Pages

Friday, October 30, 2015

Inner circle ความสนิทสนมของผู้บริหาร หรือเพื่อนร่วมงาน


โรงเรียนมัธยมที่ออสเตรเลียส่วนใหญ่ ตำแหน่งผู้บริหารสูงๆ ไม่ว่าจะเป็น ผ.อ. หรือรองผ.อ. คนที่ทำงานตำแหน่งสูงๆ เราจะสังเกตุได้ว่าพวกเค๊าเหล่านั้นจะมีความสนิทสนมกันในระดับหนึ่ง ซึ่งเราก็เข้าใจเพราะผู้บริหารเหล่านั้นเค๊าต้องทำงานด้วยกัน ประสานงานกันตลอดเวลาอยู่แล้ว แต่บางทีมันก็มีผลประโยชน์ทางหน้าที่การงานเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน แต่ก็บอกได้เลยว่า ระบบข้าราชการที่นี่แทบจะไม่มีใต้โต๊ะเหมือนเมืองไทย หรือมีก็มีน้อย 0.001% ทุกคนไม่กล้าทำอะไรกันใต้โต๊ะเพราะต่างก็กลัวว่าจะถูกร้องเรียนกัน เกิดอะไรขึ้นมา ได้ไม่คุ้มเสีย

แต่ความสนิทสนมเนี๊ยะมันก็อาจมีการเอื้ออำนายในตำแหน่งงานบ้างเล็กน้อย โดยเฉพาะตำแหน่งงานภายใน หรือที่เราเรียกกันว่า internal position 

โดยปกติแล้วที่รัฐ NSW โรงเรียนทุกโรงเรียนถ้าต้องการโฆษณาตำแหน่งงานอะไรต่างๆ โรงเรียนจะต้องแจ้งไปที่กระทรวงการศึกษาแล้วทางกระทรวงจะลงโฆษณาทุกวันพุธที่ website ของรัฐบาล แต่ละตำแหน่งก็จะทำการโฆษณาอยู่แค่ 2 อาทิตย์เท่านั้น นี่คือกฏระเบียบของกระทรวงการศึกษาที่รัฐ NSW โดยเฉพาะตำแหน่งงานประจำ-ถาวร full-time permanent เพื่อความเป็นธรรมกับทุกคนที่จะสมัคร ทางโรงเรียนจะโฆษณาอะไรเองไม่ได้ ทุกอย่างต้องการผ่านกระทรวงกลางหมดเลย

แต่ตำแหน่งงานชั่วคราวหรือตำแหน่งงานภายใน (internal position) ส่วนมากแล้วทางโรงเรียนจะไม่มีการประกาศลงโฆษณากับ website ของกระทรวงการศึกษา ถ้าหากมีตำแหน่งงานภายใน ทางผู้บริหารก็จะประกาศในที่ประชุมหรือไม่ก็ email แล้วบอกทุกคนว่าถ้าใครอยากสมัครก็ให้ติดต่อผู้บริหาร ถ้าหากมีคนสนใจตำแหน่งงานมากกาว่า 1 คน ทางโรงเรียนและผู้บริหารก็จะทำการสัมภาษณ์ แต่ถ้ามีคนสมัครแค่คนเดียว คนๆนั้นก็ได้ตำแหน่งไปเลย ปกติตำแหน่งชั่วคราวก็จะมีระยะการทำงานตั้งแต่ 1 อาทิตย์ ไปจนถึง 1 เทอม การที่ทางโรงเรียนจัดการและจัดสรรกันเองตำแหน่งงานและงบประมาณแบบนี้ ที่รัฐ NSW เราเรียกว่า local school local decision ซึ่งแต่ละรัฐจะมีระเบียบการไม่เหมือนกัน local school local decision ซึ่งก็คือประมาณว่าแล้วแต่ผู้บริหารจะจัดสรร ดังนั้นถ้าบางทีทางโรงเรียนมีตำแหน่งงานชั่วคราวอะไรที่มันว่างขึ้นมา ต่อให้ว่างแค่ 1 หรือ 2 อาทิตย์ บางทีรายได้ก็จะต่างกันลิบลับ เพราะว่าตำแหน่งงานและก็ความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน

อย่างเช่นตำแหน่งงานหัวหน้าภาควิชา ถ้าได้ไปทำงานในตำแหน่งรอง ผ.อ. แค่ 1-2 อาทิตย์ เค๊าก็จะได้เงินขึ้นมากขึ้นอีกหลายเท่าตัวเลยทีเดียว

บางคนอาจจะสงสัยว่าทำไมคนจะได้มาทำงานตำแหน่งชั่วคราวแค่ 1-2 อาทิตย์ ทำได้ครับเพราะถ้าบางทีคนที่ทำหน้าที่หรือตำแหน่งนั้นๆลา หรือไปอบรมอะไรบางอย่างสั้นแค่ 1-2 อาทิตย์ หรือแค่ 1-2 วันเองก็เถอะ

อยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย ไม่มีการทำงานฟรีๆ ต่อให้เราทำงานในตำแหน่งที่สูงกว่าตำแหน่งปัจจุบันแค่วันเดียว วันนั้นที่เรารับหน้าที่ในตำแหน่งที่สูงกว่า ถึงแม้ว่าจะชั่วคราว ถึงแม้ว่าจะแค่วันเดียว เราก็จะได้รับค่าแรงในตำแหน่งที่สูงกว่า ในวันนั้น ต่อให้ทำแค่วันเดียวก็เถอะ 

ระบบราชการที่นี่ก็ดีตรงเรื่องจ่ายตังค์นี่แหละ งบประมาณของรัฐบาลที่ออสเตรเลียจะสูงกว่าที่ไทยก็ตรงนี้แหละ ดังนั้นก็ไม่เป็นการแปลกที่ผู้บริหารเองจะหาเหตุผลอะไรมาสนับสนุนคนที่เค๊าอยากให้รับตำแหน่ง คนที่เค๊าสนิท ถึงแม้ว่ามันจะเป็นตำแหน่งแค่ชั่วคราว แต่ถ้าใครได้ทำงานพวกตำแหน่งชั่วคราวพวกนี้บ่อบๆ มันก็เป็นการปลูทางเพื่อไต่เต้าไปทำงานในตำแหน่งที่สูงขึ้นไป เพราะเค๊าก็สามารถเขียนในใบประวัติการทำงานว่าเออเนี๊ยะ เค๊าเคยทำงานในตำแหน่งนี้บ่อยๆนะ ในระหว่างที่ผู้บริหารคนนั้นไม่อยู่ อะไรประมาณนี้

ดังนั้นไม่เป็นการแปลกครับ ว่าเรื่องของความสนิทสนมจะมีการเอื้ออำนวยผลประโยชน์ในตำแหน่งงาน ไม่ว่าองกรนั้นจะเป็นองกรของรัฐหรือเอกชน ไม่ว่าจะอยู่ที่ประเทศใหนๆ แทบจะไม่แตกต่างกันเลย ถ้าเราสังเกตุว่าผู้บริหารคนใหน เดินไปใหนมาใหนด้วยกันบ่อยๆ เราก็พอจะเอาได้ว่า ตำแหน่งงานอะไรจะตกไปอยู่ที่ใคร...

สังเกตุมาแล้วหลายโรงเรียน

Friday, October 23, 2015

ครู ขาด ลา หยุด กันบ่อยเหลือเกิน


เนื่องด้วยสหภาพแรงงานของครูที่ประเทศออสเตรเลียที่เข้มแข็งที่เราได้เคยเขียนเอาไว้คราวก่อน การที่ครูที่ออสเตรเลียจะขาด จะลา จะหยุดก็ถือเป็นเรื่องปกติ ปวดหัวนิดหน่อย ติดธุระนั่น นี่ โน่น ก็ลาสะละ ที่โรงเรียนรัฐบาลก็จะมีครูลาครูขาดกันแทบทุกวัน ผลัดกันลา ผลัดกันขาดอยู่นั่นแหละ หรือไม่ก็มีงานอบรบ นั่น นี่ โน่น ที่ครูต้องไป เพราะครูที่ออสเตรเลียจะไม่ชอบอบรมอะไรเสาร์-อาทิตย์กัน น้อยนักที่จะมีวันใหนที่มีครูมาสอนที่โรงเรียนครบทุกคน แล้วเวลาที่ครูขาดหรือหายไปแบบนี้ ทางโรงเรียนก็ต้องเรียกครูชั่วคราว (casual teacher) เข้ามาสอนแทน ซึ่งครูชั่วคราวเหล่านี้ก็ไม่ได้สอนอะไรมากมาย เพราะเราเองก็เคยเป็นครูสอนชั่วคราวแบบสอนรายวันมาก่อน ครูที่มาสอนแทนก็จะแบบว่าเข้ามาดูแลเด็กก็แค่นั้นเอง เนื้อหาอะไรก็ไม่ค่อยได้สอนกันเท่าไหร่ เพราะปกติแล้วครูที่สอนชั่วคราวแบบรายวันก็จะแค่แจกๆ sheet ที่ครูประจำชั้นทำเตรียมเอาไว้ให้ ก็แค่นั้นเอง

การที่ครูขาด หรือหายไปแบบนี้ เราคิดว่ามันมีผลต่อการเรียนของเด็กนักเรียน เพราะการเรียนการสอนจะไม่ต่อเนื่อง เพราะครูที่มาสอนแทนก็ไม่ได้สอนอะไรมากมาย มานั่งคุมๆเด็กและก็รอโรงเรียนเลิก ก็แค่นั้นเอง เป็นการสูญเปล่าของเวลา

ครูฝรั่งที่นี่ เอ๊ะอะอะไร สวัสดิการของเค๊าต้องมาก่อน จนบางทีก็ลืมนึกถึงไปว่า สรุปแล้วหน้าที่จริงๆของเค๊าคืออะไร

คนเราจะขาด จะลา จะป่วย เป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะเรื่องเจ็บไข้ได้ป่วยเนี๊ยะ มันห้ามกันไม่ได้จริงๆ แต่ไอ้พวกที่ป่วยการเมืองนี่สิ ช่างเป็นเสนียดจัญไรของสังคมเลยจริงๆนะ มีครูหลายคนชอบสบาย มาชิวๆ สอนเช้าชามเย็นชาม รอแต่จะลา นั่น นี่ โน่น ใช้สวัสดิการของตัวเองให้ถึงที่สุด และคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือนักเรียน

เรานะกว่าจะขาด กว่าจะลา เราต้องคิดแล้วคิดอีก คิดว่าห้องใหนชั้นใหนมั่งที่จะต้องขาดเราไปในวันนั้นๆ คาบเรียนนั้นๆ เราไม่ได้ยกยอปอปั้นว่าตัวเองเก่งเลิศอะไร แต่ก็คิดว่าหัวใจ หน้าที่และความรับผิดชอบของความเป็นครูยังคงพอมี ถึงแม้ว่าเราจะเป็นครูมือใหม่ และก็ไม่ได้ตั้งใจที่จะมาเป็นครูอะไรมากมายก็ตามเถอะ เราคิดว่าเราคิดถึงสวัสดิการและการเรียนรู้ของเด็กนักเรียนมากกว่าครูหรืออาจารย์หลายๆคนที่ทำงานมานานมากกว่าเรา

เราก็เข้าใจนะว่าครูเองก็ต้องมีสวัสดิการของครูด้วย เพราะคนเราก็ไม่ใช่หุ่นยนต์หรือเครื่องจักรเครื่องกลอะไร จะขาด จะลา อะไรมันก็ทำกันได้ แต่ทุกอย่างก็ควรมีขอบเขต ดำเนินไปด้วยความพอดี เดินทางสายกลาง ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป ถ้าทำได้อย่างนั้นเราก็คิดว่า การเรียนการสอนที่โรงเรียนก็จะไม่มีผลกระทบมาก เป็นอะไรที่ win-win ด้วยกันทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นเด็กนักเรียน ครู และก็โรงเรียนเองด้วยก็เถอะ

เรารู้และก็เชื่อมั่นว่าครูดีๆมีเยอะอยู่ถมไป แต่ครูจัญไรที่คอยเอาเปรียบสังคมก็มีเช่นกัน ออสเตรเลียเองก็เถอะ เมืองนอกก็เถอะ ฝรั่งก็เถอะ ไม่ได้เลิศหรูอะไรไปกว่าเมืองไทยเราหรอก

นิสัยมนุษย์เนี๊ยะ มันช่างไม่แบ่งชนชาติเลยจริงๆนะ...

Sunday, October 11, 2015

ไม่อ้วนเอาเท่าไหร่


ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาประเทศสหรัฐอเมริกากับประเทศออสเตรเลียผลัดกันขึ้นครองอันหนึ่งของประเทศที่มีประชากรอ้วนมากที่สุดในโลก รู้สึกว่าปีที่แล้วออสเตรเลียมีประชากรเกือบ 50% ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานและรัฐบาลเองก็มีการออกมารณรงค์ให้ประชากรที่ออสเตรเลียให้มีการ active กันมากกว่านี้ ไม่ใช่วันๆมัวแต่นั่งดูทีวี ร่างกายไม่มี movement อะไรเลย

คนเราจะอ้วนหรือไม่อ้วนนะ มันเริ่มมาจากครอบครัว การเลี้ยงดูและก็การศึกษา เราเป็นอาจารย์ที่โรงเรียน แต่ห้ามพูดคำว่า "Fat" หรือบอกเด็กนักเรียนว่า "You are fat" เพราะว่าจะทำให้เด็กขาดความมั่นใจ และระบบการศึกษาที่ออสเตรเลียก็คือ... You จะเป็นใครก็ตาม ทุกคนมีสิทธิทางการศึกษาเท่าเทียมกัน ไม่ว่า you จะอ้วน จะผอม จะรวย จะจน จะเป็นเกย์ เป็นเลสเบี้ยน หรือแต่งตัวได้แปลกประหลาดมหัศจรรย์ได้มากน้อยแค่ใหน ทุกคนก็มีสิทธิทางการศึกษาเท่าเทียมกัน ซึ่งจริงๆเราก็คิดว่าดีในส่วนนี้ เพราะถือว่าเป็นหลักสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นที่ต้องเข้าถึงการศึกษา

สรุปคือ.... ครูหรืออาจารย์ไม่มีสิทธิ์ไปวิจารณ์รูปลักษณ์อะไรต่างๆของเด็กนักเรียน คือประมาณว่าเด็กนักเรียนอยากทำอะไร อยากเป็นอะไร ใฝ่ฝันเรื่องใหนเราต้องสนับสนุนเค๊า ช่วยคอยชี้แนะแนวทาง แต่ไม่บังคับ

แต่ในขณะเดียวกัน การที่ครูหรืออาจารย์ไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์เด็กอะไรมาก นอกจากเนื้อหาที่เรียนในห้องเรียน มันก็เลยกลายเป็นว่าเด็กนักเรียนบางคนก็จะอยู่ใน dreamland ที่คิดว่าตัวเองถูกต้องเสมอ ทำอะไรไม่ค่อยสนใจใคร จะอ้วนจะผอมฉันไม่เกี่ยว ก็ฉันจะเป็นแบบนี้ ฉันจะกินแบบนี้ อะไรประมาณนี้

อะ... กลับเข้ามาเรื่องอ้วนๆของเราต่อดีกว่า 

เด็กนักเรียนที่นี่ บอกได้เลยว่าอ้วนมากกว่าเด็กนักเรียนที่เมืองไทยเยอะเลย เนื่องด้วยที่อาจารย์ไม่มีสิทธิ์ที่จะพูดอะไรมากในเรื่องของน้ำหนัก เราก็จะปล่อยเรื่องนี้ให้เป็นหน้าที่ของอาจารย์ที่สอนวิชาพละ พอไม่มีคนที่โรงเรียนพูดเรื่องน้ำหนัก เด็กนักเรียนก็จะไม่ค่อยรู้ตัว ว่าตัวเองอ้วน คือเราเห็นแล้วก็อึดอัดแทนเพราะเรารู้ว่าถ้าเป็นที่เมืองไทยนะ ครูหรืออาจารย์มีสิทธิ์ที่จะบอกเรื่องแบบนี้กับเด็กนักเรียนได้ ซึ่งเด็กนักเรียนก็คงเข้าใจอยู่แล้วว่าครูหวังดี ไม่ได้พูดจาล้อเล่นสนุกๆในเรื่องรูปร่างหรือน้ำหนักของเด็กนักเรียน

พอเด็กนักเรียนที่อ้วนมากๆ ปัญหาที่ตามมาก็คือไม่มีชุดนักเรียนที่สามารถใส่ได้เพราะต้องสั่ง size พิเศษ สุดท้ายก็แต่งตัวซกม๊กมาโรงเรียนกัน อีกแหละ เห็นแล้วก็ยิ่งขวางหูขวางตาเข้าไปกันใหญ่ รู้สึกว่าอะไรต่อมิอะไรมันจะเป็น domino effect กันไปหมด มีการเชื่อมโยงกันไปหมด

ปัญหาเด็กนักเรียนอ้วน สามารถแก้ไขได้ถ้ารัฐบาลไม่ปิดกั้น และปิดปากครูหรืออาจารย์ที่โรงเรียนมากจนเกินไป เราเชื่อว่าอาจารย์มีจรรญญาบรรณพอและก็มีทักษะในการพูดกับเด็กนักเรียน เรารู้ว่าจะต้องพูดอะไรยังไงกับเด็กนักเรียน เรารู้วิธิการเอาน้ำเย็นเข้าลูบ เรารู้วิธีการพูดแบบบัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น

แต่.... ทุกวันนี้ครูอาจารย์ไม่กล้าพูด เพราะเราถูกห้ามไม่ให้ในพูดเรื่องแบบนี้ ก็ได้แต่หวังว่านโยบายทางการศึกษาของออสเตรเลียจะมีการเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย... เพราะเห็นลักษณะการกินของเด็กนักเรียนแล้ว ไม่แปลกใจเลยที่เด็กๆนักเรียนที่นี่อ้วนกันเยอะ แค่เราได้ยินเด็กนักเรียนพูดกันเรื่องอาหารในห้อง อาหารแต่ละอย่างที่เค๊าพูดถึงจะเป็นพวก fast food, พวก junk food และก็จะเป็นพวกของทอดกันทั้งนั้นเลย ไม่ค่อยจะมีอะไรที่ healthy สักเท่าไหร่ จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมเด็กนักเรียนที่ออสเตรเลียถึงได้อ้วนกันมากนัก

Sunday, October 4, 2015

office politic เหรอ เรื่องปกติที่โรงเรียน


องค์กรแทบทุกองค์กรจะมีความขัดแย้งกันในกลุ่มของเพื่อนร่วมงาน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน เราสามารถพูดได้เพราะเราเคยทำงานมาแล้วทั้งภาครัฐและเอกชน โรงเรียนที่ออสเตรเลียก็เช่นเดียวกัน ยิ่งถ้าเป็นโรงเรียนมัธยมด้วยแล้วหละก็ ไม่ต้องพูดถึงเลยครับ เพราะโรงเรียนมัธยมส่วนมาก 99.99% แต่ละภาควิชาจะมี office หรือห้องพักอาจารย์ของแต่ละภาควิชาซึ่งจะแตกต่างไปจากโรงเรียนประถมที่จะเป็นห้องรวม ดังนั้นอาจารย์ที่สอนที่โรงเรียนมัธยมก็จะมีโอกาสน้อยที่จะได้เจอหรือพูดคุยกับเพื่อนอาจารย์จากภาควิชาอื่น 

ก็อาจจะมีบ้างที่อาจารย์ที่อยู่ต่างภาควิชาจะเห็นหน้าตาหรือรู้จักอาจารย์จากภาควิชาอื่นๆ แต่ส่วนมากก็จะรู้จักกันแค่ผิวเผิน อาจจะไม่ได้สนิทอะไรมากมาย พอคนเรามันไม่สนิทกัน บางทีทำงานด้วยกัน ความคิดเห็นอะไรก็อาจจะขัดๆกันบ้างเป็นบางอารมณ์ ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติของแทบทุกองค์กรอยู่แล้ว

แต่อยากขอบอกได้เลยว่า อาจารย์บางคนที่นี่ คำพูดคำจาเนี๊ยะปากคอเราะร้ายมาก เวลาเราพูดจากับเด็กเราก็ต้อง นะ แบบว่า ไม่มีคำหยาบ แต่ถ้าเราได้ยินอาจารย์พูดกับอาจารย์ด้วยกันเองหละก็... 

รู้แล้วจะหนาว!!!

อาจารย์บางคนที่ไม่ชอบขี้หน้าอาจารย์อีกคนหละก็ ถ้าเค๊าเดินหันหลังให้หน่อยเถอะ 

He is such a dickhead.
She is fucking bitch.
**ไม่ขอเซ็นเซอร์นะครับ

เนี๊ยะ ได้ยินกันบ่อยๆ และจะสังเกตุได้ว่าคำพวกนี้จะได้ยินจากอาจารย์ที่สอนมานานแล้ว คืออาจารย์เก่าแก่ ประมาณว่า สอนมานานแล้ว เก๋ามาก ว่างั้นเถอะ ส่วนมากครูรุ่นใหม่เราจะไม่ค่อยใช้คำพูดแบบนี้กัน คือเราเด็กใหม่ก็ต้องเจียมเนื้อเจียมตัวกัน

เรื่องของอาจารย์เกลียดขี้หน้ากัน เรื่องของ office politic จะมีอยู่แทบทุกโรงเรียน ส่วนมากแล้วครูที่เป็นอาจารย์สอนประจำชั้นหรือ classroom teacher เราจะไม่ค่อยวุ่นวายเรื่องของ office politic กันเท่าไหร่ เพราะหน้าที่เราก็มีแค่สอนหนังสือ แต่พวกอาจารย์หัวหน้าประจำภาคที่เค๊าต้องทำงานบริหารด้วย อาจารย์พวกนี้จะต้องมีการประสานงานกันกับแทบทุกภาควิชา ถ้าอาจารย์หัวหน้าภาคท่านใหนชอบพอกัน สนิทกัน งานก็ออกมาราบรื่น แต่ถ้าหัวหน้าภาคคนใหนไม่ชอบขี้หน้ากันละก็ back stabbing หรือไม่ก็เลื่อยขาเก้าอี้กันอยู่นั่นแหละ

เราจำได้ว่า ปีแรกของการสอน ที่ได้สอนเป็น contract ยาวๆอยู่ 2 เทอม หัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์เป็นอาจารย์ผู้หญิงที่ปากตรงกับใจมาก ถ้าชอบก็บอกว่าชอบ ถ้าไม่ชอบก็จะแบบว่าโดนเต็มๆเลย แต่จะโดนลับหลังนะ

เนื่องด้วยอาจารย์หัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์ เป็นที่รู้กันว่าเค๊าไม่ค่อยจะลงรอยกับรอง ผ.อ. ที่เป็นผู้หญิงด้วยกัน (โรงเรียนนั้นมีรอง ผ.อ. 2 คน) และหัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์เค๊าเป็นคงที่ตรงไปตรงมา เวลาเค๊าพูดกับอาจารย์คนใหนนะ ถ้าเค๊าได้เอ่ยถึง รอง ผ.อ. ที่เป็นผู้หญิงคนนั้นหละก็ แทบจะทุกครั้งเลยว่า เค๊าจะต้องเรียกรอง ผ.อ. คนนั้นว่า She is fucking bitch. ไม่ประโยคแรกก็ประโยคสุดท้าย

มันแทบจะกลายเป็นประโยค trademark ของหัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์ ทุกครั้งที่เค๊าเอ่ยถึงรอง ผ.อ. ผู้หญิงคนนั้น

คนเราก็แปลกนะ ถ้ามันไม่ได้ชอบขี้หน้ากันแล้วละก็ ต่อให้ทำยังไงมันก็แก้ไม่ได้ แต่ก็นั่นแหละ office politic ที่โรงเรียนมันก็ทำให้ชีวิตการสอนเรามีสีสันขึ้นมานิดหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าอาจารย์ที่ประเทศออสเตรเลียต้องเป็นแบบนั้นกันทุกคนเสมอไปนะครับ นี่ก็เป็นแค่ประสบการณ์ที่เราได้เจอมา ก็แค่นั้นเอง ก็แค่ไม่อยากให้ทุกคนแบบว่า มองอะไรก็ "โลกสวย" ไปหมดสะทุกอย่าง

ก็ลองเอาไปเปรียบเทียบกันดูนะครับว่า office politic ที่ออสเตรเลียจะเหมือนกับที่เมืองไทยหรือเปล่า...