Pages

Friday, April 6, 2018

ชีวิตอาจารย์สอนชั่วคราว; contract teacher หรือ casual teacher ท่านหนึ่ง

เทอมนี้อาจารย์ผู้หญิงสอนวิชาคณิตศาสตร์ 1 ท่านได้ทำการลาคลอด 1 เทอม

เทอมนี้ที่ภาควิชาของเรา ภาควิชาคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ ก็เลยมีอาจารย์สอนชั่วคราวที่เป็น contract teacher หรือ casual teacher มาสอนแทน 1 คน เป็นเวลา 1 เทอม

อาจารย์ที่เป็น contract teacher ท่านนี้มีอายุมากแล้ว
จากการคาดเดาเราคิดว่าอายุเขาน่าจะอยู่ในช่วง 65 ถึง 70 ปี

จากการพูดคุยเราก็รู้ว่าอาจารย์ที่เป็น contract teacher เขาเคยเป็นอาจารย์ข้าราชการประจำมาเป็นเวลา 22 ปี ก่อนที่จะเกษียณ

และก่อนที่จะเกษียณ อาจารย์ที่เป็น contract teacher ท่านนี้ก็ได้ทำงานในตำแหน่งหัวหน้าภาคด้วย (Head Teacher) ซึ่งถือว่าเป็นตำแหน่งที่สูงมาก ความฝันของอาจารย์ได้หลายคนคือการเป็นหัวหน้าภาค (ยกเว้นเรา)

เราก็เลยสงสัยว่าคนที่เขาอายุขนาดนี้แล้วทำไมเขาจะต้องกลับมาเป็นอาจารย์สอนด้วยนะ เป็นอาจารย์สอนชั่วคราวตามโรงเรียนนั้นที่โรงเรียนนี้ที

และเราก็สงสัยว่า ก็ในเมื่อเขาทำงานในตำแหน่งหัวหน้าภาค ทำไมถึงเกษียณตัวเองหรอ เพราะว่าเงินเดือนของอาจารย์ที่ทำงานเป็นหัวหน้าภาค เงินเดือนก็สูงมากกว่าเป็นอาจารย์สอนทั่วๆไป (classroom teacher)

เขาก็เลยบอกเราว่า ตอนที่เข้าทำงานในตำแหน่งหัวหน้าภาค งานเขาหนักมาก เครียด ก็เลยตัดสินใจลาออกหรือเกษียณตัวเอง เพราะเขาคำนวณแล้วว่าเงินเกษียณอายุที่เขาสะสมมาน่าจะพอในการใช้จ่าย

เงินเกษียณอายุที่ประเทศออสเตรเลียเราเรียกว่า superannuation นะครับ คือเงินสะสมที่เราได้รับจากนายจ้าง และก็สามารถถอนออกมาใช้ได้ตอนที่เราอายุ 60 ปี หรือ 65 ปีขึ้นไป

กฎในการถอนเงินเกษียณ (superannuation) ออกมาใช้ตอนอายุ 60 ปี แตกต่างกันกับตอนที่ถอนเงินออกมาใช้ตอนอายุ 65 ปี

ทีแรกเขาก็คิดว่าเงินที่เขาสะสมเอาไว้ใช้ตอนเกษียณมันน่าจะพอ แต่สรุปแล้วมันก็ไม่พอใช้ เพราะเขาก็มีลูกชาย 2 คน อายุ 11 ปีแล้วก็อายุ 13 ปี เราเองก็ไม่กล้าถามว่าทำไมลูกอายุยังเด็กจังเพราะว่าดูท่าทางเขาแล้วเขาก็น่าจะอยู่ประมาณ 65 ปีถึง 70 ปี ก็แสดงว่าเขามีลูกตอนแก่ อาจจะเป็นเพราะแต่งงานใหม่หรืออะไรยังไงเราก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน เราก็ไม่ได้ถามในเรื่องส่วนตัวของครอบครัวเขามาก

เราฟังดูแล้วก็รู้สึกหดหู่นะกับการที่คนอายุขนาดนี้แล้วจะต้องกลับเข้ามาเป็นอาจารย์สอน เพราะเหตุผลของการกลับมาสอนไม่ใช่เพราะเขายังอยากที่จะสอนอยู่ เพราะถ้าเขายังอยากที่จะสอนเขาก็คงไม่ลาออก ไม่เกษียณตัวเอง แต่นี่การที่เขากลับเข้ามาเป็นอาจารย์สอนชั่วคราว เป็น contract teacher หรือ casual teacher เพราะมีปัญหาเรื่องการเงิน

การที่คนอายุขนาดนี้จะต้องมา worries เรื่องการเงิน เรื่องการจับจ่ายใช้สอย บอกตามตรงว่าเรารู้สึกหดหู่ใจยังไงไม่รู้

เราก็ได้แต่บอกตัวเองว่า เราจะไม่เป็นแบบนี้ใช่ไหม
เราจะต้องมีการวางแผนชีวิตที่ดีกว่านี้ใช่ไหม

โดยเฉพาะคนที่เคยทำงานในตำแหน่งที่สูงมาก่อน เคยเป็นหัวหน้าภาคมาก่อน การเป็นหัวหน้าภาคก็คือการดูแลงานทั้งหมดในภาควิชานั้น ๆ ต้องดูแลอาจารย์สอนที่อยู่ในภาควิชานั้น ๆ แต่ตอนนี้เขาเป็น “แค่” อาจารย์สอนชั่วคราวทั่ว ๆ ไป ซึ่งจะต้องคอยรับคำสั่งว่าแต่ละวันต้องสอนอะไร แต่ละวันต้องสอนคลาสไหน 

ณ วันหนึ่งเขาเคยทำงานอยู่ในตำแหน่งที่สูง แต่มาวันนี้ตำแหน่งการทำงานของเขามันดูลดต่ำลงมาเลยทันที

ถ้าเขากลับมาเป็นอาจารย์สอนชั่วคราว เพราะว่าเขาเบื่อที่จะนั่งอยู่กับบ้านเฉย ๆ นั่นมันก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่นี่เขามีความจำเป็นที่จะต้องกลับมาสอน เพราะเรื่องของการเงินและการจับจ่ายใช้สอยภายในครอบครัว มันทำให้ชีวิตบั้นปลายของคนเรามันดูแปลก ๆ ยังไงไม่รู้

คนที่เป็นอาจารย์สอนชั่วคราว งานมันก็ไม่ได้ประจำอะไร เขาจะถูกเรียกตัวมาสอนก็ต่อเมื่ออาจารย์หรือข้าราชการประจำที่เขาสอนประจำอยู่แล้วมีการลากิจหรือลาป่วยอะไรก็ว่าไป มันเป็นอะไรที่ไม่แน่นอน

ชีวิตคนที่ประเทศออสเตรเลียก็ไม่ได้สบายไปหมดซะทุกคนนะครับ
และหลายคนยังต้องดิ้นรน ไม่ว่าคนที่ทำงานใช้แรงงาน หรือคนที่ทำงานเป็น professional แบบนี้

Friday, December 15, 2017

หน้าที่ของอาจารย์คือการเปลี่ยนชีวิตใครบางคน


งานสอนเหรอ
อาชีพการเป็นอาจารย์เหรอ

ค่าแรง ค่าตอบแทนมันไม่ได้มากหรอกนะ
แต่เราก็คิดว่ามันเป็นหน้าที่การงานที่ respectful 

ถึงแม้ว่า culture ของการเรียน การสอนของประเทศออสเตรเลีย จะแตกต่างจากเมืองไทย เราก็คิดว่าเราโชคดีนะ ที่ได้มีโอกาสรับราชการที่นี่

การเรียนการสอนของประเทศออสเตรเลีย นักเรียนบางคนก็ challenging เหมือนกัน เพราะนิสัยและวัฒนธรรมของนักเรียนที่ต่างประเทศ ไม่เหมือนเมืองไทย

ที่เมืองไทย นักเรียนยังเกรงกลัวครู อาจารย์
ให้ความเคารพ

จริงอยู่เราสอนนักเรียนที่เรียนเก่ง เป็นส่วนมาก แต่บางที บางปีก็จะมีนักเรียนบางคนที่หลงมาเหมือนกัน ที่เป็นเด็กห้องท้าย ๆ เรียนไม่ค่อยเก่ง

นั่งหลังห้อง เรียนมั่ง ไม่เรียนมั่ง

เราไม่ได้ให้ความสนใจมากเท่าไหร่ เพราะคิดว่านักเรียนเป็น senior student แล้ว

ใครใคร่เรียน เรียน
ใครใคร่เล่น เล่น

เพราะไม่ใช่เด็ก ๆ แล้ว

แต่เราก็ไม่ได้บังคับเด็กมาก เพราะเราคิดว่านักเรียนโต ๆ กันแล้ว
ขอให้เขาไม่รบกวนนักเรียนที่อยากจะเรียน ก็เป็นพอ

นักเรียนคนนี้เป็นคนอพยพ
เป็นนักเรียนชาวผิวดำ
หนีสงครามมาจากทวีปแอฟริกา 

เขาอาจจะไม่ได้เข้ามหาวิทยาลัยชื่อดังเหมือนนักเรียนคนอื่น ๆ 
แต่ก็ยังได้เข้าเรียน IT ต่อที่มหาวิทยาลัย แต่ก็เป็นมหาวิทยาลัย อันดับหลัง ๆ 

แต่ก็ดีกว่าไม่ได้อะไรเลย
เพราะเราก็คิดว่า นักเรียนคนนี้คงจะไม่ติดมหาวิทยาลัยที่ไหน

เมื่อวานเราก็มี dinner เพื่อเป็นการ celebrate the success ของนักเรียนเรา

นักเรียนคนนี้มาไม่ได้ แต่ก็ SMS มาหา

อ่านแล้วมันก็ประทับใจนะ

เราก็รู้สึกว่า เออ งานที่เราทำ มันก็เป็นการเปลี่ยนชีวิตของหลาย ๆ ชีวิตนะ

ไม่มากก็น้อย

นักเรียนทุกคน deserve the second chance
มันเป็นโอกาสให้นักเรียนได้เปลี่ยนแปลง และปรับปรุง แก้ไขนิสัย

แต่คือทั้งนี้และทั้งนั้น
นักเรียนก็ต้องแก้ไข ปรับปรุงนิสัย ของเขาเอง เพราะคงไม่มีใครสามารถเปลี่ยนนิสัยของใครได้

แต่อย่างน้อยก็เป็นการเปิดโอกาสให้กับตัวนักเรียนเอง
เราก็ได้แต่หวังว่า ตัวนักเรียนเองจะใช้โอกาสนี้ เพื่อที่จะได้มีโอกาสและอนาคตที่ดีขึ้น

เพราะชีวิตนักเรียนเอง ก็หนีสงครามมา
เพื่อที่จะมีชีวิตใหม่ที่ดีขึ้น

ก็อาจจะมีบ้างที่บางคนมา แล้วหลงแสง สี เสียง
มัวแต่สนุกและ enjoy the confortable life และ take things for granted มากเกินไป จนลืมคิดถึงอนาคต ลืมคิดถึงว่าชีวิตนี้จริง ๆ แล้วคือเขาหนีสงครามมา เพื่อที่จะมามีชีวิตที่ดีขึ้นนะ

ส่วนตัวเราเอง เราก็คิดว่าเราได้ทำหน้าที่ของเราแล้ว
ส่งนักเรียนถึงฝั่งแล้ว มันก็หมดหน้าที่ของเราแล้วหละ

แค่นี้ชีวิตก็มีความสุขแล้วครับ

Thursday, December 14, 2017

ผลสอบ HSC


การศึกษาที่ประเทศออสเตรเลีย แต่ละรัฐมีความแตกต่างกันออกไป

ที่รัฐ NSW เรามี HSC; High School Certificate ซึ่งก็คือใบจบการศึกษามัธยม หรือ high school

ที่รัฐ NSW มี HSC แต่รัฐอื่นก็จะมีระบบ มี system ของเขาที่แตกต่างกันออกไป

ประมาณเดือนธันวาคม ผลสอบของนักเรียนทั่วรัฐ NSW ก็จะมีการประกาศทั่วรัฐ 

ทั้งนักเรียนและอาจารย์เองก็ตื่นเต้นไม่แพ้กัน

โดยเฉพาะที่สอนเด็กห้อง top class ด้วยแล้ว ทุกคนเราก็มีความคาดหวัง

ผลการสอบจะแบ่งออกเป็น band

band 6 จะเป็น band สูงสุด

band 6; 90 - 100
band 5; 80 - 89
band 4; 70 - 79
band 3; 60 - 69
band 2; 50 - 59

และคะแนนก็จะลดหลั่น ลงเรื่อย ๆ

ปีนี้ที่โรงเรียนมีนักเรียนได้ band 6 แค่คนเดียว คือลูกศิษย์เรา ที่เรียนวิชาคอมพิวเตอร์; Information Processes & Technology (IPT)

นอกนั้นก็ได้ band 5 ที่คะแนนใกล้เคียง band 6 มาก

บางคนก็ได้ 89
บางคนก็ได้ 88

ซึ่งถือว่าใกล้เคียง band 6 มาก

ซึ่งเปรียบเทียบกับวิชาอื่น ๆ อาจารย์คนอื่น ๆ เราคิดว่าวิชาที่เราสอน ผลการสอบออกมาดีที่สุดในโรงเรียน

มันเป็นอะไรที่น่าภูมิใจนะ

Asian proud... นะ

จริง ๆ แล้ว คนเราจะสัญชาติอะไร ยังไง ถ้าทำงานด้วยความตั้งใจ ผลงานมันก็ออกมาดี เป็นเงาตามตัวนะ

คนไทยอยู่ที่ไหนก็ประสบความสำเร็จได้

ภาพที่อยู่ใน post ก็คือภาพที่เราพานักเรียน ไปทานอาหารไทยกัน
เพราะหลังจากนี้ทุกคนก็คงแยกย้ายกันไปเรียนมหาวิทยาลัย หรือเดินตามทางของใครมันกันไป

ก็คือว่าเป็นการ celebrates tha success ก็แล้วกัน
ส่งท้ายปีเก่าด้วย... 

Friday, April 1, 2016

บางคนที่เลือกที่จะสอน แต่บางคนก็เล็งไปที่การเลื่อนขั้น


โรงเรียนก็เป็นอีกองค์กรหนึ่ง ซึ่งไม่แตกต่างอะไรไปจากองค์กรอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรเอกชนหรือองค์กรของรัฐบาล

ทุกคนที่ทำงานต้องการไต่เต้า เพื่อไปทำหน้าที่การงานที่สูงขึ้น ที่ออสเตรเลีย ค่าแรงของอาจารย์สอนประจำชั้นกับอาจารย์ผู้บริหารนั้นต่างกันลิบลับ อาจารย์ผู้บริหารจะได้เงินเดือนที่สูงมาก ดังนั้นอาจารย์หลายๆคนก็พยายามที่จะไต่เต้าขึ้นไปในตำแหน่งที่สูงขึ้น โดยเฉพาะอาจารย์ที่มีอาชีพการสอนเป็นอาชีพหลัก เพราะนั่นมันคือรายได้หลัก หรือ main income ของพวกเขา แต่สำหรับเรา ไม่ใช่ เราทำงานอย่างอื่นซึ่งเป็นธุรกิจของตัวเองอยู่แล้ว เราก็เลยไม่ได้ดิ้นรนกระเสือกกระสนเหมือนอาจารย์คนอื่นเขา 

ทุกครั้งที่มีตำแหน่งภายในเปิด ซึ่งก็เป็นแค่ตำแหน่งภายในโรงเรียนเองนะ แต่ก็รู้สึกว่าทุกคนยื่นใบสมัคร แก่งแย่งแข่งขันกันเหลือเกิน

ยิ่งทำงานตรงจุดนี้ๆนานๆไป มันก็ยิ่งเห็นความแตกต่างของอาจารย์แต่ละคน บางคนก็พร้อมที่จะละทิ้งหน้าที่การสอนทุกอย่างเพื่อไปทำงานในตำแหน่งที่สูงกว่า เปลี่ยนจากอาจารย์สอนประจำ ไปเป็นอาจารย์ผู้บริหาร เพราะตำแหน่งที่สูงกว่าเงินเดือนก็ดีกว่า ซึ่งเราก็เข้าใจนะ แต่เขาจะรู้บ้างใหมว่า ทันทีที่มีการผลัดเปลี่ยนตำแหน่ง จากอาจารย์สอนไปเป็นผู้บริหาร เด็กนักเรียนที่เขาสอนๆอยู่ก็จะเคว้งทันที เพราะนั่นคือมันจะต้องมีการเปลี่ยนตารางสอน หาอาจารย์ชั่วคราวมาสอนแทน ไม่เกิดการต่อเนื่องของการเรียนและการสอน คุณภาพการเรียนการสอนไม่ต่อเนื่อง ซึ่งจะมีผลกระทบแต่เด็กนักเรียนแน่นอน

เราเองก็เข้าใจนะว่าทุกคนก็ต้องการที่จะไต้เต้าหรือเลื่อนขั้นการทำงาน แต่เขาจะนึกถึงเด็กนักเรียนตาดำๆที่เขาทิ้งไว้ข้างหลังหรือเปล่านะ โดยเฉพาะเด็ก year 12 หรือ ม.6 ซึ่งจะเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อมาก เพราะถ้าหากนักเรียนไม่มีอาจารย์ประจำมาสอน อาจารย์ที่ได้มาก็ผลัดเปลี่ยนกันมาเรื่อยๆ คุณภาพของการเรียนการสอนมันก็จะหายไป ยกตัวอย่างเช่น เอาอาจารย์สอนวาดรูป มาสอนแทนวิชาภาษาอังกฤษเป็นต้น เราคิดว่าสุดท้ายผลเสียก็คงต้องเกิดขึ้นกับเด็กนักเรียน

แต่ก็อย่างว่าแหละนะ อาจารย์ทุกคนต้องการเอาตัวรอด ต้องการเลื่อนขั้น ส่วนมากก็พร้อมจะที่เอาอนาคตของเด็กนักเรียนเข้าแลกเสมอ

มุมมองของเราอาจจะแตกต่างจากมุมมองของอาจารย์คนอื่นเพราะเรามีธุรกิจหรืองานส่วนตัวของเราอยู่แล้ว รายได้จากการสอนไม่ใช่รายได้หลัก แต่สำหรับอาจารย์คนอื่น ถ้ารายได้จากการสอนเป็นรายได้หลัก มันก็ต้องเป็นเรื่องธรรมดาอยู่แล้ว ที่เขาก็คงต้องการที่จะมีรายได้เพิ่มขึ้นเยอะๆ และการเป็นอาจารย์สอนที่ออสเตรเลีย การก้าวกระโดดการขึ้นเงินเดือนที่เร็วที่สุดก็คือ การเปลี่ยนจากอาจารย์สอนไปเป็นผู้บริหาร

เราคิดว่าถ้าอาจารย์สอนได้ค่าแรงมากกว่านี้สะหน่อย อาจารย์หลายๆคนก็คงจะไม่ดิ้นรนที่อยากจะไปเป็นผู้บริหารกัน ถ้าทำอย่างนั้นได้จริงๆ ระบบการเรียนการสอนก็จะเป็นอะไรที่ต่อเนื่อง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรไปมาบ่อย

เราก็ไม่รู้นะ เราคิดว่าจุดยืนของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ทุกคนมีเหตุผลของตัวเอง ทุกคนมีทางเลือกที่แตกต่าง แต่บางทีเราเห็นการตัดสินใจของใครบางคนแล้วก็อดที่จะคิดถึงผลกระทบที่จะมีต่อเด็กนักเรียนไม่ได้

ก็แค่นั้นเอง...