก็ต้องรับเอาไว้หมด ไม่มีคำว่าเต็ม เพราะมันเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องให้การศึกษาแก่เด็กทุกคน ไม่ว่าเค๊าจะจนหรือรวย เลวหรือดีขนาดใหนก็ต้องรับเอาไว้ก่อน จะไล่ออกหรือเปลี่ยนโรงเรียนค่อยว่ากันทีหลัง

เครื่องแบบนักเรียนของโรงเรียน Catholic และโรงเรียนเอกชนจะเนี๊ยบมาก เด็กผู้ชายต้องผูกเนคไท เด็กนักเรียนผู้หญิงกระโปรงก็ต้องยาวถึงตาตุ่ม ห้ามแต่งหน้า และถ้าคนใหนผมยาวก็ต้องมัดหรือรวบผมด้วย ถ้าเป็นฤดูหนาว ทั้งเด็กนักเรียนผู้ชายและผู้หญิง ก็ต้องใส่สูท ซึ่งจะคนละอารมณ์กับโรงเรียนรัฐบาลเลย

โรงเรียนรัฐบาล เราให้เด็กนักเรียนเรียนฟรีจนถึง ม.6 และเราก็ไม่ได้เข้มงวดเรื่องเครื่องแบบมากเหมือนโรงเรียน Catholic หรือโรงเรียนเอกชน เรื่องใส่สูทตอนฤดูหนาวเหรอ หมดสิทธิ์ครับ เด็กนักเรียนที่มาเรียนโรงเรียนรัฐบาลไม่ได้มีถานะดีเหมือนเด็กที่ไปโรงเรียน Catholic หรือโรงเรียนเอกชน เราก็จะมีแค่ jacket หรือเสื้อกันหนาวที่มีโลโก้ของโรงเรียนให้เด็กใส่เท่านั้น แค่นี้ก็ดูหรูแล้ว ส่วนพวกสูทอะไรที่เราเห็นกันตามข่าวต่างประเทศ หรือตามอินเตอร์เนทนั่นเหรอครับ จะเป็นสูทเอาไว้ให้เด็กยืมใส่เวลาออกงานสำคัญๆเท่านั้น สร้างฉากเฉยๆ

กระโปรงของเด็กนักเรียนผู้หญิงของโรงเรียนรัฐบาลก็จะเหนือเข่าบ้างเล็กน้อย แตกต่างจากโรงเรียน Catholic และโรงเรียนเอกชนที่กระโปรงของเด็กนักเรียนผู้หญิงจะต้องถึงตาตุ่ม คือแบบว่ามันต่างกันราวฟ้ากับดินเลยจริงๆ

ปัญหาที่เกิดตามมาก็คือ ปัญหาเด็กนักเรียนกระโปรงสั้น เนื่องด้วยเราเข้มงวดอะไรได้ไม่มากสำหรับโรงเรียนรัฐบาล เพราะกฏหมายความเท่าเทียมกันทางด้านการศึกษาได้บัญญัติเอาไว้ว่า ทุกคนจะต้องมีสิทธิ์เท่าเทียมกันทางด้านการศึกษา ไม่ว่าจะจนหรือรวย พิการหรือไม่พิการ กระโปรงสั้นหรือกระโปรงยาวเราไม่สน ขอให้เด็กมาเรียน มาได้รับความรู้จากการเรียนการสอน ซึ่งจริงมันก็ถูกของเค๊าแหละนะ แต่มันก็อดที่จะทำให้เสียบรรยากาศในโรงเรียนไม่ได้

ปัญหาเรื่องเด็กนักเรียนกระโปรงสั้น ไม่ได้มีแทบทุกคน คือถ้าทุกคนใส่กระโปรงแล้วเลยเข่าขึ้นมานิดหนึ่งตามที่โรงเรียนกำหนดนะ มันก็จะไม่มีปัญหาอะไรเพราะมันก็ไม่ได้น่าเกลียดอะไร แต่มันก็จะเริ่มมีปัญหาตรงที่ว่าเด็กมัธยมเริ่มที่จะเป็นวัยรุ่นกัน บางคนก็อยากจะตัว in trend กัน อยากทำตัวเท่ห์ เท่ห์แต่กินไม่ได้ คือพับหัวกระโปรงขึ้น คราวนี้หละ เดินกระโปรงกันสั้นจู๋เลยไปทั่วโรงเรียน

ส่วนไอ้เราจะไปบอกไปพูดอะไรมากก็ไม่ได้ เพราะอย่าลืมว่านี่คือเด็กนักเรียนฝรั่ง สังคมและวัฒนธรรมตะวันตก ถ้าเราไปบอกเด็กให้เค๊าพับหัวกระโปรงลงมาตามปกติเหรอ เด็กนักเรียนบางคนเค๊าไม่ได้สนใจอะไรเลย เดินยิ้ม ยืนหัวเราะแล้วก็เดินหนีเฉยไปก็มี คือเห็นแล้วก็เบื่อและเอือม

ยิ่งถ้าเป็นครูผู้ชายด้วยแล้วละก็ จะพูดจะจาอะไรไปก็ต้องยิ่งระมัดระวังเข้าไปใหญ่ เดี๋ยวเกิดการเข้าใจผิด โดนสอบวินัย พักการสอน นั่น นี่ โน่น อีก เรื่องเยอะครับ เรื่องเยอะ

สิ่งที่เราสามารถทำได้ก็คือ บอกอาจารย์ปกครองผู้หญิง ซึ่งทุกโรงเรียนจะมีอาจารย์ปกครองซึ่งจะดูแลเฉพาะเรื่องของเด็กผู้หญิงเท่านั้น ที่ออสเตรเลียเราเรียกว่า Girls Advisor เราก็จะบอกและก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของอาจารย์ที่เป็น Girls Advisor ไป

เด็กนักเรียนผู้หญิงบางคน พับหัวกระโปรงสั้นสะจน เวลาลมพัดก็ต้องรีบเอามือปิดกระโปรง เราก็คิดว่า เออ ถ้าพวกเค๊าไม่ใส่สะจนสั้นมากจนเกินไป เวลาลมพัดเค๊าก็คงไม่จำเป็นที่จะต้องเอามือมาปิดอะไร หรือบางทีเด็กนักเรียนกระโปรงสั้นพวกนี้ เวลาก้มลงหยิบอะไรเวลาเล่นกันนะ ไม่ได้ดูแลอะไรข้างล่างเลย เห็นแล้วก็เหนื่อยใจ

เราคงไม่มีรูปอะไรให้ดูนะครับ แต่ถ้าอยากรู้ว่าเด็กนักเรียนบางคนที่นี่เค๊าใส่กันสั้นขนาดใหน ก็ลองคิดถึงพวก "หมอลำซิ่ง" กันดูก็แล้วกันนะครับ คือสั้นกันอะไรประมาณนั้น

เราไม่ได้ลามกอะไรนะครับ เพียงแค่เล่าสู่กันฟัง เล่าถึงความแตกต่างระหว่างโรงเรียนและการเรียนการสอน ของที่ออสเตรเลียและที่เมืองไทย ก็แค่นั้นเอง...

Thursday, August 27, 2015

เด็กนักเรียนนิสัยเลว เรียกครูว่า bitch


อาทิตย์นี้มีเด็กนักเรียนชาย ม.2 เรียกอาจารย์รุ่นยาย รุ่นป้า ว่า bitch "แรด" เป็นเหตุการณ์ ที่แสดงออกถึงความเลว ไม่มีวัฒนธรรมและไม่เห็นหัวผู้หลักผู้ใหญ่ เพราะอาจารย์ผู้หญิงเอง อายุอานามแกก็ไม่ใช่อาจารย์เด็กๆรุ่นๆแล้ว คืออายุอาจารย์ท่านนี้ก็ประมาณว่ารุ่นยายแล้ว คิดว่าอาจารย์ท่านนี้อายุก็คง 60 กว่าๆแล้ว เพียงแต่แกยังไม่อยากเกษียณก็เท่านั้นเอง

เด็กนักเรียนฝรั่งที่นี่ เรื่องการเคารพผู้หลักผู้ใหญ่เหรอ มีน้อยมาก อย่าว่าแต่เรื่องเคารพครูเลย เคารพพ่อแม่เค๊าเองก็เถอะ 

เหตุการณ์ก็มีอยู่ว่า

เด็กนักเรียนชาย ม.2 ที่เรียนอยู่ห้องท้ายสุดคนหนึ่ง ซึ่งปกติก็จะเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าเด็กนักเรียนคนนี้ เป็นเด็กนักเรียนนิสัยเลวคนหนึ่ง เดินเข้ามาในห้องเรียน แล้วอาจารย์ผู้หญิงท่านนี้จะคุยด้วย เกี่ยวกับพฤติกรรมในห้องเรียนที่เกิดขึ้นเมื่อวันก่อน แล้วอาจารย์ก็จะให้บัตรเหลืองเพื่อจะคอยมอนิเตอร์ความประพฤติของการเรียนทุกคาบของเค๊า (บัตรเหลืองจะมีคะแนน 0-2, 0 คือความประพฤติแย่, 1 คือความประพฤติไม่ได้แย่มาก, 2 คือความประพฤติเป็นที่น่าพอใจสำหรับคาบนั้นๆ)

เด็กนักชายไม่ยอมรับบัตรเหลือง แล้วก็เดินออกไปจากห้อง ปิดประตูเสียงดังโครม ตามประสาเด็กนักเรียนนิสัยเลว สรุปคือไม่ได้ให้โอกาสครูในการพูดหรืออธิบายเลยว่าทำไมครูถึงจะให้บัตรเหลืองแก่เค๊า 

เด็กนักเรียนเดินหายไปเลย อาจารย์ผู้หญิงท่านนั้นมองหาเด็กนักเรียนไม่เจอ ไม่รู้ว่าเค๊าไปหลบอยู่ที่มุมตึกตรงใหน อาจารย์ก็ไม่ได้สนใจ เพราะอาจารย์ต้องกลับมาสอนเด็กนักเรียนที่ห้องต่อ

พอใกล้ๆเลิกคาบการเรียนก็มีเสียงดนตรีเสียงดังจากมือถือ ดังมาจากข้างนอกห้อง เด็กนักเรียนในห้องก็ตะโกนออกไปให้เด็กนักเรียนชายคนนั้นหลี่เสียงดนตรีลงหน่อย เด็กชายที่อยู่นอกห้องก็ตะโกนกลับมาว่า เค๊าเปิดดนตรีเสียงดังเพื่อที่จะกวนประสาทอาจารย์ผู้หญิงเท่านั้นเอง แล้วก็เรียกอาจารย์ผู้หญิงว่า "Fucking bitch she is"

สำหรับคนที่อยากเรียนภาษาอังกฤษด้วย คำที่เด็กนักเรียนชายคนนั้นพูดจริงๆก็คือ

"I only did it to piss her off. Fucking bitch she is"

ต้องขอโทษเรื่องความหยาบคายของภาษานะครับ เพราะเด็กนักเรียนนิสัยเลวจริงๆที่เรียกอาจารย์ผู้หญิงอย่างนี้ เหมือนไม่เคารพผู้หญิงซึ่งเป็นเพศแม่ ดังนั้นจึงไม่ขอเซ็นเซอร์ เพราะเวลาเกิดเหตุการณ์อะไรแบบนี้ที่โรงเรียน ครูจะทำการบันทึกทุกอย่าง คำต่อคำ ไม่มีการเซ็นเซอร์ เพราะ ผ.อ. และ รอง ผ.อ. เวลาอ่านเหตุการณ์ต่างๆในระบบคอมพิวเตอร์ ผอ และรอง ผอ จะได้เห็นภาพที่ชัดเจน จะได้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น และจะได้ติดตามเรียกเด็กมาคุย และลงโทษ ได้ถูกต้อง

ครู อาจารย์ที่เมืองไทย โชคดีนะครับ คงไม่ได้เจอเด็กนักเรียนนิสัยเลวอย่างนี้เด็กๆนักเรียนส่วนใหญ่จะให้ความเคารพ แตกต่างจากโรงเรียนที่นี่ เด็กนักเรียนฝรั่งจากห้องท้ายๆ พวกเด็ก bottom class เนี๊ยะ เจ้าปัญหาเลยแหละ เหมือนอย่างที่ได้อ่านๆกัน......

Wednesday, August 26, 2015

อัตราส่วนระหว่างครูกับนักเรียน


โรงเรียนมัธยมที่นี่ กฏหมายและสหภาพแรงงานครูกำหนดเอาไว้ว่า อัตราส่วนระหว่างครูกับนักเรียนต้องอยู่ที่ ครู 1 คน ห้ามมีเด็กนักเรียนเกิน 30 คนในห้อง ต่อให้โรงเรียนอยากจะลงทะเบียนเพิ่มเด็กเข้ามาแค่อีก 1 คนเป็น 31 คนต่อห้องนั้นก็ทำได้ยาก ยากเพราะที่เขียนไปแล้วคราวก่อนว่า สหภาพแรงงานครูที่นี่เข้มแข็งมาก ซึ่งบางทีก็เข้มแข็งมากจนเกินไป

ถ้าโรงเรียนจะลงทะเบียนเด็กเพิ่มมาอีกแค่ 1 คน ทางโรงเรียนก็จำเป็นที่จะต้องคุยกับสหภาพแรงงานครูก่อน ไม่งั้นก็จะเกิดเป็นเรื่องราวใหญ่โต เพราะทุกโรงเรียนจะมีครูประมาณ 90% เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานครู

จริงๆแล้วการมีอัตราส่วนระหว่างครูกับนักเรียนแบบนี้ก็ดีเหมือนกัน


1:30

นักเรียนไม่เยอะจนเกินไป ครูก็ได้จะสอนง่ายๆ สอนได้ทั่วถึง นี่ก็เป็นอีกสวัสดิการของครูที่นี่ที่สหภาพแรงงานได้ต่อสู้และเรียกร้องมา

เราจำได้ว่าตอนที่เราเรียนมัธยมอยู่ที่เมืองไทย ถ้าจำไม่ผิดนะ คิดว่ามีนักเรียนอยู่ประมาณ 50 คนต่อหนึ่งห้อง แต่เราก็เรียนกันมาได้ไม่มีปัญหาอะไร เพราะนักเรียนไทย คนไทย สังคมไทย เด็กๆนักเรียนจะเชื่อฟังครูอยู่แล้ว เรามีพื้นฐานเรื่องของการเคารพนับถือผู้ใหญ่ การเคารพครูเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว

ต่างจากเด็กนักเรียนฝรั่งที่นี่ เด็กนักเรียนที่นี่จะชอบพูด ชอบคุย ชอบแสดงความคิดเห็น ซึ่งจริงๆแล้วก็เป็นการดี เพราะนั่นเป็นการแสดงออกถึงความคิด ความเชื่อมั่นในตัวเองและอะไรอีกหลายๆอย่าง แต่บางทีเด็กนักเรียนฝรั่งเค๊าก็เป็นประเภทพวก เถียงคำไม่ตกฟากเหมือนกัน ซึ่งจะมีเยอะมาก และก็เป็นอะไรที่น่าเบื่อที่สุด เด็กนักเรียนห้อง top class เป็นเด็กเรียนเก่ง จะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องนี้ จะมีปัญหาก็เด็กนักเรียนที่อยู่ห้องท้ายๆนี่แหละ บางทีห้องท้ายๆเนี๊ยะ มีเด็กนักเรียน 30 คนก็ถือว่าเยอะเกินไปเสียด้วยซ้ำ เพราะถ้าเป็นเด็กดื้อนี่คือดื้อแบบสุดๆ

สำหรับเด็กนักเรียนห้องท้ายๆ ถ้าหากมีนักเรียน 30 คนต่อห้อง ปัญหามันเยอะมาก บางโรงเรียนก็จะแบ่งเด็กห้องท้ายๆ หรือ bottom class ออกเป็น 2 ห้อง คือมีเด็กนักเรียนอยู่แค่ 15 คนเอง เพราะถ้าเอาเด็กดื้อและเด็กเรียนไม่เก่งมารวมกัน 30 คนเนี๊ยะ ครูคงตายแน่ๆ

แต่โดยทั่วไปแล้วอัตราส่วนระหว่างครูกับนักเรียนที่นี่ก็จะเป็น 1:30 ซึ่งก็ยังไม่ถือว่าดีเท่าประเทศฟินแลนด์ เพราะที่ฟินแลนด์ อัตราส่วนระหว่างครูกับเด็กจะอยู่ที่ 1:15 และทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมาก

แต่ก็อย่างว่าแหละ การที่จะต้องจ้างครู 1 คนมาสอนเด็กนักเรียนแค่ 15 คนมันก็ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงเหมือนกัน

เป็นครูอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย ถ้าได้สอนห้อง senior class ม.5 - ม.6 ด้วยแล้ว ยิ่งสบาย เพราะเด็กนักเรียนที่อยู่เรียนต่อ ม.5 กับ ม.6 ส่วนมากจะเป็นเด็กดี เพราะถ้าเด็กไม่ดี ไม่ชอบการเรียน พอจบ ม.4 หรืออายุครบ 17 เค๊าก็เลิกเรียนกันแล้ว ดังนั้นเด็กนักเรียนที่อยู่เรียนต่อ ม.5 - ม.6 ก็จะเป็นเด็กที่อยากเรียนจริงๆ ซึ่งก็มีไม่มาก ยิ่งถ้าเป็นวิชาเลือกอย่างวิชาคอมพิวเตอร์ด้วยแล้ว ยิ่งมีนักเรียนเลือกน้อย เพราะเด็กนักเรียนบางคนกลัวว่าจะเรียนยากเกิน อย่างตอนนี้ที่สอน ม.5 - ม.6 ก็จะเด็กนักเรียนห้องละแค่ 7 คนเอง 

เด็กนักเรียนห้องละ 7 คน สอนสบายมาก ไม่เครียด เพราะเด็กนักเรียนก็จะโตๆกันแล้ว ไม่ใช่เด็กๆเหมือนพวกเด็ก ม.1 เป็นอะไรที่ชิวมากเลย มันทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ เพราะเราดูแลเด็กได้ทั่วถึง ตรวจงานเด็ก 7 คน แป๊บเดียวก็เสร็จแล้ว

เป็นอาจารย์สอนเด็กมาหลายปีแล้ว เห็นด้วยกับอัตราส่วนระหว่างครูกับนักเรียนที่นี่มากเลยครับ

Friday, August 21, 2015

สหภาพแรงงานครู


ที่ประเทศออสเตรเลีย แทบจะทุกสาขาอาชีพจะต้องมีสหภาพแรงงาน เพื่อที่จะดูแลสวัสดิการของพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชน หรือรัฐวิสาหกิจ พนักงานส่วนมากที่ออสเตรเลียก็จะเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานกัน ดังนั้นสหภาพแรงงานที่ประเทศออสเตรเลียจึงเข้มแข็งมาก บางทีก็เข้มเข็งจนเกินไป แต่เราก็คิดว่าประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนมากก็จะเป็นแบบนี้กันแทบทั้งหมด โดยเฉพาะประเทศในแถบตะวันตก

เนื่องด้วยสหภาพแรงงานที่เข้มแข็งดังนั้นประเทศในแถบตะวันตกจะไม่ค่อยมีการไล่พนักงานออกกันได้ง่ายๆ เราเคยสังเกตุใหมครับว่าพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของสายการบินที่เป็นของฝรั่ง จะมีแต่ใครแก่ๆ รุ่นป้าๆลูงๆ ทำงานกัน เพราะทางสายกินไม่สามารถโละพนักงานเหล่านั้นได้ง่ายๆ ในขณะที่สายการบินในแถบเอเชียเรา พนักงานบนเครื่องบิน จะมีแต่คนหนุ่มสาว หน้าตาจิ้มลิ้ม เพราะสหภาพแรงงานของประเทศในแถบเอเชียยังไม่เข้มแข็งพอ

แต่ด้วยความที่ว่าสหภาพแรงงานที่มันเข้มแข็ง บางทีมันก็เข้มแข็งเกิน อย่างเช่นครูเนี๊ยะ เราก็มีการกำหนดมาเลยว่าสอน fulltime ต้องสอนกี่ชั่วโมง กี่นาที ขนาดมีการเปลี่ยนแปลงเวลาที่ต้องดูแลเด็กตอนเที่ยง ปีที่แล้วที่โรงเรียนมีการทดลองเปลี่ยนแปลงเวลากันดู แล้วปรากฏว่าครูเวรต้องทำหน้าดูแลเด็กตอนเที่ยงเพิ่มขึ้นอีก 2 นาที

2 นาทีครับพ่อแม่พี่น้อง กะอีแค่ต้องทำงานเพิ่มขึ้นมาอีกแค่ 2 นาที ก็มีคนต่อต้าน ออกความคิดเห็นนั่น นี่ โน่น เราก็คิดว่า อะไรกันเนี๊ยะ กะอีแค่ทำงานเพิ่มขึ้นแค่ 2 นาทีเนี๊ยะ มันคงไม่ตายหรอกมั๊ง ไม่ใช่ว่าเราจะต้องเป็นครูเวรตอนเที่ยงสะทุกวันสะเมื่อไหร่ อาทิตย์หนึ่ง คงได้เป็นครูเวรแค่ประมาณ 2 ครั้งเองหละมั๊ง

ด้วยความที่ว่าสหภาพแรงงานที่มันเข้มแข็งเกิน บางทีมันก็ดูไร้สาระ พวกที่บ้าเรื่องสวัสดิการของตัวเอง บางทีก็ลืมนึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวม ผลประโยชน์ของนักเรียน

อยู่ที่ออสเตรเลีย แทบไม่มีการอบรมกันช่วงเสาร์-อาทิตย์เลย เพราะสหภาพแรงงานครูถือว่าเป็นวันหยุดพักผ่อน การอบรมอะไรส่วนมาก ก็มีกันแค่ จันทร์-ศุกร์ พวกเสาร์-อาทิตย์จะมีน้อยมาก ซึ่งก็แล้วแต่มุมมองนะครับ บางคนก็บอกว่าดี เพราะเค๊าจะได้อยู่กับครอบครัวช่วงเสาร์-อาทิตย์ แต่บางคนก็บอกว่าไม่เป็นไร เค๊าอยากมีการอบรมช่วงเสาร์-อาทิตย์บ้าง เพราะว่าจันทร์-ศุกร์ จะได้ไม่ขาดสอน การเรียนการสอนจะได้ต่อเนื่อง ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วเราก็ชอบแบบหลังมากกว่าคือ เราอยากจะอยู่สอนเด็กนักเรียนมากกว่า จันทร์-ศุกร์ เพราะถ้าเราไม่อยู่ ไปอบรมหรือว่าอะไร ครูมาสอนแทนส่วนมากก็สอนไปงั้นๆแหละ คิดว่าสู้เราสอนเองไม่ได้ เพราะมันเป็นวิชาของเราเด็กนักเรียนของเรา เราจะรู้ลักษณะการเรียนรู้ของเด็กในวิชาของเราได้ดีกว่า

เนื่องด้วยสหภาพแรงงานที่มันเข้มแข็ง บางทีเรื่องเล็กๆน้อยๆจุกๆจิกๆมันก็เลยกลายเป็นเรื่องไร้สาระ เราก็เลยตัดสินใจไม่เป็นสมาชิกของกลุ่มสหภาพแรงงานมาได้ 2 ปีแล้ว เพราะสมาชิกเองก็ต้องจ่ายเงินค่าสมาชิกทุกปี เสียเงินเปล่าๆ เพราะบางทีสหภาพแรงงานที่มันเข้มแข็งเกิน เข้มแข็งจนบางทีนายจ้าง (รัฐบาล กระทรวงการศึกษา) เองทำอะไรแทบจะไม่ได้ รัฐบาลจะแตะจะต้องอะไร สหภาพแรงงานก็จะมีประท้วง หยุดสอนอะไรประมาณนี้

สหภาพแรงงานที่เข้มแข็ง บางทีมันก็ทำให้เราลืมไปว่าสรุปแล้วหน้าที่จริงๆของเราคืออะไร มาสอนเด็กนักเรียน หรือว่ามาตักตวงเอาแต่ผลประโยชน์และสวัสดิการของตัวเอง จนลืมสวัสดิการของเด็กนักเรียน

เมื่อเราไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานครูแล้ว รู้สึกว่ามันโล่งๆโปร่งขึ้น เพราะเรารู้ดีว่า ณ ตอนนี้เราทำอะไรอยู่